22 มิถุนายน 2564
3k
Share on
 

การทำนาแบบล้านนาโบราณ (อุปกรณ์ เครื่องใช้ และขั้นตอนการทำนาล้านนาโบราณ)

 

1. ชาวนาจะถือเคียวด้วยมือข้างที่ถนัด แล้วใช้เคียวเกี่ยวตะหวัดกอข้าวทีละกอ ในขณะเดียวกันก็ใช้มืออีกข้างหนึ่งจับกอข้าวนั้นและออกแรงดึงเคียวให้คมเคียวตัดลำต้นข้าวให้ขาดออกมา

2. “หลาวหาบข้าว” ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำหรับหาบฟ่อนข้าวหรือฟางข้าว มีลักษณะเป็นไม้เสี้ยมปลายทั้งสองด้าน มีขาหยั่งรองรับน้ำหนัก

3. กองข้าว การขนย้ายฟ่อนข้าวหรือเฟ่าเข้ามารวมกัน มีวิธีกองรวมเป็นกระจุก เรียกว่า "กองพุ่ม" กองเรียงตาลางเรียกว่า "กองรอม"

4. การตีข้าว เป็นการฟาดรวงข้าวให้เมล็ดหลุดจากรวงนั้น โดยฟาดใน "คุ" โดยอุปกรณ์หลักคือ "ไม้หีบ" หรือ "ไม้หนีบ" ช่วงต้นมีสายรัด สำหรับรัดฟ่อนข้าว เเละช่วงปลายสำหรับจับ

5.การหะข้าว คือการตักข้าวเปลือกด้วยช้อนไม้ขนาดใหญ่ที่เรียกว่า “ผาก” แล้วสาดหรือซัดให้กระจายไป ขณะเดียวกันก็จะมีคนคอยพัดเอาเศษฟางหรือข้าวลีบให้ปลิวออก ซึ่งเรียกว่า “กาหรือกาวี” มีลักษณะกลมแบน สานด้วยไม้ไผ่ กว้างประมาณ 2 คืบ มีด้ามจับยาวประมาณหนึ่งศอก โดยมีเสื่อปูรองพื้นสำหรับใส่เมล็ดข้าว เรียกว่า "สาดกะลา" เป็นเสื่อที่สานจากไม้ไผ่

6. การขนย้ายข้าวเปลือกหากไม่หาบก็บรรทุกเกวียน ซึ่งส่วนใหญ่จะเรียกเกวียนว่า “ล้อ” ใช้เทียมวัว เรียกว่า “ล้อวัว”

การขนย้ายข้าวเปลือกที่ได้จากการนวด เรียกว่า “ลากเข้า”

7.การขนข้าวขึ้นหลอง โดยการนำเกวียนมาเทียบหลองข้าว และทำการขนย้ายข้าวขึ้นบน “หลอง”เพื่อจัดเก็บ

 

ภาพประกอบโดย : สุขธรรม โนบาง 

จัดทำโดย : พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่