ดอกสัก

ข่าวเด่นและความภาคภูมิใจ


ทั้งหมด 14 รายการ
 
 
พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มช.  ได้รับรางวัล Thailand Tourism Awards ครั้งที่ 14 ประจำปี 2566
พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มช. ได้รับรางวัล Thailand Tourism Awards ครั้งที่ 14 ประจำปี 2566

พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมเเละล้านนาสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ได้รับรางวัล Thailand Tourism Awards ครั้งที่ 14 ประจำปี 2566 ดังนี้ 1. ประเภทแหล่งท่องเที่ยว สาขาเเหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ รางวัลยอดเยี่ยม Thailand Tourism Gold Awards 2. ประเภทการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำเพื่อความยั่งยืน เกียรติบัตรรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย Thailand Tourism Certificate โดยการท่องเที่ยวเเห่งประเทศไทย ประกาศ ณ วันที่ 11 กันยายน 2566 ทั้งนี้จะมีการเข้ารับมอบรางวัลในงานพระราชทานรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ครั้งที่ 14 ประจำปี 2566 โดยมีทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีในวันพุธที่ 27 กันยายน 2566 ณ สามย่านมิตรทาวน์ฮอลล์ ชั้น 5
เผยแพร่เมื่อ 12 กันยายน 2566 • การดู 202 ครั้ง
สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ รับโล่เกียรติยศการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของส่วนงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระดับ A และมีคะแนนสูงสุด
สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ รับโล่เกียรติยศการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของส่วนงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระดับ A และมีคะแนนสูงสุด

ศาสตราจารย์ปฏิบัติ ดร.เอกชัย มหาเอก รองอธิการบดี รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้ารับมอบโล่เกียรติยศการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของส่วนงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระดับ A (93.01 คะแนน) ซึ่งเป็นส่วนงานที่ได้คะแนนสูงสุด ในงานประกาศรางวัล "CMU-ITA AWARD 2023" ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จัดขึ้นในงาน CMU KM DAY 2023 โดยมีศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลดังกล่าว เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2566 ณ ห้องทองกวาว สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เผยแพร่เมื่อ 8 กันยายน 2566 • การดู 398 ครั้ง
รางวัลชมเชย CMU Social Value Recognition Awards 2023 ภายใต้โครงการ CMU Accelerate Impact and Hackathon 2023
รางวัลชมเชย CMU Social Value Recognition Awards 2023 ภายใต้โครงการ CMU Accelerate Impact and Hackathon 2023

โครงการพิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนามีชีวิตแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรม และวิถีชีวิตล้านนาอย่างสร้างสรรค์ โดยสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับรางวัลชมเชย CMU Social Value Recognition Awards 2023 ภายใต้โครงการ CMU Accelerate Impact and Hackathon 2023 สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง "Accelerating Social Value For Higher Education" ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2566 ณ ห้องประชุมธาราทอง โรงแรมเซ็นทารา ริเวอร์ไซด์ เชียงใหม่ ทั้งนี้ โดยมีศาสตราจารย์ ดร.นพ.พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเป็นประธานการมอบรางวัลฯ พร้อมทั้งแถลงทิศทางการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่ Social Impact Education ในการประชุมดังกล่าวอีกด้วย
เผยแพร่เมื่อ 1 กรกฎาคม 2566 • การดู 411 ครั้ง
พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มช. ได้รับรางวัล พิพิธภัณฑ์ไทยสรรเสริญ
พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มช. ได้รับรางวัล พิพิธภัณฑ์ไทยสรรเสริญ

พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา  สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มช.  ได้รับรางวัล “พิพิธภัณฑ์ไทยสรรเสริญ" สมาคมพิพิธภัณฑ์ไทย ได้จัดพิธีมอบรางวัล "พิพิธภัณฑ์ไทยสรรเสริญ" ให้แก่พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ของไทย ที่มีผลงานโดดเด่นในด้านต่างๆ และเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ทั่วประเทศไทย ทั้งนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกชัย มหาเอก รองอธิการบดี รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เข้ารับมอบรางวัลดังกล่าว โดยมีนางยุถิกา อิศรางกูร ณ อยุธยา รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธี ในวันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน 2565 ณ ศูนย์การประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร
เผยแพร่เมื่อ 23 พฤศจิกายน 2565 • การดู 408 ครั้ง
สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม รับโล่ตราสัญลักษณ์ G-Green ระดับดีเยี่ยม (ทอง) รับรองเป็นสำนักงานสีเขียว ระดับประเทศ
สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม รับโล่ตราสัญลักษณ์ G-Green ระดับดีเยี่ยม (ทอง) รับรองเป็นสำนักงานสีเขียว ระดับประเทศ

สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม รับโล่ตราสัญลักษณ์ G-Green ระดับดีเยี่ยม (ทอง) รับรองเป็นสำนักงานสีเขียว ระดับประเทศ โดยมีนายอนุชา สะสมทรัพย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานในพิธี และมอบรางวัลตราสัญลักษณ์ G – Green ระดับประเทศ  ให้กับหน่วยงานและสถาน ประกอบการ ที่ผ่านเกณฑ์การประเมินที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผ่านระบบ Online และ ณ ห้องประชุมอารีย์สัมพันธ์ ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ในวันที่ 20 กรกฎาคม 2565 
เผยแพร่เมื่อ 4 สิงหาคม 2565 • การดู 737 ครั้ง
สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม รับโล่เกียรติยศการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของส่วนงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระดับ A
สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม รับโล่เกียรติยศการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของส่วนงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระดับ A

นายสันต์ทัศน์ เพ็ญจันทร์ หัวหน้างานบริการและประกันคุณภาพ เป็นผู้แทนผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รับมอบโล่เกียรติยศการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระดับ A (86.70 คะแนน) ในงานประกาศรางวัล "CMU-ITA AWARD 2022" ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จัดขึ้น โดยมีศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์นิเวศน์ นันทจิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลดังกล่าว เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2565 ณ สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และถ่ายทอดผ่านระบบ Zoom Meeting 
เผยแพร่เมื่อ 1 พฤษภาคม 2565 • การดู 849 ครั้ง
สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตัดสินรางวัล อนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ประจำปี 2565 ให้กับพิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มช.
สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตัดสินรางวัล อนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ประจำปี 2565 ให้กับพิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มช.

พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มช. ได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ประจำปี 2565  ประเภทงานอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรมและชุมชน ระดับดี จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2565 สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ดำเนินการประกาศรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ประจำปี 2565 โดยพิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ประจำปี 2565 ประเภทงานอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรมและชุมชน ในระดับดี สำหรับพิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มช. นั้น ดำเนินการอนุรักษ์เรือนโบราณล้านนา ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่ยังคงหลงเหลืออยู่ โดยการย้ายจากที่ตั้งเดิมเพื่อมาอนุรักษ์ไว้ยังที่ตั้งปัจจุบัน ณ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา ภายใต้การดูแล และกำกับของ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยเน้นรูปแบบการอนุรักษ์ การจัดทำแบบสถาปัตยกรรม การซ่อมแซมด้วยเทคนิคฝีมือช่างด้วยวิธีดั้งเดิมโดยผู้เชี่ยวชาญ ภายในอาคารมีการจัดแสดงและสื่อความหมายด้านวิถีชีวิตความเป็นอยู่ รวมไปถึงภูมิปัญญาเชิงช่าง นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้สาธารณชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม และเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม ผ่านรูปแบบ workshop และเรียนรู้ผ่านองค์ความรู้ทั้งในรูปแบบ onsite และรูปแบบ online ทั้งนี้ จะมีพิธีพระราชทานรางวัลดังกล่าว โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ โดยจะแจ้งหมายกำหนดการให้ทราบอีกครั้ง และมีการจัดนิทรรศการรางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ประจำปี 2565 ระหว่างวันที่ 26 เมษายน – 1 พฤษภาคม 2565 ณ  อาคารชาเลนเจอร์ ฮอลล์ อิมแพค เมืองทองธานี กรุงเทพฯ
เผยแพร่เมื่อ 1 พฤษภาคม 2565 • การดู 693 ครั้ง
พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มช. รับรางวัลยอดเยี่ยม Thailand Tourism Gold Awards สาขาแหล่งท่องเทียวเพื่อการเรียนรู้ ในพิธีพระราชทานรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย (Thailand Tourism Awards) ครั้งที่ 13 ประจำปี 2564
พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มช. รับรางวัลยอดเยี่ยม Thailand Tourism Gold Awards สาขาแหล่งท่องเทียวเพื่อการเรียนรู้ ในพิธีพระราชทานรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย (Thailand Tourism Awards) ครั้งที่ 13 ประจำปี 2564

ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีพระราชทานรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย (Thailand Tourism Awards) ครั้งที่ 13 ประจำปี 2564 เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2564 ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีพระราชทานรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย (Thailand Tourism Awards) ครั้งที่ 13 ประจำปี 2564 แก่ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว จำนวน 185 สถานประกอบการ ผ่านการถ่ายทอดในรูปแบบ Virtual Live โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์วิลาวัณย์ เศวตเศรนี ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในนามพิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้ารับพระราชทานรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย (Thailand Tourism Awards) ครั้งที่ 13 ประจำปี 2564 ประเภทแหล่งท่องเที่ยว  (Attraction) รางวัลยอดเยี่ยม Thailand Tourism Gold Awards สาขาแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ (Learning and Doing) ซึ่งรางวัลดังกล่าวถือเป็นความภาคภูมิใจของพิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มช. ที่ได้มุ่งมั่นพัฒนาการให้บริการ ตลอดจนการสร้างมาตรฐานการจัดการการท่องเที่ยวให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ทั้งนี้ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มช. เป็นหนึ่งในสถานประกอบการที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยม Thailand Tourism Gold Awards สาขาแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ จากจำนวนทั้งสิ้น 11 แห่ง  รางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย (Thailand Tourism Awards) เป็นรางวัลที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จัดการประกวดเพื่อมอบรางวัลให้แก่ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว ในการรับรองคุณภาพสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวที่ได้มาตรฐานระดับสากล โดยจัดอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกๆ 2 ปี ในปี 2564 นี้ มีสถานประกอบการสนใจเข้าร่วมสมัครประกวดกว่า 346 แห่ง จาก 3 ประเภทรางวัล ได้แก่ ประเภทแหล่งท่องเที่ยว ประเภทที่พักนักท่องเที่ยว และประเภทการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญ มีความรู้ ประสบการณ์ด้านการท่องเที่ยว ร่วมพิจารณาคัดเลือก และได้นำเสียงสะท้อนจากนักท่องเที่ยวมาประกอบการพิจารณาด้วย
เผยแพร่เมื่อ 19 ตุลาคม 2564 • การดู 1,303 ครั้ง
สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มช. ได้รับการรับรองสำนักงานสีเขียว (Green Office) ประจำปี 2564 ระดับดีเยี่ยม (ทอง) โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มช. ได้รับการรับรองสำนักงานสีเขียว (Green Office) ประจำปี 2564 ระดับดีเยี่ยม (ทอง) โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับการรับรองสำนักงานสีเขียว (Green Office) ประจำปี 2564 ระดับดีเยี่ยม (ทอง) โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม           สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มช. มุ่งมั่นดำเนินการด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีการบริหารจัดการรวมไปถึงการปรับปรุงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในองค์กรอย่างต่อเนื่อง ภายใต้เกณฑ์สำนักงานสีเขียว (Green Office) ควบคู่ไปกับการดำเนินงานที่สอดคล้องตามนโยบายมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตอบสนองต่อแผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระยะที่ 12 ยุทธศาสตร์ที่ 1 เชิงรุก : นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมพลังงาน รวมทั้งการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ที่ 3 ของสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ด้านบริการจัดการที่มุ่งเน้นหลักธรรมาภิบาล ตามแนวทางปรัชาญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อความยั่งยืนและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม         การรับรองสำนักงานสีเขียว (Green Office) ประจำปี 2564 ระดับดีเยี่ยม (ทอง) ของสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  เป็นการรับรองพื้นที่ที่ครอบคลุมการดำเนินการของสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม อันประกอบไปด้วย พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มช. และบริเวณอาคารสำนักงาน สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม รวมพื้นที่โดยรวมประมาณ 9 ไร่ ซึ่งมีพื้นที่สีเขียวมากกว่า 80 % ของพื้นที่ทั้งหมด           ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการจัดการสิ่งแวดล้อมสู่การเป็นสำนักงานสีเขียวของสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม นอกจากการวางระบบการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังเกิดจากความร่วมมือในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคลากรรวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับองค์กร ในความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อม โดยการดำเนินการและบริการของพิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มช. และอาคารสำนักงานสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมที่มุ่งเน้นการดำเนินงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นำไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดผลกระทบด้านการใช้ทรัพยากร พลังงาน และมลพิษของเสีย รวมไปถึงการจัดซื้อจัดจ้างที่แผนการปฏิบัติไปตามกฏหมายและเกณฑ์สำนักงานสีเขียว (Green Office) กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อีกทั้ง ยังมีการปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง เป็นไปตามมาตรฐาน ส่งผลต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ และดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน           สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอร่วมแสดงความยินดีกับสำนักหอสมุด สำนักงานมหาวิทยาลัย อาคาร 2 ที่ได้รับการรับรองสำนักงานสีเขียว (Green Office) ประจำปี 2564 ระดับดีเยี่ยม (ทอง) โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เผยแพร่เมื่อ 28 กันยายน 2564 • การดู 987 ครั้ง
พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับรางวัล Museum Thailand Awards 2021 เป็นปีที่ 2
พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับรางวัล Museum Thailand Awards 2021 เป็นปีที่ 2

พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับรางวัล Museum Thailand Awards 2021 เป็นปีที่ 2 ประเภทพิพิธภัณฑ์ด้านสังคม ศิลปะ เเละวัฒนธรรม รางวัลดีเด่น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านกิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ ด้านการอนุรักษ์และสืบสาน และด้านการดุแลสุขอนามัยและความปลอดภัย เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2564 โดยสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ (สพร.) โดยรางวัลดังกล่าว ได้ดำเนินการคัดเลือกโดยสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) หน่วยงานภายในของสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักนายกรัฐมนตรี โดยดำเนินการคัดเลือกพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ในประเทศไทย เพื่อเข้ารับรางวัลพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ดีเด่นประจำปี หรือ รางวัล “Museum Thailand Awards” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ในประเทศไทยเกิดความตื่นตัวในการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีทั้ง “คุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงการเรียนรู้” และ “มาตรฐานพิพิธภัณฑ์ตามแบบสากล” โดยใช้หลักการของสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ(International Council of Museums : ICOM) มาเป็นแนวทางในความคิดพื้นฐานและกำหนดหลักเกณฑ์ตามบริบทของการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย พร้อมทั้งจัดตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษาและเป็นคณะกรรมการคัดเลือกรางวัลฯ  เพื่อให้ครอบคลุมการพิจารณาภายใต้แนวความคิด “Reimage Relearn Reinvent : เปลี่ยนร่าง เปลี่ยนรู้ เปลี่ยนชีวิต ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19” เพื่อพิจารณาคัดเลือกพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ดีเด่น ประจำปี 2564 หรือ Museum Thailand Awards 2021  ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิลาวัณย์ เศวตเศรนี ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มช. ได้มีการพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงาน การบริหารจัดการ รวมไปถึงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้แห่งนี้ให้มีคุณภาพ ในแต่ละปีของการพัฒนาได้มีการนำแนวความคิดภายใต้หลักการของ ICOM มาผสมผสานกับบริบทของพิพิธภัณฑ์ฯ เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ได้มาตรฐานตามหลักสากล อีกทั้งมีการพัฒนาการให้บริการ การปรับประยุกต์นำเอาองค์ความรู้ต่าง ๆ ภายในพิพิธภัณฑ์ฯ สกัดออกมาเป็นองค์ความรู้ให้ผู้รับบริการได้เรียนรู้และเข้าถึงได้ง่ายมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ทำให้พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มช. ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอการถ่ายทอดองค์ความรู้ภายในพิพิธภัณฑ์ฯ จากแหล่งเรียนรู้ Onsite สู่ Online โดยใช้เทคโนโลยีและสื่อดิจิทัลเข้ามาช่วย อาทิ การจัดทำ CMULHM Virtual Museum การถอดองค์ความรู้การอนุรักษ์เรือนโบราณล้านนา การถอดองค์ความรู้ด้านวิถีชีวิตความเป็นอยู่ สู่ Platform สื่อ Online ของพิพิธภัณฑ์ฯ เป็นต้น นอกจากนี้ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา ยังให้ความสำคัญกับการดูแลผู้เข้าชมโดยเน้นการปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (SHA) และ Safe Travels รวมไปถึงการเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมอีกด้วย “ในนามของพิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอขอบคุณ คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในการพิจารณาตัดสินให้พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มช. ได้รับการคัดเลือกรางวัลดีเด่นในปี 2021 ของ Museum Thailand Awards รางวัลนี้เป็นรางวัลแห่งความภาคภูมิใจของพิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา เป็นการสร้างกำลังใจให้เราได้พัฒนาต่อไป และมากไปกว่านั้น ขอขอบพระคุณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ให้กำลังใจกับพวกเราทุกคนในการสนับสนุนและดำเนินงานต่าง ๆของพิพิธภัณฑ์ฯตลอดมา” สำหรับผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมแหล่งเรียนรู้ รวมไปถึงเข้าร่วมอบรมหลักสูตร และจัดกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม ณ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มช. สามารถติดต่อได้ที่ 053 943625-6 และติดตามข่าวสารของพิพิธภัณฑ์ฯได้ที่ Facebook: https://www.facebook.com/CMULHM   รับชมพิธีมอบรางวัลฯย้อนหลังได้ที่ : https://www.facebook.com/museumthailand/videos/872487580074972/
เผยแพร่เมื่อ 28 กันยายน 2564 • การดู 1,103 ครั้ง
พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มช. ได้รับรางวัลพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ดีเด่น ประจำปี 2563 (Museum Thailand Awards 2020) ประเภทพิพิธภัณฑ์ด้านสังคม ศิลปะ และวัฒนธรรมดีเด่น ด้านการอนุรักษ์และสืบสาน
พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มช. ได้รับรางวัลพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ดีเด่น ประจำปี 2563 (Museum Thailand Awards 2020) ประเภทพิพิธภัณฑ์ด้านสังคม ศิลปะ และวัฒนธรรมดีเด่น ด้านการอนุรักษ์และสืบสาน

พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มช. ได้รับรางวัลพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ดีเด่น ประจำปี 2563 (Museum Thailand Awards 2020) ประเภทพิพิธภัณฑ์ด้านสังคม ศิลปะ และวัฒนธรรมดีเด่น ด้านการอนุรักษ์และสืบสาน เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2563 ณ ซี อาเซียน ออดิทอเรียม (C ASEAN Auditorium) อาคารไซเบอร์เวิลด์ กรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิลาวัณย์ เศวตเศรนี ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้ารับรางวัลพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ดีเด่น ประจำปี 2563 (Museum Thailand Awards 2020) ประเภทพิพิธภัณฑ์ด้านสังคม ศิลปะ และวัฒนธรรมดีเด่น ด้านการอนุรักษ์และสืบสาน ที่จัดขึ้นโดย สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ โดยมีนายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ประธานกรรมการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) เป็นผู้มอบรางวัลดังกล่าว โดยรางวัล Museum Thailand Awards 2020 จัดขึ้นโดยสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 เพื่อเป็นการส่งเสริมและสร้างแรงบันดาลใจให้บุคลากรที่ทำงานด้านพิพิธภัณฑ์ พร้อมทั้งกระตุ้นให้พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ในประเทศไทยเกิดความตื่นตัวในการพัฒนาตัวเองให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีทั้งคุณภาพของการบริการ และมาตรฐานพิพิธภัณฑ์ตามแบบสากล สำหรับพิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มช. ได้จัดแสดงเรือนและอาคารโบราณซึ่งมาจากหลากกลุ่มชนคนไท (ไต) ในล้านนา (แถบลุ่มแม่น้ำปิง) เคลื่อนย้ายจากแหล่งปลูกสร้างเดิมมาจัดแสดงในพื้นที่ของพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง มีความร่มรื่นของต้นไม้เก่าแก่นานาพรรณ โดยเรือนที่นำมาจัดแสดงได้รับการบริจาคจากทายาทเจ้าของเรือนและมอบให้แก่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อการอนุรักษ์และเป็นประโยชน์ทางการศึกษา ทั้งนี้ เรือนแต่ละหลังที่ได้รับมาจะใช้วิธีการชะลอนำมาอนุรักษ์ซ่อมแซมและปลูกสร้างในพื้นที่ของพิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา ซึ่งอยู่ในความดูแลของของสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้คงสภาพโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมเดิมมากที่สุด เรือนแต่ละหลังมีลักษณะเฉพาะและมีความต่างยุคสมัยในช่วงระยะเวลาที่ได้ปลูกสร้าง มีอายุประมาณเกือบและกว่าร้อยปี อันทรงคุณค่าทางมรดกวัฒนธรรม ดังนั้น การจัดแสดงฯ มีความประสงค์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านสถาปัตยกรรมเรือนพื้นถิ่น (แถบลุ่มแม่น้ำปิง) วิถีชีวิตวัฒนธรรมของผู้คนที่เคยอาศัยอยู่ในเรือนเหล่านี้ ผ่านการเข้ามาเยี่ยมชม และศึกษาข้อมูลความรู้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของกลุ่มคนไท (ไต) ในล้านนา มาสัมผัส เรียนรู้ และสร้างประสบการณ์จากการเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งเข้าร่วมอบรมหลักสูตรระยะสั้น (Short course) และอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) สำหรับบริการสาธารณชน ทั้งจากสถาบันการศึกษา นักท่องเที่ยว และชุมชนในทั้งภาครัฐและเอกชนทั้งในประเทศและนานาชาติ นอกจากนี้ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มช. ยังมุ่งเน้นการดำเนินการบูรณาการกับเครือข่ายด้านศิลปวัฒนธรรมและชุมชนท้องถิ่น เพื่อรวบรวมข้อมูลองค์ความรู้ วารสารสิ่งพิมพ์ เพื่อเผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์อีกทางหนึ่งด้วย   โดยพิพิธภัณฑ์มีจุดเด่นในเรื่องเรือนและอาคารโบราณ ซึ่งมาจากหลากกลุ่มชนคนไท (ไต) ในล้านนา (แถบลุ่มแม่น้ำปิง) การอนุรักษ์ สืบสาน ถ่ายทอด และพัฒนาประยุกต์ต่อยอด องค์ความรู้วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ศิลปะ และวัฒนธรรม ผ่านเรือนโบราณล้านนาของพิพิธภัณฑ์ฯ นิทรรศการ การจัดอบรมหลักสูตรระยะสั้น (Short course) และอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ด้านศิลปะและวัฒนธรรม (หัตถศิลป์ ศิลปกรรม ดนตรี อาหารการกิน การอยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่มและการแต่งกาย ฯลฯ)       ผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมแหล่งเรียนรู้ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มช. สามารถติดต่อได้ที่ 053 943625-6
เผยแพร่เมื่อ 17 กันยายน 2563 • การดู 1,033 ครั้ง
AFCP Grant Ceremony: December 18, 2019
AFCP Grant Ceremony: December 18, 2019

โครงการกองทุนเอกอัครราชทูตเพื่อการอนุรักษ์ทางวัฒนธรรม กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา (AFCP) มอบทุนสนับสนุนจำนวน 150,000 ดอลล่าร์สหรัฐฯให้แก่สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่ออนุรักษ์เรือนโบราณล้านนาในเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2562 ณ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มช. นายไมเคิล ฮีธ อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย และนายฌอน โอนีลล์ กงสุลใหญ่สหรัฐฯ เชียงใหม่ เป็นผู้มอบทุนสนับสนุนจำนวน 150,000 ดอลล่าร์สหรัฐฯให้แก่สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่ออนุรักษ์เรือนโบราณล้านนาในเชียงใหม่ โดยมีนายชูชีพ พงษ์ชัย หัวหน้าสำนักงานจังหวัดเชียงใหม่ ผู้แทนผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์ นิเวศน์ นันทจิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์วิลาวัณย์ เศวตเศรนี ผู้อำนวยการโครงการและผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นผู้รับมอบทุนดังกล่าว ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิลาวัณย์ เศวตเศรนี ผู้อำนวยการโครงการและผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มช. กล่าวว่าโครงการการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมล้านนาโบราณในเชียงใหม่ ณ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีระยะการดำเนินโครงการแบ่งเป็น2ช่วงระยะเวลารวมทั้งสิ้น 2ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ2562-2564 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการอนุรักษ์ ซ่อมแซม สำรวจและจัดทำรูปแบบรายการโครงสร้างของสภาพเรือนโบราณ โดยผู้เชี่ยวชาญ โครงสร้างทางสถาปัตยกรรมของเรือนล้านนาเป็นเรือนไม้ที่มีอายุกว่าร้อยปี ของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาและผู้เยี่ยมชมได้เรียนและรู้จักการอนุรักษ์เรือนโบราณล้านนา จากสถานที่จริง และจากพื้นที่ดำเนินการจริง มีการเก็บรวบรวมเป็นฐานข้อมูล ประกอบไปด้วยภูมิปัญญาของช่างกับการซ่อมแซมเรือนโบราณล้านนากับการอนุรักษ์ ผ่านการเผยแพร่ฐานข้อมูลในรูปแบบสื่อดิจิทัล โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ระวิวรรณ โอฬารรัตมณี ที่ปรึกษาด้านสถาปัตยกรรมเรือนพื้นถิ่นล้านนา จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ พร้อมด้วยกลุ่มช่างไม้จากเรือนไม้ล้านนา อาจารย์จากวิทยาลัยศิลปะสื่อและเทคโนโลยี และทีมเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์เรือนฯร่วมเป็นคณะทำงานดำเนินโครงการดังกล่าว
เผยแพร่เมื่อ 20 เมษายน 2563 • การดู 1,201 ครั้ง
ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เฝ้าฯ รับเสด็จสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เฝ้าฯ รับเสด็จสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมวิชาการทางมานุษยวิทยา ครั้งที่ 13 และทรงเปิดห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร และห้องสมุด สุข กาย ใจ โดยมีนายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหารศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร และผู้ช่วยศาสตราจารย์วิลาวัณย์ เศวตเศรนี ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มช. เฝ้าฯ รับเสด็จและทูลเกล้าฯ ถวายพวงมาลัยข้อพระกรในวันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม 2562 ณ ศูนย์มานุษยวิทยา สิรินทร (องค์การมหาชน) เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานครฯ
เผยแพร่เมื่อ 3 มีนาคม 2563 • การดู 1,173 ครั้ง
รับรางวัลเกียรติคุณบุคคลต้นแบบ แม่พิมพ์ดีเด่น สาขาผู้ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทยดีเด่น ประจำปี 2558
รับรางวัลเกียรติคุณบุคคลต้นแบบ แม่พิมพ์ดีเด่น สาขาผู้ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทยดีเด่น ประจำปี 2558

ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิลาวัณย์ เศวตเศรนี ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้ารับรางวัลเกียรติคุณบุคคลต้นแบบ แม่พิมพ์ดีเด่น สาขาผู้ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทยดีเด่น ประจำปี 2558 ภายใต้โครงการเฉลิมพระเกียติองค์ราชัน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ิ พระบรมราชินีนาถ 12 สิงหาคม 2558 83 พรรษา มหาราชินี จัดโดย โครงการเฉลิมพระเกียรติองค์ราชัน รัฐ ราษฎร์ ร่วมใจภักดิ์ รักสามัคคี ถวายความดี เพื่อพ่อหลวง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมอบรางวัลแก่บุคคลที่ทำความดี และเป็นแบบอย่างโดยสร้างแรงบันดาลใจให้คนไทยร่วมกันทำความดี ทั้งนี้ พลเอกพิจิตร กุลละวณิชย์ องคมนตรี เป็นประธานในพิธีฯ ในวันอังคารที่ 25 สิงหาคม 2558 ณ ศูนย์ประชุม สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ
เผยแพร่เมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2563 • การดู 1,195 ครั้ง