ดอกสัก

วิถีชีวิตล้านนา


ทั้งหมด 26 รายการ
 
 
เงินตราล้านนา
เงินตราล้านนา

เงินตราล้านนา ก่อนพุทธศตวรรษที่19อาณาจักรล้านนาเริ่มก่อรูปขึ้นโดยมีชนชาติลัวะอยู่ร่วมกับกลุ่มคนไทเป็นผู้วางรากฐานทางสังคมวัฒนธรรมตลอดจนถึงเศรษฐกิจการค้าที่ใช้หอยเบี้ยและโลหะมีค่าเช่นทองคำเงินทองแดงและสำริดเป็นเงินตราในการใช้แลกเปลี่ยนสินค้าจนเมื่อพญามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่และสถาปนาอาณาจักรล้านนาขึ้นได้สำเร็จในปีพ.ศ.1839ได้มีการใช้เงินตราในการค้าขายภายในอาณาจักรด้วยการกำหนดมาตรฐานระบบเงินตราของตนขึ้น          ระบบการค้าและเศรษฐกิจของล้านนาเริ่มรุ่งเรืองมากขึ้นในช่วงสมัยพญากือนาโดยล้านนาได้ผลิตเงินตราที่สำคัญขึ้นชนิดหนึ่งคือเงินเจียงซึ่งถือเป็นเงินที่มีค่าสูงสุดในระบบเงินตราล้านนาในระหว่างนั้นก็ใช้เงินเจียงร่วมกับเงินอื่นๆด้วยเช่นหอยเบี้ยเงินท้อกเงินวงตีนม้าเงินหอยโข่งและเงินปากหมูเรื่อยมาจนสมัยที่ล้านนาตกอยู่ใต้การปกครองของพม่ามีการรับเอาเทคนิคการทำเงินแบบพม่าไทใหญ่เป็นเงินดอกไม้หรือเงินผักชีมาใช้ปะปนร่วมกับเงินล้านนาแบบเดิมตลอดระยะเวลา200กว่าปีที่ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า จนกระทั่งพม่าตกเป็นเมืองอาณานิคมของอังกฤษและได้นำเอาเหรียญเงินของอังกฤษเข้ามาใช้ในการแลกเปลี่ยนสินค้าในล้านนาผ่านการปกครองของราชบัลลังก์บริเตนในอนุทวีปอินเดียจึงมีเหรียญเงินรูปีอินเดียเข้ามาใช้เพิ่มอีกต่อมาเมื่อล้านนาได้ผนวกเข้ากับไทยสยามเป็นมณฑลพายัพในสมัยรัชกาลที่5จึงได้เริ่มใช้เหรียญเงินของสยามตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา          “เงิน”ที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนสินค้าในยุคโบราณถือเป็นของมีค่าที่ใช้แทนสินค้าได้เพราะตัวเงินทำมาจากเนื้อเงินแท้เปอร์เซ็นสูงในอดีตมีการทำเงินด้วยเทคนิคหล่อและหลอมโลหะซึ่งอาจมีแร่อื่นๆผสมบ้างเพื่อให้ตัวเงินคงรูปโดยเงินตราที่ใช้ในล้านนามีดังนี้   เงินเจียงมีลักษณะเหมือนกับเกือกม้าสองวงปลายต่อกันเป็นเงินตราสำคัญและมีมูลค่าสูงที่สุดของอาณาจักรล้านนาทำจากเนื้อเงินเปอร์เซ็นสูงมีการตอกตราสำคัญบนตัวเงินได้เเก่ตราตัวเลขบอกจำนวนราคาตราชื่อเมืองแหล่งผลิตและตราจักรเป็นสัญลักษณ์ของเจ้าเมือง   เงินท้อกผลิตมาจากเนื้อโลหะผสมมีลักษณะทรงกลมซึ่งเงินในกลุ่มนี้เช่นเงินท้อกเงินใบไม้หรือเงินเส้นเงินหอยโข่งและเงินปากหมูโดยแต่ละชนิดก็มีลักษณะพื้นผิวที่ต่างกัน เงินท้อกมีหลายแหล่งผลิตโดยเรียกตามพื้นที่เช่นเงินท้อกเชียงใหม่เงินท้อกน่านเงินท้อกลำปางเงินท้อกเชียงแสนซึ่งผลิตใช้ขึ้นในพื้นที่เมืองนั้นๆโดยมีรูปแบบและส่วนผสมที่แตกต่างกันออกไปตามแหล่งแร่โลหะในท้องถิ่นลักษณะของเงินท้อกมักจะมีขอบงอโค้งขึ้นมาเล็กน้อยโดยรอบด้านล่างมีรูขนาดใหญ่เป็นโพรงลึกเข้าไปแล้วดันอีกด้านนูนสูงขึ้นมาทำให้เงินท้อกมีลักษณะคล้ายเปลือกหอยจึงเรียกกันว่า“เงินหอย”บางครั้งก็เรียกว่า“เงินขวยปู”เพราะมีลักษณะเหมือนกับมูลดินขรุขระที่ปูขุดขึ้นมา   เงินใบไม้หรือเงินเส้นจัดอยู่ในกลุ่มเงินท้อกเป็นเงินที่มีมูลค่าน้อยที่สุดเพราะทำมาจากจากสำริดลักษณะเป็นรูปทรงกลมนูนด้านหน้าส่วนด้านหลังเป็นรอยบุ๋มลึกลงไปจึงมีลักษณะเหมือนเปลือกหอยด้านที่นูนออกมานั้นมีทั้งแบบเรียบไม่มีลวดลายมีลวดลายเป็นเส้นเดียวผ่ากลางและแบบที่มีกิ่งแยกออกไปคล้ายด้านหลังของใบไม้จึงนิยมเรียกกันว่า“เงินใบไม้”“เงินเส้น”หรือ“เงินเปลือกหอย”เงินเหล่านี้มีการเจาะรูไว้ที่ริมขอบสำหรับร้อยรวมเข้าด้วยกันเพื่อสะดวกต่อการใช้งาน   ​         เงินหอยโข่งและเงินปากหมูมีลักษณะและวิธีการผลิตเช่นเดียวกับเงินท้อกล้านนาแต่มีขนาดใหญ่กว่าหนักกว่าและมูลค่าสูงกว่าเพราะผลิตจากโลหะเงินโดยเฉพาะเงินปากหมูมีหลายขนาดและน้ำหนักด้านล่างมีช่องกลวงลึกเข้าไปช่องนี้มีลักษณะคล้ายช่องบริเวณปากหมูจึงเป็นที่มาของชื่อนี้   เงินดอกไม้หรือเงินผักชี เป็นเงินที่ผลิตขึ้นราวพุทธศตวรรษที่21เนื้อเงินมีส่วนผสมของโลหะเงินสูงกว่าโลหะชนิดอื่นเหตุที่เรียกเงินผักชีเพราะลวดลายที่อยู่บนพื้นผิวคล้ายกับใบผักชีหรือดอกไม้เกิดจากการใช้หลอดไม้ยาวเป่าลมลงในเบ้าที่มีแผ่นเงินหลอมละลายอยู่อาจเป่าเป็นแห่งๆหมุนไปโดยรอบเบ้าหลอมทำให้เกิดเป็นลวดลายเงินชนิดนี้ชาวล้านนาผลิตขึ้นใช้เองโดยนำเทคนิควิธีการผลิตมาจากไทยใหญ่และมอญในประเทศพม่าในยุคที่ล้านนาตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าบางเหรียญพบว่ามีการเจาะรูเนื่องจากชาวเขานิยมนำไปทำเป็นเครื่องประดับห้อยคอ   ข้อมูลจาก วารสารร่มพยอมปีที่20ฉบับที่2สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครกรุงเทพฯ พิพิธภัณฑ์เหรียญกษาปณานุรักษ์โดยกรมธนารักษ์(คลิกที่นี่) พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย(คลิกที่นี่)  
เผยแพร่เมื่อ 16 มีนาคม 2566 • การดู 2,581 ครั้ง
ผ้าทุ้ม (ผ้าตุ๊ม)
ผ้าทุ้ม (ผ้าตุ๊ม)

ล้านนาในอดีตเมื่อย่างเข้าสู่ฤดูหนาวมีอากาศเย็นในช่วงเช้าคนสมัยก่อนไม่มีการตัดเย็บเสื้อกันหนาวมาใส่เพื่อช่วยเพิ่มความอบอุ่นแก่ร่างกายทั้งหญิงและชายจะใช้ผ้าทุ้ม(ผ้าคลุมไหล่)ทำมาจากผ้าฝ้ายที่มีความหนานุ่มมาห่มคลุมร่างกาย  ผ้าทุ้ม(อ่าน“ผ้าตุ๊ม”) ผ้าทุ้มหมายถึงผ้าที่ใช้คลุมไหล่ของชาวบ้านทำด้วยผ้าหน้ากว้างประมาณ15-25นิ้วยาวประมาณ2เมตรแบบเดียวกับผ้าทวบเพียงแต่เป็นผ้าชั้นเดียวตรงส่วนชายอาจจะมีการทอหรือตกแต่งลวดลายประทับชาวบ้านจะใช้ผ้าทุ้มนี้คลุมไหล่ในหน้าหนาวโดยผู้หญิงล้านนาจะเป็นคนทำด้วยการนำฝ้ายมาถักทอเป็นผืนแล้วใช้กันเองภายในครอบครัว ระยะหลังชาวบ้านนิยมใช้ผ้าขนหนูแบบผ้าเช็ดตัวแทนผ้าทุ้มแบบโบราณโดยกล่าวว่าผ้าทุ้มแบบใหม่นี้ให้ความอบอุ่นได้มากกว่า ข้อมูลจากสารานุกรมวัฒนธรรมภาคเหนือ 
เผยแพร่เมื่อ 26 ธันวาคม 2565 • การดู 1,822 ครั้ง
วัฒนธรรมการนอนล้านนา
วัฒนธรรมการนอนล้านนา

 วัฒนธรรมการนอนล้านนา  การนอนหมายถึงการเอนกายลงนอนที่แนวราบซึ่งจะหลับหรือไม่ก็ตามเรื่องของการนอนชาวล้านนามีวัฒนธรรมในการนอนหลายประการทั้งพฤติกรรมในการนอนบริเวณที่ควรนอนบริเวณหรือสถานที่ที่ไม่ควรนอนตลอดจนความเชื่ออื่นๆอีกมากมาย  พฤติกรรมในการนอนโบราณสั่งสอนมาแต่ปางบรรพ์ไว้อาทิคำกล่าวว่า  อย่านอนเหล้นดาบอย่าคาบนมเมีย คือเวลานอนไม่ควรนำของมีคมอย่างดาบมาเล่นเพราะอาจเกิดอันตรายได้เสมอ ความหมายแฝงคืออย่าวางใจหรือเลินเล่อต่อท่าทีของศัตรูส่วนอย่าคาบนมเมียนั้นท่านหมายถึงว่าอย่ามัวแต่ลุ่มหลงมัวเมาอยู่กับกามคุมจนไม่มีเวลาปฏิบัติภารกิจอื่น อย่านอนกินข้าว เหตุผลคงเป็นเพราะอาการนอนนั้นคงไม่เหมาะที่จะรับประทานเพราะสรีระไม่พร้อมที่จะรับอาหารเข้าสู่ร่างกายคำกล่าวนี้มักมีการขู่เด็กๆว่าถ้านอนกินข้าวจะกลายเป็นงู  กินข้าวแล้วนอนผีปันพรวันเจ็ดเทื่อ คำกล่าวนี้หลายท่านเข้าใจว่าเป็นคำสำนวนที่มีความหมายเชิงประชดประชันว่ากินอิ่มแล้วเอาแต่นอนสบายไม่ยอมทำงานผีจะสาปแช่งวันละเจ็ดครั้งแต่อันที่จริงแล้วคำว่า “ผี” โบราณหมายถึง “เทวดา”“ผีให้พร” คือเทวดาให้พรเพราะฉะนั้นจึงแปลความหมายว่ากินข้าวแล้วควรพักผ่อนก่อนลงมือทำงานสุขภาพจะแข็งแรงเหมือนได้รับพรจากเทวดาวันละเจ็ดครั้งเพราะถ้าลงมือทำงานทันทีสุขภาพจะทรุดโทรมเร็วก่อนวัยอันควร  หื้อดักเมื่อกินข้าวหื้อดักเมื่อเข้านอน คำกล่าวนี้มีเหตุผล อย่างน้อยสองประการกล่าวคือประการแรกขณะทานข้าวเมื่อส่งเสียงผีตามอยได้ยินจะรู้ตำแหน่งและจะมาแย่งกินทำให้อาหารสิ้นเปลืองหรือหากมีเสียงดังตอนเข้านอนผีอาคันตุกะคือสัมภเวสีจะรู้ตำแหน่งที่นอนอาจมาทำร้ายได้ประการที่สองไม่ว่าผีร้ายหรือคนร้ายเมื่อทราบตำแหน่งขณะกินข้าวหรือเข้านอนจะถือโอกาสทำร้ายเพราะคำว่า"ข้าว"หรือ"เข้า"เป็นคำที่เหมาะสมที่จะกระทำร้ายได้โดยสะดวกคือเข้าสิงก็สะดวกยิงก็เข้าแทงหรือฟันก็เข้าไม่ว่าจะมีเครื่องรางหรืออาคมขลังเป็นเข้าทั้งนั้นแม้กระทั่งคุณไสยที่มีคนมุ่งร้ายปล่อยมาก็เข้าสู่ร่างกายโดยไม่มีสิ่งใดขวางกั้นได้ อย่านอนเอาตีนไปทางหัว  คืออย่านอนในลักษณะเอาเท้าชี้ขึ้นทิศหัวนอนเอาหัวลงมาปลายที่นอนเพราะสิ่งที่เคารพนับถือตลอดจนเทวดาที่คุ้มครองอยู่หัวนอนลักษณะการนอนเช่นนี้แสดงว่าไม่เคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำตัวไม่เคารพแม้กระทั่งตัวเองดังนั้นหากผู้ใดมีพฤติกรรมการนอนเช่นนี้ย่อมไม่มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองรักษา อย่านอนเบ่นหัวไปทางเหนือแลวันตก  ชาวล้านนาเชื่อว่าทิศเหนือเป็นทิศแห่งความตายที่เรียกว่า “ทิศผีตาย” เป็นทิศสีดำมีท้าวกุเวรหรือท้าวเวสสุวัณณ์เจ้าแห่งผีสถิตอยู่สังเกตได้ว่า กองฟอน(ล้านนาเรียก “เตาเอ่า”)ทุกป่าช้าจะหันด้านหัวศพไปทางทิศเหนือส่วนทิศตะวันตกเป็นทิศแห่งการตกต่ำทิศแห่งการอำลาและสูญสิ้นจึงมีข้อห้ามว่าอย่านอนหันหัวไปทิศเหนือเละทิศตะวันตก ยิงนอนซ้ายชายนอนขวา เป็นคติความเชื่อที่มีมาแต่โบราณว่าผู้หญิงต้องนอนด้านซ้ายผู้ชายต้องนอนด้านขวา เป็นต้น บริเวณที่ควรนอน ในเคหสถานควรนอนใน “ห้องหอเฮือนคำ” คือห้องนอนหรือบริเวณเติ๋นคือบริเวณโล่งที่เสมอกับห้องนอนและหากเป็นนอกเคหสถานควรนอนในที่จัดไว้สำหรับเป็นที่นอน บริเวณที่ไม่ควรนอน สถานที่หรือบริเวณที่ไม่ควรนอนโบราณกำหนดไว้ดังปรากฎในเอกสารโบราประเภทพับสาวัดศรีโคมคำอำเภอเมืองจังหวัดพะเยาว่า “อันบ่ควรนอนมีหนทางหลวง๑ทางแยก๑ที่เกาะดอนซาย๑ป่าช้า๑ที่ท้าวพระยา๑ที่พระเจ้าที่พระสังฆะเจ้า๑พื้นเยียข้าว๑เรือนแม่กำลัง๑ที่อันท่านเหล้นพันธนันนึ่งแล” แปลความว่าสถานที่ที่ไม่ควรนอนได้แก่ทางเส้นใหญ่ทางแยกเกาะดอนทรายป่าช้าที่อันท้าวพระยาผู้มีอำนาจอยู่อาศัยที่อันเป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้าที่นั่งที่นอนของพระสงฆ์ใต้ถุนยุ้งข้าวบ้านเรือนหรือที่อยู่ของโสเภณีและบริเวณที่เป็นบ่อนการพนันหนทางหลวงเป็นที่สัญจรของสรรพสิ่งทั้งมนุษย์และอมนุษย์ ยิ่งเป็นทางแยกก็ยิ่งเป็นที่สัญจรขวักไขว่มีทั้งสิ่งดีและสิ่งไม่ดีชุมนุมกันอยู่เกาะดอนทรายก็เช่นกันย่อมมีสิ่งทั้งเป็นมงคลและอัปมงคลไหลมาตามน้ำแล้วมารวมกันอยู่ส่วนป่าช้าเป็นที่รวมพลของผีทั้งปวง บริเวณทั้งหมดดังกล่าวจึงไม่เหมาะสำหรับเป็นสถานที่อันควรนอนด้านที่อยู่ของท้าวพระยาผู้มีอำนาจเป็นที่อันเต็มไปด้วยอันตรายจากอำนาจอาชญาของท้าวพระยาและบริเวณที่ถูกจัดให้เป็นที่ประทับของพระบรมศาสดาหรือที่อยู่ของพระสงฆ์เป็นสถานอันสูงส่งไม่ควรนอนที่อันเป็นสถานอโคจรได้แก่บ้านเรือนหรือที่รับแขกของหญิงโสเภณีบ่อนการพนันทุกชนิดย่อมไม่เหมาะที่จะเป็นที่หลับนอน   ข้อมูลจากหนังสือร้อยสาระสรรพล้านนาคดีเล่มที่3เขียนโดยอาจารย์สนั่นธรรมธิ   
เผยแพร่เมื่อ 29 พฤศจิกายน 2565 • การดู 2,604 ครั้ง
ขันหมาก
ขันหมาก

ขันหมาก เป็นภาชนะสำหรับใส่เครื่องกินหมากที่ประกอบด้วยยาฉุนหมากแห้งหมากสดปูนสีเสียดใบพลูเป็นที่ทราบอยู่แล้วว่าวัฒนธรรมการกินหมากในเอเชียอาคเนย์รับอิทธิพลมาจากประเทศอินเดียและยังคงเป็นที่นิยมจนกระทั่งในปัจจุบันสมัยก่อนชาวล้านนากินหมากแบบเป็นของกินเล่นจนกลายเป็นกิจกรรมในสังคมดังนั้นทุกครัวเรือนต่างก็มีขันหมากหรือเชี่ยนหมากประจำบ้านและบางครอบครัวอาจมีขันหมากมากกว่าหนึ่งชุด นอกจากจะมีขันหมากใช้สำหรับชีวิตประจำวันแล้วในด้านพิธีกรรมทางความเชื่อหรือทางศาสนายังใช้ขันหมากเป็นองค์ประกอบในพิธีสำคัญด้วยเช่นงานบวชพระและงานแต่งงานเป็นต้นนอกจากนี้ในการแสดงสถานภาพหรือบรรดาศักดิ์ของชนชั้นสูงต้องมีขันหมากเป็นเครื่องแสดงฐานันดรเช่นเดียวกับขุนนางภาคกลางของไทยเมื่อเจ้านายเดินทางไปที่ใดจำต้องมีขบวนเครื่องยศที่แต่ละชิ้นมีพนักงานถือประคองเสมอทำให้เกิดขบวนยาวในการเดินทางและการจัดที่นั่งลำดับของขบวนเครื่องยศเริ่มจากช่อธงดาบหอกนำหน้าขบวนตามด้วยขันหมากแอ็บยากระโถนคนโทและเจ้านายนั่งเสลี่ยงคานหามตามมามีร่มกั้นจากความสำคัญดังกล่าวเป็นผลให้รูปแบบและลวดลายของขันหมากล้านนามีการพัฒนาออกไปอย่างมากมาย ขันหมากมีโครงไม้ไผ่ขดหรือสานเคลือบรักและชาดมีขนาดใหญ่มากกว่าเชี่ยนหมากของภูมิภาคอื่นๆเพราะเป็นภาชนะสำคัญในการต้อนรับแขกอีกทั้งยังเป็นการแสดงออกถึงความมั่งคั่งมีกินมีใช้เป็นหน้าตาของผู้เป็นเจ้าของกล่องตัวขันที่ใหญ่เอื้อสำหรับเก็บใบพลูให้สดได้นานเพราะอากาศทางล้านนาแห้งกว่าที่อื่นจะทำให้ใบพลูเฉาเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน้าแล้ง ขันหมากเป็นภาชนะทรงกระบอกกว้างประกอบด้วยโครงสร้าง๓ส่วนคือส่วนล่างเรียกตีนขันส่วนกลางเรียกว่าตัวขันหรือเอวขันและส่วนบนเป็นถาดซึ่งภาษาถิ่นเรียกว่าตาดต่อขอบสูงขึ้นมาเล็กน้อยเรียกว่าปากขันแม้จะมีโครงสร้างและรูปทรงรวมใกล้เคียงกันแต่หลายชุมชนก็มีเอกลักษณ์และความนิยมเฉพาะถิ่น (ข้อมูลจากหนังสือเครื่องเขินในวัฒนธรรมล้านนาโดยอาจารย์วิถีพานิชพันธ์สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
เผยแพร่เมื่อ 2 กันยายน 2565 • การดู 1,700 ครั้ง
หลังคาจากใบค้อ
หลังคาจากใบค้อ

ต้นค้อภาคเหนือเรียกว่า“ก๊อ”หรือ“ตองก๊อ”เป็นปาล์มแบบต้นเดี่ยวที่มีขนาดใหญ่และลำต้นสูงชะลูดพบในภูเขาและป่าดิบชื้นความสูงระดับน้ำทะเล-300เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลางขนาดของลำต้นประมาณ20-30เซนติเมตรใบยาว140-160เซนติเมตรเป็นรูปใบพัดจักเว้าลึกตัวใบเป็นผืนใหญ่ติดกันก้านใบยาวประมาณ2เมตรมีหนามสีเหลืองยาวตลอดก้านใบช่วงการออกดอกและติดผลระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคมโดยช่อดอกจะออกบริเวณซอกกาบใบ ในภาคเหนือของประเทศไทยพบต้นค้อขึ้นตามภูเขาสูงเกือบทุกจังหวัดบางชนิดก็เป็นพรรณไม้เฉพาะถิ่นเช่นในจังหวัดเชียงใหม่ค้อชนิดนี้เป็นพืชที่หายากพบเฉพาะที่ดอยหลวงเชียงดาวอำเภอเชียงดาวจนมีชื่อเรียกว่า“ค้อเชียงดาว”หรือค้อดอยและปาล์มรักเมฆเป็นต้นไม้ที่ขึ้นกระจายตามเขาหินปูนบริเวณที่โล่งลาดชันที่ระดับความสูง1,700-2,150ม.          ชาวไทยภูเขาและกลุ่มชุมชนคนล้านนาที่ตั้งที่อยู่อาศัยในพื้นที่สูงเรียนรู้วิธีการนำใบค้อมาสานเป็นหลังคาโดยการเก็บใบค้อสดจากต้นตัดก้านใบออกแล้วแบ่งใบก๊อให้เป็น3-4ส่วนเอามาสานขัดเข้ากับก้านไม้ไผ่แล้วนำไปมุงหลังคา     ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพเฉลิมพระเกียรติ72พรรษาบรมราชินีนาถ(ออนไลน์).2022,แหล่งที่มา:http://srdi.yru.ac.th/bcqy/view/61_%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%AD(27กรกฎาคม2565) องค์การสวนพฤกษศาสตร์(ออนไลน์).2022,แหล่งที่มา:http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=1236 รูปภาพ:นางสาวฐาปนีย์เครือระยาสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่    
เผยแพร่เมื่อ 27 กรกฎาคม 2565 • การดู 2,443 ครั้ง
ฮูฮ่อง (รูร่อง)
ฮูฮ่อง (รูร่อง)

ช่องไม้ที่เปิดปิดได้ส่วนใหญ่ในล้านนาไม่มีชื่อเรียกบางที่เช่นในแม่แจ่มเรียกว่า“ฮูฮ่อง”(รูร่อง)ใช้เป็นที่ปัสสาวะของเด็กและผู้สูงอายุที่ขึ้นลงเรือนลำบากโดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลากลางคืนซึ่งเรือนในสมัยอดีตเป็นเรือนไม้ยกพื้นสูงไม่มีการอยู่อาศัยใต้ถุนพราะด้านล่างเรือนเป็นที่เลี้ยงสัตว์จึงกวาดทิ้งสิ่งปฏิกูลลงพื้นเรือนได้อย่างสะดวกภายหลังบางเรือนอาจมีหลายช่องไว้สำหรับประยุกต์ใช้งานแตกต่างกันไปทั้งใช้สอดส่องดูด้านล่างเรือนบ้างก็ใช้กวาดขยะทิ้งลงไปใต้ถุน   เขียนโดยนางสาวฐาปนีย์เครือระยาสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เผยแพร่เมื่อ 23 มิถุนายน 2565 • การดู 899 ครั้ง
วิถีชีวิตของชาวล้านนาในอดีต
วิถีชีวิตของชาวล้านนาในอดีต

นาฬิกาวิถีชีวิตของชาวล้านนาในอดีต   วิถีชีวิตของชาวล้านนาในอดีต 05.30น.:ตื่นเช้าทำอาหาร(เป็นหน้าที่ของแม่บ้านของผู้หญิงเป็นหลัก)ตีข้าว(ผู้ชาย) 06.30น.:ทำงานที่บ้านให้อาหารไก่(ผู้ชาย) 07.00น.:เอาวัวควายออกเเหล่งไปกินหญ้า 08.00น.:กินข้าวเช้า 09.00น.:ทำงานบ้านซักผ้าตากผ้า(ผู้หญิง)ให้ข้าวหมู(ผู้ชาย) 10.00-12.00น.:เด็กๆเล่นกัน -ผู้ใหญ่ทำการเกษตรปลูกผักปลูกข้าว 12.00น.:กินข้าวกลางวัน 13.00-17.00น.:ทำเกษตรปลูกผักปลูกข้าว -ผู้ชายตำข้าวผู้หญิงฝัดข้าว -เด็กๆเล่นกัน 17.00น.:เอาวัวควายกลับเข้าเเหล่ง 17.00น.:ทำอาหาร(เป็นหน้าที่ของเเม่บ้านของผู้หญิงเป็นหลัก) 18.00น.:กินข้าวเย็น 19.00-20.00น.ทำงานก่อนเข้านอนปั่นฝ้าย(ผู้หญิง)จักสาน(ผู้ชาย) 20.00น.:สวดมนต์ก่อนเข้านอน   ภาพวาดโดยนายสุขธรรมโนบางนักช่างศิลป์สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่       
เผยแพร่เมื่อ 2 มิถุนายน 2565 • การดู 4,588 ครั้ง
เฮือนนอน (ห้องนอน)
เฮือนนอน (ห้องนอน)

อยู่ด้านตะวันออกเป็นห้องนอนขนาดใหญ่ห้องเดียวยาวตลอดตัวเรือนเเต่จะเเบ่งออกเป็นห้องเล็กๆให้กับลูกๆโดยใช้ ผ้าม่านหรือผ้ากั้ง ขึงไว้ตามช่วงเสาการนอนต้องหันศีรษะไปทางทิศตะวันออกบริเวณฝาผนังด้านปลายเท้าเป็นที่วางหีบหรือซ้าสำหรับใส่เสื้อผ้าหรือของใช้ส่วนตัวเเละมี"แป้นท่อง"ที่ทำจากไม้กระดานวางเป็นเเนวยาวตลอดตัวเรือนเพื่อเป็นทางเดินออกไปด้านนอกห้องนอนโดยให้เกิดเสียงดังรบกวนผู้อื่นน้อยที่สุดบริเวณหัวเสาเอกหรือเสาพญามี"หิ้งผีเรือน"เป็นชั้นไม้ใช้วางของสักการะ   ข้อมูลจากหนังสือเรือนล้านนากับวิถีชีวิตโดยนางสาวฐาปนีย์เครือระยาสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
เผยแพร่เมื่อ 21 เมษายน 2565 • การดู 1,959 ครั้ง
เฮือนไฟ (ห้องครัว)
เฮือนไฟ (ห้องครัว)

ใช้เป็นพื้นที่ประกอบอาหารเเละเก็บของใช้ต่างๆในอดีตมีเตาไฟเป็นก้อนหินสามเส้าวางบนกระบะสี่เหลี่ยมต่อาจึงใช้เตาอั้งโล่เเทนเหนือตาไฟมีชั้นวางของทำมาจากไม้ไผ่สานโปร่งๆใช้วางเครื่องใช้ประเภทงานจักสารเเละเก็บเครื่องปรุงจำพวกหอมกระเทียมฯลฯจะช่วยป้องกันมอดเเมลงต่างๆได้ฝาผนังของเรือนครัวจะทำแบบห่างๆหรือทำเป็นไม้ระเเนงเพื่อช่วยระบายอากาศจากควันไฟ    ข้อมูลจากหนังสือเรือนล้านนากับวิถีชีวิตโดยนางสาวฐาปนีย์เครือระยาสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
เผยแพร่เมื่อ 21 เมษายน 2565 • การดู 1,477 ครั้ง
ต๊อมอาบน้ำ
ต๊อมอาบน้ำ

ต๊อมอาบน้ำเป็นห้องสำหรับอาบน้ำในอดีตไม่นิยมทำหลังคาคลุมและไม่มีประตูปิดผนังด้วยไม้ไผ่หรือก่ออิฐสูงประมาณสายตาภายในมีโอ่งหรือตุ่มใส่น้ำพร้อมขันน้ำใช้ตักอาบเวลาอาบน้ำผู้หญิงจะนุ่งผ้าถุงกระโจมอกส่วนผู้ชายนุ่งผ้าขาวม้า(ดังภาพประกอบ) ส่วนห้องส้วม(อธิบายเพิ่มเติม)ในอดีตเป็นส้วมหลุมที่ขุดหลุมลึกแล้วถ่ายของเสียลงในหลุมจนเต็มจึงจะกลบด้วยเหตุนี้เรือนชาวล้านนาจึงไม่นิยมสร้างต๊อมน้ำ(ห้องน้ำ)ห้องส้วมไว้บนตัวเรือนแต่จะสร้างต๊อมน้ำไว้หลังเรือนส่วนห้องส้วมต้องขุดหลุมไกลจากตัวเรือนไปประมาณ๔๐เมตร   (ข้อมูล:ฐาปนีย์เครือระยาหัวหน้าฝ่ายส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมมช. ภาพ:ต่อพงษ์เสมอใจนักช่างศิลป์สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมมช.)
เผยแพร่เมื่อ 20 เมษายน 2565 • การดู 1,373 ครั้ง
ล้อ เกวียน
ล้อ เกวียน

ในภาษาล้านนามีคำที่ใช้เรียกยานพาหนะดังที่ภาษาไทยกลางเรียกว่า"เกวียน"นั้นถึงสองคำคือเรียกว่าล้อและเกวียนอย่างเช่น"อย่าไพเทิกทางล้ออย่าไพป้อทางเกวียนล้อเพิ่นจักเวียนเกวียนเพิ่นจักหล้ม"แต่โดยทั่วไปแล้วมักเรียกว่าล้อมากกว่าเรียกว่าเกวียนและเรียกวงล้อว่าแหว้นล้อหรือ เหวิ้นล้อโดยมิได้เรียกว่า"ล้อ"เฉยๆและเรียกวงล้อของรถยนต์เป็นต้นว่าเเหว้นล้อ  ส่วนวงล้อของเกวียนซึ่งมีขนาดการที่เรียกว่าล้อน่าเป็นการเรียกชื่อดามวงล้อที่มีรูปกลมโดยที่ล้อหรือเกวียนซึ่งใช้ในด้านนาระยะหลังนี้มีผู้กล่าวว่าเป็นแบบที่รับมาจากเมืองเมาะตะมะ แต่ก็มีร่องรอยว่ามีการใช้เกวียนในล้านนามาตั้งแต่โบราณอย่างเช่นล้อ"ตะลุมพุก"โดยที่วงล้อได้จากการตัดหั่นท่อนไม้ตามขวางเจาะรูตรงกลางใส่แกนเพลาตรงกลางมี๒ล้อมีไม้คานต่อออกจากแกน เพลาสำหรับดึงลากล้อชนิดนี้แต่เดิมคงใช้บรรทุกของหนักอย่างขนปืนใหญ่ไปออกศึกสงครามในศิลาจารึกหลักหนึ่งกล่าวถึงดำแหน่งข้าราชการสมัยนั้นมีตำแหน่งหนึ่งคือ"พวกงัดหล่ม"เข้าใจว่าเป็นตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มคนที่มีหน้าที่ใช้ไม้งัดล้อที่ตกหลุมติดหล่มต่อมามีการใช้ล้อตะลุมพุกในการลากไม้ปราสาทศพพระภิกษุผู้ใหญ่กษัตริย์และราชวงศ์ล้อเกวียนเป็นล้อที่ใช้สัตว์เทียมในการชักลากมีใช้กันทั่วโลกแต่สำหรับในเอเชียอย่างประเทศไทยจะใช้วัวและควายเทียมเกวียนโดยมักใช้ควายเทียมเกวียนเมื่อมีการบรรทุกหนักหรือทางขึ้นเนินสูงเพราะควายมีกำลังดีกว่าวัว แต่ถ้าเทียมเกวียนไปทางไกลและมีแดดจัดก็จะใช้วัวเทียมเพราะวัวทนแดดดีกว่าควายแต่ส่วนมากใช้วัวเทียมจึงนิยมเรียกเกวียนว่าล้องัวส่วนประกอบต่างๆของล้อเกวียนส่วนประกอบหลักของเกวียนได้แก่ส่วนที่เป็นล้อและตัวเรือนโดยในส่วนที่เป็นล้อนั้นจะมีคุมเหล็กปลอกคุมสื้-ซี่ไม้ฝักขามและเหล็กตื่นในส่วนอื่นๆนั้นจะประกอบด้วยเหล็กแกน(อ่าน"เหล็กแก๋น")หมอนหรือกะหลกไม้ ดันคอไม้ขอแพะสายอกไม้คันชัก(อ่าน"ไม้กันจั๊ก")หีบเรือนล้อ(อ่าน"เฮือนล้อ"ไม้กงคิ้ว(อ่าน"ไม้ก๋งกิ๊ว")ตาดหน้าตาดหลังไม้ค้ำ(อ่าน"ไม้ก็")และไม้ห้ามล้อ   ข้อมูลจากสารานุกรมวัฒนธรรมภาคเหนือ
เผยแพร่เมื่อ 23 มีนาคม 2565 • การดู 6,932 ครั้ง
กัวะเข้า
กัวะเข้า

กัวะเข้า กัวะเข้าหรือบางแห่งเรียกว่าฝ่าเข้าเป็นภาชนะทำด้วยไม้สักคล้ายขันโตกแต่ไม่มีเชิงหรือตีนเหมือนขันโตกทำขึ้นเพื่อใช้เป็นถาดรองรับข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วใหม่ๆใช้ด้ามพายคนข้าวสุกนั้นระบายความร้อนออกไปบางส่วนเมื่อนำข้าวสุกบรรจุเก็บไว้ในกล่องเข้า(กระติบข้าว)แล้วข้าวจะได้ไม่แฉะจากเหงื่อข้าวเพราะความร้อนที่มีมากเกินไปซึ่งชาวล้านนาเรียกการนี้ว่าปงไหเข้าหรือปลดไหเข้า กัวะเข้ามีใช้กันทั่วไปในถิ่นล้านนามี2ลักษณะคือกัวะเข้าที่ทำขึ้นด้วยไม้จริงนั้นให้ตัดไม้สักให้เป็นท่อนบางขนาดประมาณ10เซนติเมตรกว้างตามความต้องการหรือตามที่จะหาไม้ได้โดยมากจะเลื่อยตัดเอาส่วนของโคนไม้สักขนาดใหญ่หรือเลื่อยเอาจากตอไม้สักเมื่อได้แผ่นไม้มาแล้วก็ขีดเส้นในให้เป็นวงกลมแล้วขุดเจาะตามรอยขีดให้ส่วนปากกว้างกว่าส่วนก้นเล็กน้อยขุดลึกลงประมาณ6เซนติเมตรเมื่อขุดส่วนในเสร็จแล้วก็มาถึงส่วนนอกไม้ส่วนไหนที่หนาและยื่นออกไปมากที่สุดกก็กันเอาไว้สำหรับทำเป็นที่จับถือหรือทำเป็นที่แขวนแล้วจึงจากส่วนอื่นให้กลมตามส่วนในเมื่อเสร็จแล้วก็จะเป็นกัวะเข้าที่ใช้การได้นอกจากรูปทรงกลมแล้วบางแห่งยังทำรูปสี่เหลี่ยมด้วย          ส่วนกัวะเข้าไม้ไผ่ได้จากการสานจักตอกไม้ไผ่ขนาดใหญ่ประมาณ2–3เซนติเมตรเป็นลายสองเข้าด้วยกันส่วนปากของด้วยไม้ไผ่ที่เหลาเป็นปากขอบทั้ง2ด้านคือด้านนอกและด้านในโดยให้ปากสูงประมาณ3–4เซนติเมตรรูปร่างลักษณะของกัวะเข้าไม้ไผ่คล้ายกับกระด้งฝัดข้าว กัวะเข้าใช้เป็นภาชนะรองรับข้าวเหนียวที่นึ่งเทออกจากไหเพื่อคนข้าวที่นึ่งนั้นกลับไปกลับมาเพื่อให้ข้าวสุกนิ่มและเพื่อให้ข้าวเหนียวเย็นลงจะได้ไม่แฉะในเวลาที่เก็บไว้โดยก่อนที่จะเทเข้าจากไหนึ่งลงไปนั้นใช้น้ำประพรมให้กัวะเข้าเปียกน้ำเสียก่อนเพื่อป้องกันข้าวติดเมื่อคนข้าวเสร็จแล้วก็แขวนไว้เพื่อใช้ในวันต่อไปแต่บางครั้งก็พบว่าใช้กัวะเข้าในการทำขนมเช่นใช้เป็นภาชนะใส่เข้าแตนซายเมื่อจะอัดหรือกดให้เป็นแท่งใช้นวดหรือคลุกเข้าหนุกงาเป็นต้น   ข้อมูลสารานุกรมวัฒนธรรมภาคเหนือ
เผยแพร่เมื่อ 23 มีนาคม 2565 • การดู 1,806 ครั้ง
ว่าว
ว่าว

ว่าว ว่าวเป็นเครื่องเล่นชนิดหนึ่งทำด้วยกระดาษสำหรับปล่อยให้ลอยไปตามลมทั้งนี้ว่าวในล้านนามี2ประเภทคือชนิดที่ใช้สายเชือกยึดไว้ให้ดึงตัวสูงขึ้นไปในอากาศเรียกว่าว่าวหรือว่าวลมและชนิดที่ทำเป็นถุงรับความร้อนจากควันไฟเพื่อพยุงให้ลอยขึ้นไปในอากาศได้ได้เรียกว่าวฅวั่นว่าวรมหรือว่าวฮมและตอนหลังมักมีผู้เรียกว่าโคมลอย ว่าวฅวันว่าวรม(อ่าน“ว่าวฮม”แต่ก็มีผู้ออกเสียงเป็น“ว่าวลม”และเขียนว่าวลมอีกด้วย)เป็นเครื่องเล่นที่ต้องทำกันอย่างจริงจังเพราะต้องลงทุนและทำในรูปแบบที่ละเอียดมิฉะนั้นว่าวจะบขึ้นคือไม่ยอมลอยขึ้นไปในอากาศ ว่าวฅวันนิยมทำกันอยู่2แบบคือว่าวสี่แจ่งคือว่าวที่ทำเป็นทรงสี่เหลี่ยมและว่าวมนคือว่าวที่ทำเป็นทรงมนทางด้านหัวและด้านท้าย ว่าวสี่แจ่ง ว่าวสี่แจ่งที่นิยมทำกันนั้นจะใช้กระดาษว่าวคือกระดาษสีที่เนื้อบางแน่นและเหนียวโดยใช้กระดาษว่าวนี้จำนวน36แผ่นมาต่อกันเข้าเป็นหกด้านคือด้านข้างทั้งสี่รวมทั้งด้านบนและล่างด้านละ6แผ่นส่วนที่สำคัญที่สุดของว่าวนี้ก็คือด้านปากในการทำปากว่าวนั้นให้พับครึ่งกระดาษสองครั้งเพื่อหาจุดศูนย์กลางนำเอาเชือกหรือด้ายมาวัดจากจุดศูนย์กลางไปหาขอบกระดาษแบ่งเชือกออกเป็นสามส่วนยกมาใช้เพียงส่วนเดียวแล้วแบ่งเป็นสามส่วนอีกครั้งหนึ่งแล้วตัดสามส่วนนั้นให้เหลือเพียงสองส่วนเพื่อเป็นความกว้างของปากว่าวตัดกระดาษออกเป็นวงกลมให้มีขนาดย่อมกว่าปากว่าวเล็กน้อยจากนั้นนำเอาไม้ไผ่ยาวประมาณ1.20เมตรมาเหลาเป็นเส้นกลมขนาดประมาณครึ่งเซนติเมตรแล้วขดเป็นวงกลมตามขนาดที่กำหนดและผูกยึดไม้ขอบปากว่าวแล้วพับกระดาษขึ้นมาปิดด้วยกาวหรือแป้งเปียกด้านก้นของว่าวสี่แจ้งนั้นจะทำจุกไว้ตรงกลางเพื่อที่จะใช้ไม้ส้าว(ไม้ที่มีขนาดยาว)สอดไว้ในตอนรมด้วยควันเมื่อจะปล่อยว่าวทั้งนี้สล่าหรือช่างบางคนอาจไม่ทำหมงหรือจุกดังกล่าวก็ได้เมื่อได้ส่วนปากและส่วนก้นเรียบร้อยแล้วก็จะนำกระดาษในแต่ละด้านมาต่อขึ้นรูปเป็นว่าวสี่แจ่ง    ว่าวมน                ว่าวมนคือว่าวทรงมนนั้นนิยมใช้กระดาษว่าวอย่างน้อย64แผ่นสำหรับทำส่วนปากและก้นอย่างละ12แผ่นส่วนด้านข้างนั้นจะต้องใช้กระดาษ40แผ่นด้วยกันหากจะทำให้ใหญ่กว่านี้จะต้องทำให้ได้สัดส่วนที่ลงตัวกันได้พอดี           สำหรับผู้ที่เกิดในปีเสีดหรือปีจอ(ปีหมา)นั้นตามธรรมเนียมชาวล้านนาถือว่าชูธาตุหรือครั้งที่วิญญาณมาปฏิสนธินั้นจะพักอยู่ที่เจดีย์จุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เสียก่อนดังนั้นผู้ที่เกิดในปีเส็ด(ปีหมา)จะถือว่าพระธาตุประจำปีเกิดของคนคือพระธาตุเจ้าจุฬามณีเมื่อเดินทางไปไหว้พระธาตุปีเกิดของตนไม่ได้ก็มักทำว่าวให้นำเครื่องสักการะของตนไปแทนโดยจัดทำสะทวง(อ่าน"สะตวง")คือกระบะบัตรพลีซึ่งบรรจุเครื่องบูชาต่างๆผูกไปกับปากว่าวด้วยและต่อมาก็มีผู้จัดทำกระบะบัตรพลีเช่นเดียวกันฝากไปกับว่าวเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ของตนก็มี ทั้งนี้พบว่ามักจะมีการเขียนที่กระดาษปะไว้ที่บริเวณปากว่าวมีใจความทำนองในที่ว่าบอกชื่อและที่อยู่ของเจ้าของว่าวเหตุผลในการทำว่าวครั้งนั้นและอาจบอกให้นำป้ายดังกล่าวไปรับเงินรางวัลจากเจ้าของว่าวก็มีวาระที่จะปล่อยว่าวหรือรมว่าว(อ่าน"ฮมว่าว")นั้นคือในวันยี่เพง(อ่าน"ญี่เป็ง")คือวันเพ็ญเดือนยี่ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองของไทยภาคกลางพอถึงเวลาสายน้ำค้างแห้งแล้วชาวบ้านจะทำสะทวง(อ่าน"สะตวง")คือกระบะบัตรพลีขนาดเล็กบรรจุเครื่องพลีกรรมห้อยไว้ที่ปากของว่าวโดยกล่าวเป็นสองนัยว่าเพื่อไปบูชาพระธาตุเกศแก้วจุพามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์และบ้างก็ว่าเพื่อส่งเคราะห์ให้ลอยไปเสียชาวบ้านมักจะนำว่าวไปรมหรือปล่อยที่ลานหน้าวิหาร   ว่าวไฟ ว่าวไฟเป็นเครื่องเล่นที่ปล่อยให้ลอยด้วยหลักเดียวกันกับว่าวรมหรือว่าวควันเพียงแต่จะปล่อยว่าวไฟกันเฉพาะในกลางคืนเท่านั้นวิธีทำว่าวไฟก็เหมือนกับการทำว่าวรมเพียงแต่ว่าวไฟจะมีส่วนปากใหญ่กว่าว่าวรมเท่านั้น ในปัจจุบัน(พ.ศ.๒๕๓๙)พบว่ามีวิธีการทำว่าวไฟง่ายขึ้นกว่าเดิมโดยใช้กระดายว่าวเพียง๑๒แผ่นติดกาวต่อกันเป็นทรงกระบอกส่วนปากนั้นใช้ไม้ไผ่ยาวประมาณ๑.๕เมตรกว้างประมาณครึ่งเซนติเมตรเหลาให้มีส่วนแบนเล็กน้อยขดเป็นวงกลมขนาดเท่ากับด้านล่างของว่าวไฟเมื่อติดเข้ากับขอบล่างดังกล่าวแล้วก็พับกระดาษจากส่วนปากขึ้นประมาณเซนติเมตรเพื่อปิดทับขอบไม้ไผ่ส่วนหัวของว่าวไฟจะใช้กระดาษว่าว๒แผ่นตัดให้เป็นวงกลมต่อเข้ากับส่วนปลายของส่วนปลายเข้าแล้วนำไปตากแดดให้แห้งก็เป็นอันเสร็จเรื่องการทำตัวว่าวไฟ ส่วนแหล่งพลังงานในการยกว่าวไฟให้ลอยขึ้นนั้นแต่เดิมใช้ขี้ย้าคือชันทำเป็นแท่งกลมหรือทรงกระบอกขนาดประมาณหนึ่งกำมือยาวประมาณหนึ่งศอกซึ่งเรียกว่าตวย-ว่าวไฟหมงขี้ย้าแกนกลางหรือกระบองแล้วใช้ลวดมัดให้ฅวยว่าวไฟโผล่เหนือลวดที่มัดสองส่วนและจัดให้ดุ้นชันดังกล่าวไว้ตรงกึ่งกลางของปากว่าวโดยให้ท่อนนั้นหงายขึ้นเมื่อจะปล่อยว่าวไฟนั้นก็ให้นำเอาว่าวไฟที่มีดุ้นชันมัดไว้แล้วนั้นมาวางเอนไว้เมื่อจุดดุ้นซันมีไฟลุกขึ้นแล้วก็ให้ค่อยๆยกว่าวไฟตั้งขึ้นเพื่อให้ส่วนปากของว่าวครอบเอาความร้อนจากดวงไฟไว้ทั้งหมดเมื่อจุดไฟได้ระยะหนึ่งแล้วอากาศภายในว่าวจะร้อนและเบากว่าภายนอกทำให้ว่าวลอยขึ้นสู่อากาศได้          กล่าวกันว่าว่าวตวันหรือว่าวไฟที่ตกลงในที่ดินหรือบนบ้านของผู้ใดผู้นั้นก็มักจะโชคร้ายเพราะถือว่าเจ้าของว่าวดังกล่าวปล่อยเคราะห์ของตนไปกับว่าวดังกล่าวนั้น แด่ปัจจุบันความเชื่อดังกล่าวลดน้อยลงแล้วเพราะมีผู้นิยมปล่อยว่าวควันและว่าวไฟเป็นจำนวนมากในโอกาสต่างๆโดยเฉพาะการปล่อยว่าวไฟนั้นนิยมปล่อยกันทุกโอกาสเช่นงานฉลองปีใหม่งานฉลองวันคล้ายวันเกิดฯลฯโดยสามารถหาซื้อหรือสั่งซื้อว่าวไฟได้จากแม่ค้าในตลาดวโรรสจังหวัดเชียงใหม่ปัจจุบันนิยมเรียกหรือเรียกเพราะไม่รู้ตามแบบภาคกลางโดยเรียกว่าววันว่า"โคมลอย"และเรียกว่าวไฟว่า"โคมไฟ"ทั้งๆที่"โคม"แปลว่าเครื่องใช้ที่ให้แสงสว่างทั้งนี้การที่คิดว่าว่าวตวันและว่าวไฟเป็นของเล่นที่เป็นมรดกสืบเนื่องกันมานานแล้วนั้นน่าจะไม่ถูกต้องเพราะกรรมวิธีการผลิตกระดาษของล้านนายังไม่สามารถผลิตกระดาษที่บางและเหนียวได้กระดาษสาซึ่งผลิตได้ในล้านนานั้นแม้จะบางก็จริงแต่ก็มีรูพรุนไปคลอดทั้งแผ่นจนไม่มีทางที่จะอุ้มความร้อนหรือควันไว้ได้นานหากจะผลิตกระดาบไม่ให้มีรอยรั่วก็จะต้องทำให้มีลักษณะหนาอย่าง"กระดาษหนังสา"ซึ่งไม่อาจนำมาทำว่าวควันหรือว่าวไฟได้เพราะมีน้ำหนักมากจนเกินไปดังนั้นหากจะมีการสันนิษฐานแล้วก็น่าจะเป็นไปได้ ข้อมูลจาก:สารานุกรมวัฒนธรรมภาคเหนือเล่ม12 
เผยแพร่เมื่อ 13 พฤศจิกายน 2564 • การดู 3,028 ครั้ง
ผ้าม่านหรือผ้ากั้ง
ผ้าม่านหรือผ้ากั้ง

           ผ้าม่านแต่เดิมหมายถึงผ้าที่ใช้แขวนในกรอบประตูห้องนอนซึ่งเป็นจุดแบ่งพื้นที่ภายในส่วนตัวของเรือนกับพื้นที่รับแขกด้านหน้าตัวเรือนบุคคลภายนอกปกติจะไม่ล่วงล้ำผ่านผ้าม่านประตูเข้าไปในห้องถือเป็นการบุกรุกพื้นที่ส่วนตัวผิดผีเรือนจะต้องมาขอขมาหรือทำพิธีเซ่นไหว้ตามจารีตประเพณีมิฉะนั้นจะเกิดอาเพศและความอัปมงคลต่างๆตามมาผ้าม่านนิยมทอเป็นผ้าลายตกแต่งตามรสนิยมของชุมชนบางทีมีการเพลาะให้กว้างขนาดพอดีกับประตูห้องมีหูหรือเชือกร้อยผูกกับวงกบประตู          ผ้ากั้งเป็นผ้าที่ใช้แบ่งพื้นที่ส่วนตัวหรือพื้นที่หลับนอนในห้องนอนของครอบครัวหรือบริเวณหน้าเรือนในกรณีที่มีแขกมาพักที่บ้านผ้ากั้งนิยมทอเป็นผ้าลายแบบต่างๆต่อขอบผ้าด้านบนด้วยผ้าสีแดงมีหูสำหรับสอดไม้ไผ่แขวนจากเสาหรือฝาเรือนอีกทีหนึ่งบางทีทอเป็นผ้าบางคล้ายผ้ามุ้งเย็บต่อกันเป็นผืนใหญ่ตามต้องการบ่อยครั้งเป็นผ้ายกหรือผ้าพิมพ์ราคาแพงที่นำเข้าจากต่างประเทศ          แต่ละหลังคาเรือนอาจมีผ้ากั้งหลายผืนตามจำนวนที่นอนของครอบครัวนอกจากจะใช้แบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วนแล้วบางครั้งก็ใช้กำหนดที่นั่งของพระสงฆ์ทั้งในวัดและบ้านโดยแขวนไว้ด้านหลังของอาสน์สงฆ์ชาวบ้านจะกางผ้ากั้นไปตลอดไม่นิยมปลดลงหรือเปลี่ยนจนกว่าจะเปื่อยขาดเองในสมัยต่อมาเมื่อนิยมสร้างห้องนอนแบบตะวันตกทำให้ความสำคัญของผ้ากั้นลดลงไปปัจจุบันแทบจะไม่พบการใช้ผ้าชนิดนี้แล้วแต่ที่มีมาแทนก็คือผ้าม่านหน้าต่างที่ใช้สำหรับหน้าต่างขนาดใหญ่ผ้าม่านหน้าต่างแต่เดิมไม่ได้อยู่ในวัฒนธรรมไท-ลาวเนื่องจากบ้านเรือนสมัยก่อนมีช่องหน้าต่างขนาดเล็กมากที่เรียกว่า“ป่อง”มีหน้าที่เพียงให้คนในบ้านมองไปด้านนอกว่ามีใครมาหาหรือใช้สังเกตเหตุการณ์นอกบ้านไม่ได้เปิดหน้าต่างไว้ตลอดเวลาอย่างปัจจุบันอีกประการหนึ่งเนื่องจากวัสดุที่ใช้สร้างบ้านที่เป็นเครื่องสานซึ่งสามารถระบายอากาศได้ดีอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องเปิดหน้าต่างเพื่อให้ลมเข้า-ออกจนเมื่อมีการสร้างบ้านหลังใหญ่อย่างตะวันตกที่ใช้วัสดุกันลมและแดดจึงต้องมีหน้าต่างขนาดใหญ่เพื่อถ่ายเทอากาศขณะเดียวกันการเปิดหน้าต่างก็ทำให้มีแสงเข้ามามากเกินต้องการจึงต้องใช้ผ้าม่านช่วยกันแสงไว้ระดับหนึ่งจะสังเกตได้ว่ารูปแบบและลวดลายของผ้าม่านหน้าต่างต่างจากผ้ากั้งเพราะใช้ผ้าที่ทอด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่และเน้นสีสะอาดคือสีขาวครีมหรือสีอ่อนเป็นหลักลวดลายของผ้าม่านนิยมลายลูกไม้ปักฉลุที่ใช้ด้ายสีเดียวกับผ้าทำให้ดูเรียบสง่าเมื่อมองจากภายนอก   ภาพเเละข้อมูลจาก:หนังสือผ้าและสิ่งถักทอไทโดยอาจารย์วิถีพานิชพันธ์
เผยแพร่เมื่อ 2 พฤศจิกายน 2564 • การดู 2,111 ครั้ง
หญิงสาวชาวล้านนาในอดีตหวงน่องหวงขา มากกว่าหน้าอก
หญิงสาวชาวล้านนาในอดีตหวงน่องหวงขา มากกว่าหน้าอก

หญิงสาวชาวล้านนาในอดีตหวงน่องหวงขามากกว่าหน้าอกจริงหรือไม่?   ผู้หญิงล้านนาในอดีตนั้นไม่ว่าอยู่ในภูมิภาคไหนภาษาชนเผ่าชาติพันธุ์ใดไพร่ชาวบ้านหรือผู้ดีจะไม่นิยมสวมเสื้อนอกจากอากาศจะร้อนแล้วการเปลือยหน้าอกเดินโทงเทงยังถือว่าเป็นเรื่องธรรมชาติเต้านมเป็นแค่เพียงอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกาย จะไม่หวงหน้าอกตัวเองเป็นเหตุให้หวงช่วงบริเวณน่องขาขาอ่อนมากกว่าหน้าอกหากสาวล้านนาดึงซิ่นให้เห็นบริเวณน่องหรือขาอ่อนนั้นถือเป็นการเปิดใจยินยอมให้ชายนั้นเป็นเจ้าของได้ทันที ซึ่งภายหลังในช่วงที่ได้รับอิทธิพลค่านิยมมาจากฝั่งตะวันตกชาวยุโรปที่มาพร้อมกับคำว่า“สุภาพสตรีชั้นสูง”ต้องรู้จักรักนวลสงวนนมการปกปิดหน้าอกเริ่มแพร่หลายไปจนถึงการออกกฎหมายให้พสกนิกรหญิงสาวบ่าวไพร่สวมเสื้อกันทุกคน
เผยแพร่เมื่อ 2 กันยายน 2564 • การดู 6,188 ครั้ง
ฝาลับนาง
ฝาลับนาง

ฝาลับนาง วิถีชีวิตของชาวล้านนาสมัยก่อนในยามค่ำคืนขณะที่คนอื่นๆเรือนนอนหลับกันในเรือนหญิงสาวจะออกมานั่งทำงานด้านนอกบ้างก็ปั่นฝ้ายนั่งเย็บผ้าและรอต้อนรับชายหนุ่มที่มาเยี่ยมเยือนพูดคุยกันเรียกวัฒนธรรมนี้ว่า“การแอ่วสาว”ซึ่งลูกสาวจะนั่งรอชายหนุ่มอยู่ที่เติ๋นและหากบ้านไหนมีน้องชายก็จะอยู่เฝ้าพี่สาวทำหน้าที่จัดคิวชายหนุ่มที่เข้ามาพูดคุยกับพี่สาว เมื่อถึงชายหนุ่มมานั่งที่เติ๋นก็จะพูดคุยสัมภาษณ์เรื่องต่างอาทิว่ามาจากบ้านไหนเมืองไหนบางทีก็เป็นคนต่างถิ่นจากหมู่บ้านอื่นเนื่องจากสมัยก่อนไม่นิยมแต่งงานกับคนในพื้นที่เดียวกันเพราะรู้จักนิสัยใจคอกันหมดแล้วซึ่งแม่จะมาแอบฟังข้อมูลการสัมภาษณ์ด้วยและหากบ้านนั้นมีน้องสาวที่ยังไม่ได้แต่งงานก็จะใช้ประโยชน์จากการนั่งฟังข้าง“ฝาลับนาง”ที่ยื่นออกมาปิดด้านข้างของเติ๋นโดยการไปหลบหลังฝาฟังการซักถามพูดคุยกันอย่างไรเพื่อศึกษาเรียนรู้ไว้ในภายภาคหน้าฝาลับนางเป็นฝาที่มีลักษณะพิเศษพบได้เฉพาะเรือนกาแลแต่พบเพียงไม่กี่แห่งมีลักษณะสำคัญคือเป็นฝาที่ยื่นยาวกว่าส่วนที่จะกั้น40-50ซม.พบที่ฝาด้านยาวด้านในของเรือนมีความยาวพ้นเสายื่นเลยออกมาจากส่วนที่กั้นห้องนอนไปข้างหน้าบริเวณเติ๋นส่วนที่ยื่นออกมานี้เลยมีนัยว่าเป็นที่กำบังหญิงสาวขณะทำงานบนเรือน  
เผยแพร่เมื่อ 31 สิงหาคม 2564 • การดู 2,423 ครั้ง
ครกมอง
ครกมอง

ครกกระเดื่อง เป็นของใช้พื้นบ้านซึ่งใช้สำหรับตำข้าวตำถั่วตำข้าวโพดและตำแป้งเป็นต้นบางทีก็เรียกครกกระดกหรือเรียกว่ามองก็มี ปัจจุบันการใช้ครกกระเดื่องมีใช้กันน้อยมากจะมีอยู่ในบางหมู่บ้านที่ไม่มีโรงสีข้าวหรืออาจจะอยู่ห่างไกลพวกชนกลุ่มน้อยบางพวกเช่นพวนโซ่งแม้วอีก้อซึ่งอยู่ในเขตหัวเมืองฝ่ายเหนือยังคงใช้ครกกระเดื่องกันอยู่มากพอสมควร ตัวครกทำด้วยท่อนไม้ขนาดใหญ่ตัดให้เป็นท่อนสูงประมาณ๕๐-๖๐เซนติเมตรขุดส่วนที่สำหรับใส่เพื่อตำข้าวหรือสิ่งอื่นๆให้เป็นเบ้าลึกลงไปให้สามารถบรรจุเมล็ดข้าวเปลือกได้ครั้งละเกือบ๑ถังทำคานไม้ยาวประมาณ๓-๔เมตรเพื่อใช้สำหรับเจาะรูเส้าหรือสากไว้ตำข้าวตั้งเสา๒ต้นฝังดินให้แน่นอยู่ในแนวเดียวกันกลางเสาทั้ง๒ต้นใช้สิ่วเจาะรูหรือบากไม้ให้เป็นร่องแล้วสอดคานที่รูยึดเสาทั้ง๒ต้นให้ขนานกับพื้นดินวางคานเส้าหรือสากให้ค่อนไปอยู่ปลายคานด้านตรงข้ามกับสากใช้คานสากตอกยึดกับคานไม้ที่ยึดเสา๒ต้น วิธีใช้จะวางครกไม้ให้ตรงกับเส้าหรือสากเมื่อใส่ข้าวข้าวโพดที่เป็นฝักๆไปแล้วจะใช้แรงเหยียบที่ปลายคานด้านที่ยึดติดกับเสา๒ต้นเมื่อใช้แรงเหยียบกดลงไปสากจะยกขึ้นเหมือนการเล่นไม้หกเวลาจะให้ตำสิ่งที่ต้องการก็ยกเท้าลงสากจะตำสิ่งของที่เราต้องการในเบ้าครกการตำข้าวตำฝักถั่วตำฝักข้าวโพดจะต้องมีคนช่วยกันคนหนึ่งเป็นคนเหยียบอีกคนหนึ่งจะเป็นคนกวนหรือพลิกกลับมาให้สากทุบตำได้ทั่วถึงหากเมล็ดข้าวถูกแรงตำด้วยท่อนไม้สากบ่อยๆจะทำให้ข้าวเปลือกกะเทาะหลุดออกจากเมล็ดชาวบ้านจะนำเมล็ดข้าวสารไปใส่กระด้งอีกทีหนึ่งเพื่อฝัดให้เศษผงต่างๆปลิวออกไปแล้วเลือกเมล็ดข้าวเปลือกหรือเศษกรวดดินออกก่อนที่จะนำไปหุงต่อไป (ขอขอบคุณข้อมูล:http://www.openbase.in.th/node/6892) (ภาพวาด:สุขธรรมโนบางนักช่างศิลป์สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
เผยแพร่เมื่อ 8 กรกฎาคม 2564 • การดู 7,363 ครั้ง
การทำนาแบบล้านนาโบราณ (อุปกรณ์ เครื่องใช้ และขั้นตอนการทำนาล้านนาโบราณ)
การทำนาแบบล้านนาโบราณ (อุปกรณ์ เครื่องใช้ และขั้นตอนการทำนาล้านนาโบราณ)

1.ชาวนาจะถือเคียวด้วยมือข้างที่ถนัดแล้วใช้เคียวเกี่ยวตะหวัดกอข้าวทีละกอในขณะเดียวกันก็ใช้มืออีกข้างหนึ่งจับกอข้าวนั้นและออกแรงดึงเคียวให้คมเคียวตัดลำต้นข้าวให้ขาดออกมา 2.“หลาวหาบข้าว”ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำหรับหาบฟ่อนข้าวหรือฟางข้าวมีลักษณะเป็นไม้เสี้ยมปลายทั้งสองด้านมีขาหยั่งรองรับน้ำหนัก 3.กองข้าวการขนย้ายฟ่อนข้าวหรือเฟ่าเข้ามารวมกันมีวิธีกองรวมเป็นกระจุกเรียกว่า"กองพุ่ม"กองเรียงตาลางเรียกว่า"กองรอม" 4.การตีข้าวเป็นการฟาดรวงข้าวให้เมล็ดหลุดจากรวงนั้นโดยฟาดใน"คุ"โดยอุปกรณ์หลักคือ"ไม้หีบ"หรือ"ไม้หนีบ"ช่วงต้นมีสายรัดสำหรับรัดฟ่อนข้าวเเละช่วงปลายสำหรับจับ 5.การหะข้าวคือการตักข้าวเปลือกด้วยช้อนไม้ขนาดใหญ่ที่เรียกว่า“ผาก”แล้วสาดหรือซัดให้กระจายไปขณะเดียวกันก็จะมีคนคอยพัดเอาเศษฟางหรือข้าวลีบให้ปลิวออกซึ่งเรียกว่า“กาหรือกาวี”มีลักษณะกลมแบนสานด้วยไม้ไผ่กว้างประมาณ2คืบมีด้ามจับยาวประมาณหนึ่งศอกโดยมีเสื่อปูรองพื้นสำหรับใส่เมล็ดข้าวเรียกว่า"สาดกะลา"เป็นเสื่อที่สานจากไม้ไผ่ 6.การขนย้ายข้าวเปลือกหากไม่หาบก็บรรทุกเกวียนซึ่งส่วนใหญ่จะเรียกเกวียนว่า“ล้อ”ใช้เทียมวัวเรียกว่า“ล้อวัว” การขนย้ายข้าวเปลือกที่ได้จากการนวดเรียกว่า“ลากเข้า” 7.การขนข้าวขึ้นหลองโดยการนำเกวียนมาเทียบหลองข้าวและทำการขนย้ายข้าวขึ้นบน“หลอง”เพื่อจัดเก็บ   ภาพประกอบโดย:สุขธรรมโนบาง  จัดทำโดย:พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนาสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เผยแพร่เมื่อ 22 มิถุนายน 2564 • การดู 8,167 ครั้ง
ความร้อนบำบัดโรค ภูมิปัญญาจากชาวบ้าน
ความร้อนบำบัดโรค ภูมิปัญญาจากชาวบ้าน

ความร้อนบำบัดโรคภูมิปัญญาจากชาวบ้าน         นักวิทยาศาสตร์ยอมรับว่าร่างกายมีปฏิกิริยาที่แตกต่างกันเมื่อตอบสนองต่ออุณหภูมิที่แตกต่างกันและรู้ว่าความร้อนนั้นจะกระตุ้นภูมิต้านทานให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพได้มากขึ้นเช่นหากร่างกายได้รับสิ่งแปลกปลอมเข้าไปเช่นไวรัสหรือแบคทีเรียร่างกายจะกระตุ้นตัวมันเองให้สร้างความร้อนขึ้นมาอุณหภูมิสูงกว่า37เซลเซียสจะกระตุ้นกระบวนการของภูมิต้านทานให้ทำงานได้ดีกว่าดังนั้นการเป็นไข้เท่ากับการจุดชนวนของปฏิกิริยาของภูมิต้านทานนับเป็นปฏิกิริยาแบบธรรมชาติแท้ๆที่ร่างกายปรับตัวสู้กับเชื้อโรคหรืออาการอักเสบ          ในสมัยก่อนที่ยังไม่มียาปฏิชีวนะใช้คนไทยโบราณมีวิธีใช้ความร้อนเพิ่มภูมิต้านทานให้กับตนเองภาคเหนือมีการขางแม่จีไฟการนั่งดินจี่ใช้ความร้อนไปกระตุ้นภูมิต้านทานให้ทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น                การอยู่ไฟในภาคเหนือในเมื่อการคลอดในสมัยโบราณเป็นเรื่องใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับความเป็นความตายมีการเสียเลือดมากมายทางคลอดเกิดการฉีกขาดเป็นทางเข้าของแบคทีเรียเกิดการติดเชื้อพิธีกรรมในการคลอดการอยู่ไฟจึงเป็นเรื่องคอขาดบาดตายที่ผู้หญิงโบราณยึดถือกันอย่างเคร่งครัดสำหรับการอยู่ไฟของภาคเหนือแม่ก๋ำเดือนจะต้องอยู่เดือน”เข้าเส้า”อยู่กับความร้อนแต่ในห้องโดยเชื่อว่าเพื่อให้มดลูกเข้าอู่เร็วห้ามไม่ให้ออกไปไหนต้อง“ก๋ำกิ๋น”คือห้ามกินของแสลงและไม่ให้ได้กลิ่นฉุนเพราะจะทำให้ป่วยเป็นโรค“ลมผิดเดือน”ได้แต่สำหรับเวลาของการอยู่เดือนคือถ้าเป็นลูกสาวต้อง”เผื่อกี่เผื่อด้าย”แม่ก๋ำเดือนต้องอยู่ไฟ30วันเนื่องจากหากลูกสาวโตขึ้นจะต้องเรียนรู้การปั่นด้ายทอผ้าถ้าเป็นลูกชายให้อยู่ไฟ28วันถือเป็นเคล็ดให้หยุดคมหอกคมดาบจึงจะเห็นได้ว่าร่างกายของเราต้องการระยะเวลาประมาณ1เดือนเพื่อฟื้นสุขภาพตัวเองให้กลับมาแข็งแรงดังเดิม                การใช้ความร้อนเฉพาะที่ในการรักษาโรคการใช้ความร้อนประคบเหมาะสำหรับอาการปวดข้อต่างๆปวดกล้ามเนื้อเช่นปวดหลังปวดไหล่ปวดขาปวดเข่าซึ่งการประคบแบบนี้เป็นการักษาเฉพาะที่ 1.การใช้ลูกประคบเป็นการใช้สมุนไพรพื้นบ้านของไทยหลายๆชนิดมาห่อรวมกันด้วยผ้าขาวเอาลูกประคบ2ลูกไปนึ่งให้ชุ่มไอน้ำแล้วเอาลูกประคบมานวดบริเวณที่ปวดอาศัยความร้อนจากลูกประคบทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายเป็นการบรรเทาปวดที่ได้ผลทันทีความร้อนทำให้เลือดไปเลี้ยงบริเวณที่นวดขยายตัวทำให้ตัวยาสมุนไพรสามารถซึมเข้าไปในร่างกายมากขึ้นอาการอักเสบจะลดลง 2.การใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำร้อนสลับเย็นประคบเป็นการใช้ความร้อนประคบเฉพาะที่ปวดที่อักเสบเรื้อรังโดยไม่ได้ใช้สมุนไพรการประคบร้อนวิธีนี้จะเรียกเอาเลือดมาเอ่ออยู่ในบริเวณนั้นเป็นการเอาความร้อนไปกระตุ้นเม็ดเลือดขาวให้ทำงานมากขึ้นอาการอักเสบและอาการปวดแทบจะลดลงทันทีส่วนการประคบเย็นจะทำให้หลอดเลือดบีบตัวไล่เลือดเก่าที่คั่งอยู่บริเวณนั้นกลับสู่ส่วนกลาวเพื่อเอาขยะและพิษจากการอักเสบไปกำจัดทิ้ง 3.การนวดย่ำข่างเป็นวิธีการบำบัดรักษาโรคภัยไข้เจ็บแบบพื้นบ้านล้านนาอีกประเภทหนึ่งโดยมากใช้สำหรับบำบัดหรือรักษาอาการเจ็บปวดตามร่างกายโดยใช้เท้าชุบน้ำยา(น้ำไพลหรือน้ำมันงา)แล้วไปย่ำลงบนขางที่เผาไฟจนร้อนแดงแล้วจึงไปย่ำบนร่างกายหรืออวัยวะของผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บปวด   ข้อมูลจาก:พญ.ลลิตาธีระสิริ รูปภาพจาก: https://jobschiangrai.com
เผยแพร่เมื่อ 9 มิถุนายน 2563 • การดู 5,134 ครั้ง
ประโยชน์ทางการแพทย์แผนปัจจุบันจากตำรายาแผนโบราณ
ประโยชน์ทางการแพทย์แผนปัจจุบันจากตำรายาแผนโบราณ

    การแพทย์แผนปัจจุบันเป็นระบบการดูแลรักษาสุขภาพที่มีมาตรฐานมีจุดเด่นคือการใช้เทคโนโลยีในการหาสาเหตุแห่งโรคและอาการแบ่งระบบที่ชัดเจนเช่นระบบทางเดินหายใจระบบทางเดินอาหารแพทย์มีความรู้ทั่วไปและความรู้ความชำนาญเฉพาะทางตามระบบมีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ได้การยอมรับเป็นระบบที่พัฒนาต่อเนื่องมีเหตุผลอธิบายชัดเจนต่อยอดหรือทำการศึกษาซ้ำและนักวิจัยคนอื่นสามารถพัฒนาต่อไปได้ ส่วนการแพทย์ล้านนาการแพทย์อาข่าเมี่ยนม้งเย้าและอื่นๆ(ทั้งสิ้นประมาณ๔๐ชนเผ่า)เป็นการแพทย์ประสบการณ์อ้างอิงธรรมชาติถ่ายทอดจากปากต่อปากองค์ความรู้ในการรักษาอยู่ที่เฉพาะตัวหมอหรือผู้ที่รับถ่ายทอดไม่มีตำราเป็นทางการมีเอกสารอ้างอิงหรือพับสาใบลานและสมุดบันทึกใช้หลักของศาสนาพุทธและองค์รวมในการดูแลเยียวยาร่างกายเองเห็นว่ามนุษย์แตกต่างในเรื่องของธาตุเมื่อปกติต้องบำรุงร่างกายให้แข็งแรงก่อน โรคจึงจะหายหรือรักษาได้โบราณใช้หลักการแพทย์เช่นการปล่อยปลิงการถอนพิษด้วยยาสมุนไพรและการถอนพิษด้วยการขับถ่ายแม้ความเจริญทางการแพทย์แผนปัจจุบันล้ำหน้ากว่าการแพทย์แผนโบราณแต่ปัจจุบันมนุษย์กลับมาแสวงหาการใช้ธรรมบำบัดหรือใช้สมุนไพรบำบัดเนื่องจากเกรงอันตรายจากสารเคมีและอาการข้างเคียงของยาแต่การนำองค์ความรู้ด้านการแพทย์ล้านนามาใช้ต้องผ่านการศึกษาด้านองค์ความรู้ในใบลานพับสาและเอกสารโบราณความเข้าใจในเวชกรรมหลักการตั้งตำรับยาซึ่งต้องเข้าใจตัวยาแต่ละชนิดคัดเลือกปรับใช้ให้สามารถประยุกต์กับยุคสมัยจึงจะสามารถพัฒนาต่อยอดจากฐานรากได้    เภสัชกรหญิงรศ.ดร. พาณี ศิริสะอาด
เผยแพร่เมื่อ 21 เมษายน 2563 • การดู 5,518 ครั้ง
ลักษณะหมู่บ้านของชาวล้านนา
ลักษณะหมู่บ้านของชาวล้านนา

หมู่บ้านของชาวล้านนามีรูปแบบอยู่ 2 ลักษณะคือ หมู่บ้านที่ตั้งอยู่ขนานกับเส้นทางสัญจร และหมู่บ้านที่กระจุกตัวเป็นกลุ่ม ซึ่งในลักษณะแรกมักเป็นหมู่บ้านที่ติดกับเส้นทางการค้า รองรับการค้าขาย ส่วนหมู่บ้านที่มีลักษณะเป็นกลุ่ม ตั้งอยู่ค่อนข้างไกลจากเส้นทางสัญจรหลัก เกิดจากการสร้างบ้านเรือนกระจายออกจากจุดศูนย์กลางของตัวหมู่บ้านออกไปเรื่อยๆ ตามการขยายตัวของคนในชุมชน ปัจจุบันเราไม่สามารถเห็นขอบเขตของหมู่บ้านแต่ละกลุ่มในเมืองใหญ่ได้อย่างชัดเจน เพราะการขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็วของสังคม หมู่บ้านต่างๆอยู่ติดๆกันเป็นผืนใหญ่ แต่ในชนบทบางแห่งยังคงพบว่าหมู่บ้านแต่ละที่มีระยะห่างไกลกันพอสมควร จึงเห็นเขตของหมู่บ้านอย่างชัดเจน โดยมีที่นาหรือป่าชุมชนตั้งอยู่ระหว่างแต่ละหมู่บ้าน  ผังหมู่บ้านของชาวล้านนาในอดีต ค่อนข้างที่จะมีแบบแผนชัดเจน โดยทำเลที่เหมาะสมกับการตั้งหมู่บ้านที่ดีที่สุดคือต้องมีแหล่งน้ำ หากบริเวณนั้นมีพื้นที่ดอนและที่ราบแม่น้ำไหลผ่าน ก็จะตั้งบ้านเรือนอยู่บนที่สันดอน ส่วนที่ราบนั้นจะจำกัดไว้สำหรับการเพาะปลูก เพราะเป็นบริเวณที่น้ำชุ่มตลอดทั้งปี เหมาะแก่การปลูกข้าวเป็นอย่างยิ่ง             ใจบ้าน เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของหมู่บ้านชาวล้านนาคือ ใจบ้านเปรียบได้กับขวัญของหมู่บ้าน ที่มีเทวาอารักษ์หรือเสื้อบ้านสถิตอยู่เพื่อคอยดูแลป้องกันสิ่งชั่วร้ายไม่ให้เข้ามาในหมู่บ้านได้ นิยมกำหนดให้อยู่ในบริเวณต้นไม้ใหญ่ หรือสร้างหอเสื้อบ้านขึ้นมาหรือปักเสาหลักเป็นเสื้อบ้านก็ได้ ซึ่งใจบ้านส่วนใหญ่จะอยู่กลางหมู่บ้านบริเวณเดียวกับข่วงบ้าน เป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับทำกิจกรรมต่างๆของคนในหมู่บ้านร่วมกัน          หอผีเสื้อบ้านหรือหอเจ้าบ้าน มักอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่หรือพื้นที่พิเศษแตกต่างไปจากพื้นที่โดยทั่วไป เช่น บริเวณจอมปลวก บริเวณที่ดอน เป็นต้น มีลักษณะเป็นเรือนจำลองขนาดเล็ก ในอดีตสร้างด้วยไม้ ตัวหอยกพื้นขึ้นสูงเล็กน้อย แต่ในปัจจุบันหมู่บ้านบางแห่งหอผีเสื้อบ้านชำรุด จึงสร้างใหม่เป็นอาคารก่อปูนชั้นเดียวขนาดใหญ่กว่าแบบเดิม ภายในหอผีมีชั้นสำหรับวางเครื่องสักการะและของใช้ของผี คือ ขันหมาก น้ำต้น ดาบ รูปปั้นม้าหรือช้าง ฯลฯ  ทุกปีก็จะมีพิธีเซ่นไหว้ถวายเครื่องสังเวยให้ผีเสื้อบ้าน เพื่อเป็นการแสดงความเคารพและร้องขอให้ช่วยดูแลรักษาหมู่บ้านให้ปลอดภัย                      ข่วงบ้าน เป็นลานโล่งกว้าง ไม่มีสิ่งก่อสร้างหรือต้นไม้ขึ้นมากีดขวาง มักอยู่บริเวณหน้าหอผีเสื้อบ้านหรือใจบ้าน เป็นพื้นที่สาธารณะของคนในหมู่บ้านได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน เดิมทีใช้เป็นที่สำหรับจัดพิธีกรรมในการเลี้ยงผีบ้าน ภายหลังรูปแบบของหมู่บ้านมีการเปลี่ยนแปลง จากการขยายตัวของชุมชน ทำให้บางหมู่บ้านแทบไม่เหลือพื้นที่นี้ไว้          กลุ่มเรือน ลักษณะของหมู่บ้านชาวล้านนาในอดีตหรือชนบท จะกระจุกตัวรวมกันอย่างหนาแน่นบริเวณกลางหมู่บ้านแล้วก็เบาบางลงบริเวณท้ายบ้าน จากนั้นก็จะเป็นที่นาคั่นระหว่างหมู่บ้าน ถนนที่ใช้ในหมู่บ้านก็จะมีขนาดเล็กแคบและคดเคี้ยว ทางเข้าบ้านมีการแบ่งซอยย่อยออกไป แต่หมู่บ้านในเมืองที่มีกลุ่มเรือนกระจายตัวทั่วไปในบริเวณหมู่บ้านจนไม่มีพื้นที่ว่าง มักมีการกำหนดเขตโดยใช้ถนน หรือแม่น้ำแบ่งเขตหมู่บ้านแทน             วัด ในแต่ละหมู่บ้านต้องมีวัดประจำของตัวเองเพื่อให้คนในชุมชนได้มีพื้นที่สำหรับการทำบุญและฟังเทศน์ธรรม อีกทั้งยังเป็นสถานที่จัดกิจกรรมร่วมกันของชุมชนในพิธีกรรมประเพณีต่างๆ ส่วนใหญ่หมู่บ้านแต่ละแห่งจะมีเพียงหนึ่งวัด แต่หากเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ หรือเป็นหมู่บ้านที่แยกออกมาจากหมู่บ้านเดิม จะสร้างวัดใหม่เพิ่มขึ้น เพื่อให้คนในชุมชนได้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาได้อย่างทั่วถึง ในอดีตวัดประจำหมู่บบ้านจะตั้งชื่อเหมือนกับหมู่บ้านนั้นๆ แต่ปัจจุบันบางแห่งอาจมีการตั้งชื่อใหม่อีกชื่อเพื่อความสวยงามทางภาษา อย่างไรก็ตามคนในหมู่บ้านก็ยังคงมีบทบาทในการทำนุบำรุงวัด และพระสงฆ์ในหมู่บ้านของตนเอง ซึ่งผู้ที่ทำบุญและเข้าร่วมพิธีสงฆ์ในวัดใดวัดหนึ่งตลอดเวลา จะเรียกตนเองว่าเป็น“ศรัทธาวัด” ของวัดนั้นๆ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นศรัทธาวัดในหมู่บ้านนั้นเอง            ที่นา เป็นพื้นที่สำหรับปลูกข้าวหรือพืชอื่นๆ มักอยู่บริเวณพื้นที่ลุ่มหรือใกล้กับแหล่งน้ำในแต่ละหมู่บ้านจะมีอาณาเขตที่นาอยู่รอบๆใจกลางของหมู่บ้าน   ซึ่งหมู่บ้านก็จะมีเรือนหลายๆหลังอยู่กระจุกรวมกันเป็นกลุ่ม ถัดออกไปก็จะเป็นที่นาผืนใหญ่ ซึ่งเจ้าของที่นาแต่ละคนจะจำที่ของตนเองได้ โดยแบ่งที่นาแต่ละที่ออกจากกันด้วยคันนา 
เผยแพร่เมื่อ 3 ธันวาคม 2562 • การดู 10,749 ครั้ง
การตั้งถิ่นฐานของชาวล้านนา
การตั้งถิ่นฐานของชาวล้านนา

สภาพภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อม            สภาพสิ่งแวดล้อมมีผลต่อวิถีชีวิตของคนแต่ละพื้นที่เป็นอย่างมากในท้องถิ่นต่างๆ มักรู้จักการประยุกต์ใช้วัสดุธรรมชาติที่มีอยู่ในบริเวณนั้นให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ซึ่งต้องสอดคล้องกับสภาพภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อมในที่ตั้งถิ่นฐานนั้นด้วยถือเป็นการกลั่นกรองทางด้านความคิด ภูมิปัญญา     และการปรับตัวให้สอดคล้องเหมาะสมกับท้องถิ่นที่อยู่อาศัยได้เป็นอย่างดี คำว่า บ้านและเรือน ในความหมายของชาวล้านนาในอดีตมีความหมายที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน เพราะ“บ้าน”จะหมายถึง “หมู่บ้าน” ที่มีการกำหนดอาณาเขต ทำเลที่ตั้งของเรือนที่ตั้งอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ส่วนคำว่า“เรือน” คือ “อาคารที่อยู่อาศัย” ของมนุษย์ ในแต่ละหมู่บ้านต่างก็มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามลักษณะภูมิประเทศและสิ่งแวดล้อม เช่น การตั้งชื่อหมู่บ้านตามแหล่งน้ำที่มี ห้วย หนอง ท่า สบ การตั้งชื่อหมู่บ้านบริเวณ โคก สัน ดอย หลิ่ง การตั้งชื่อตามพันธุ์ไม้ท้องถิ่นที่มีในแถบนั้น เช่น บ้านขี้เหล็ก บ้านสันคะยอม บ้านสันผักหวาน ท่าส้มป่อย หรือบางครั้งอาจตั้งชื่อหมู่บ้านตามประวัติศาสตร์ เรื่องเล่าและตำนาน เช่นบ้านนางเหลียว ตั้งชื่อตามเหตุการณ์ที่นางจามเทวีเหลียวหลังกลับไป เป็นต้น เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ของล้านนาตั้งอยู่ทางตอนปลายของแนวเทือกเขาที่ทอดลงมาจากประเทศจีน ทำให้มีพื้นที่ราบสลับกับเทือกเขาสูง   ดังนั้นการตั้งถิ่นฐานของชาวล้านนาจึงขึ้นอยู่กับบริเวณที่มีดินและน้ำอุดมสมบูรณ์ ซึ่งมักสร้างเมืองตาม “แอ่ง” ใหญ่ๆ เช่น แอ่งเชียงใหม่-ลำพูน แอ่งลำปาง เป็นต้น แอ่งเหล่านี้ตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขา มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบกว้างใหญ่และมีแม่น้ำไหลผ่าน ซึ่งการเกิดขึ้นของเมืองก็จะกระจุกตัวอยู่ตามเส้นทางแม่น้ำสายหลัก และแม่น้ำสาขา เพื่อใช้น้ำในการอุปโภคบริโภคตลอดจนใช้ในการเพาะปลูก
เผยแพร่เมื่อ 3 ธันวาคม 2562 • การดู 10,302 ครั้ง