สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
และล้านนาสร้างสรรค์
Center for The Promotion of
Art Culture and Creative Lanna
สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์
ไทย-EN
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ประวัติความเป็นมา
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
โครงสร้างองค์กรและการบริหารงาน
สำนักงานสีเขียว (Green Office)
ทำเนียบผู้บริหาร
คณะกรรมการอำนวยการ
คณะกรรมการบริหาร
บุคลากร
ข้อมูลสาธารณะ
หน่วยงาน
ฝ่ายส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
สำนักงานสำนัก
- รายงานประจำปี
- ผลการปฏิบัติงานผู้อำนวยการ
- งานบริหารทั่วไป
- งานบริการและประกันคุณภาพ
ข่าวสารและกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
งานบริการวิชาการชุมชน
ทัศนศึกษา/ศึกษาดูงาน
ข่าวเด่นและความภาคภูมิใจ
ข่าวผู้บริหาร
ข่าวบุคคลเด่น
ข่าวลักษณะงาน/จัดซื้อจัดจ้าง
กิจกรรมสำนัก
รวมข่าวทั้งหมด
คลังความรู้ล้านนา
ภาษาและวรรณกรรม
- ลานคำ
- ถ้อยคำสำนวน
ปรัชญา ศาสนา ความเชื่อฯ
ศิลปหัตถกรรมล้านนา
ดนตรีและนาฏยกรรมล้านนา
ภูมิปัญญาเชิงช่าง
อาหารล้านนา
วิถีชีวิตล้านนา
ชาติพันธุ์ล้านนา
วีดิทัศน์ล้านนา
วารสารร่มพยอม
ดูทั้งหมด
ติดต่อเรา
ติดต่อเรา
ขอใช้พิพิธภัณฑ์
ขอใช้ห้องประชุมสำนัก
แจ้งข้อร้องเรียน/เสนอแนะ
พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา
English Version
รวมข่าวทั้งหมด
ทั้งหมด
2665
รายการ
1
(current)
2
3
>
Last ›
งานมุทิตาจิตและงานเลี้ยงเกษียณอายุราชการ ศาสตราจารย์ปฏิบัติ ดร.เอกชัย มหาเอก
สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยชัยงใหม่ จัดงานมุทิตาจิตและงานเลี้ยงเกษียณอายุราชการ ศาสตราจารย์ปฏิบัติ ดร.เอกชัย มหาเอก รองอธิการบดี รักษาการแทนผู้อำนวยการ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ โดยมีคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย อดีตผู้บริหาร พร้อมด้วยบุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้าร่วมงานดังกล่าว ในวันอังคารที่ 26 กันยายน 2566 ณ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ มช.
เผยแพร่เมื่อ 26 กันยายน 2566 • การดู 152 ครั้ง
ร่วมต้อนรับราชองครักษ์ประจำพระองค์และคณะจากสำนักพระราชวัง ลงพื้นที่การสำรวจที่หมายเตรียมการรับเสด็จฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงนำคณะกรรมการรางวัลมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ไปทัศนศึกษาในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่
ศาสตราจารย์ ดร.นพ.พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ประเสริฐ ฤกษ์เกรียงไกร รองอธิการบดี และศาสตราจารย์ปฏิบัติ ดร. เอกชัย มหาเอก รองอธิการบดี รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนนาสร้างสรรค์ ร่วมให้การต้อนรับ พลโท กษิดิ์เดช วัฒนวรางกูร ราชองครักษ์ในพระองค์และคณะจากสำนักพระราชวัง ลงพื้นที่การสำรวจที่หมายเตรียมการรับเสด็จฯ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงนำคณะกรรมการรางวัลมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ไปทัศนศึกษาในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 23 - 25 ตุลาคม พ.ศ.2566 (เป็นการส่วนพระองค์) โดยมีนายวีรพงศ์ฤทธริ์อด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมให้การต้อนรับ ณ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวันพฤหัสบดีที่ 21 กันยายน 2566
เผยแพร่เมื่อ 21 กันยายน 2566 • การดู 48 ครั้ง
ร่วมแสดงความยินดีมุทิตาจิตกับศาสตราจารย์ปฏิบัติ ดร. เอกชัย มหาเอก
บุคลากรสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ เข้าร่วมแสดงความยินดีมุทิตาจิตกับศาสตราจารย์ปฏิบัติ ดร. เอกชัย มหาเอก รองอธิการบดี รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนนาสร้างสรรค์ เนื่องในโอกาสเกษียณอายุงาน ประจำปี 2566 ในพิธีมุทิตาจิต ข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างประจำ ที่เกษียณอายุงาน ประจำปี 2566 ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จัดขึ้น โดยมีศาสตราจารย์ ดร.นพ.พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธีฯ ในวันที่ 21 กันยายน 2566 ณ ศาลาธรรม มช.
เผยแพร่เมื่อ 21 กันยายน 2566 • การดู 45 ครั้ง
ขอเชิญเข้าร่วมการฝึกอบรมพัฒนาสติและปัญญา ปีที่ 28 ระหว่างวันที่ 15 - 22 ตุลาคม 2566 ณ สถาบันพิโมกข์มุข จังหวัดเชียงใหม่
มช. ขอเชิญเข้าร่วมการฝึกอบรมพัฒนาสติและปัญญา ปีที่ 28 ระหว่างวันที่ 15 - 22 ตุลาคม 2566 ณ สถาบันพิโมกข์มุข จังหวัดเชียงใหม่ โดยสามารถลงทะเบียนผ่านลิงค์ --> https://cmu.to/Hj0f8 หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร 053 943 625 ดาวน์โหลดกำหนดการได้ตามไฟล์ PDF ที่แนบมาด้านล่างนี้
เผยแพร่เมื่อ 19 กันยายน 2566 • การดู 664 ครั้ง
พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มช. ได้รับรางวัล Thailand Tourism Awards ครั้งที่ 14 ประจำปี 2566
พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมเเละล้านนาสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับรางวัล Thailand Tourism Awards ครั้งที่ 14 ประจำปี 2566 ดังนี้ 1. ประเภทแหล่งท่องเที่ยว สาขาเเหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ รางวัลยอดเยี่ยม Thailand Tourism Gold Awards 2. ประเภทการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำเพื่อความยั่งยืน เกียรติบัตรรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย Thailand Tourism Certificate โดยการท่องเที่ยวเเห่งประเทศไทย ประกาศ ณ วันที่ 11 กันยายน 2566 ทั้งนี้จะมีการเข้ารับมอบรางวัลในงานพระราชทานรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ครั้งที่ 14 ประจำปี 2566 โดยมีทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีในวันพุธที่ 27 กันยายน 2566 ณ สามย่านมิตรทาวน์ฮอลล์ ชั้น 5
เผยแพร่เมื่อ 12 กันยายน 2566 • การดู 202 ครั้ง
สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ รับโล่เกียรติยศการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของส่วนงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระดับ A และมีคะแนนสูงสุด
ศาสตราจารย์ปฏิบัติ ดร.เอกชัย มหาเอก รองอธิการบดี รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้ารับมอบโล่เกียรติยศการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของส่วนงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระดับ A (93.01 คะแนน) ซึ่งเป็นส่วนงานที่ได้คะแนนสูงสุด ในงานประกาศรางวัล "CMU-ITA AWARD 2023" ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จัดขึ้นในงาน CMU KM DAY 2023 โดยมีศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลดังกล่าว เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2566 ณ ห้องทองกวาว สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เผยแพร่เมื่อ 8 กันยายน 2566 • การดู 398 ครั้ง
พิธีมอบใบประกาศนียบัตรแก่ผู้เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านสถาปัตยกรรมเรือนพื้นถิ่นล้านนา "เรือนเครื่องผูก"
สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนจังหว้ดเชียงใหม่ ได้ดำเนินงานโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านสถาปัตยกรรมเรือนพื้นถิ่นล้านนา "เรือนเครื่องผูก" ระหว่างวันที่ 2 - 4 กันยายน 2566 ณ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ ทั้งนี้ ได้จัดพิธีมอบประกาศนียบัตรให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 109 คน ในวันที่ 4 กันยายน 2566 โดยนางสาววรรณศรี ปัญญาประชุม ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีมอบรางวัลดังกล่าว
เผยแพร่เมื่อ 8 กันยายน 2566 • การดู 104 ครั้ง
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านสถาปัตยกรรมเรือนพื้นถิ่นล้านนา "เรือนเครื่องผูก"
สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ได้ดำเนินงานโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านสถาปัตยกรรมเรือนพื้นถิ่นล้านนา "เรือนเครื่องผูก" ระหว่างวันที่ 2 – 4 กันยายน 2566 ณ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีการถ่ายทอดความรู้จากวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านเรือนเครื่องผูก และการใช้ไม้ไผ่สร้างสรรค์งานทางสถาปัตยกรรม ประกอบด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์กานต์ คำแก้ว และอาจารย์ภูมิ ทรัพย์ไพบูลย์กิจ นอกจากนี้ ในส่วนของการฝึกปฏิบัติลงมือจริง ยังมีทีมสล่าทนันชัย บุญเทียม และคณะ ที่เป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการสร้างเรือนไม้ไผ่ ซึ่งการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้มี 3 หัวข้อ ประกอบด้วย 1. โครงสร้างของเรือนและการจักตอกเพื่อเป็นวัสดุมัดยึด 2. งานหลังคากับพื้น 3. งานผนังกับส่วนตกแต่ง โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 95 คน ได้แก่ นักศึกษาสาขาด้านสถาปัตยกรรม และนักศึกษาที่สนใจ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยพะเยา และมหาวิทยาลัยศิลปากร หลังจากที่มีการเรียนรู้เทคนิคในงานสถาปัตยกรรมเรือนเครื่องผูกและฝึกปฏิบัติเสร็จสิ้นแล้ว เรือนเครื่องผูกหลังนี้จะถูกจัดแสดงไว้ ณ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อสร้างประโยชน์ทางการศึกษา การเรียนรู้ และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมต่อไป
เผยแพร่เมื่อ 8 กันยายน 2566 • การดู 147 ครั้ง
พิธีเปิดโครงการ “อบรมเชิงปฏิบัติการด้านสถาปัตยกรรมเรือนพื้นถิ่นล้านนา” (เรือนเครื่องผูก)
พิธีเปิดโครงการ “อบรมเชิงปฏิบัติการด้านสถาปัตยกรรมเรือนพื้นถิ่นล้านนา” (เรือนเครื่องผูก) โดยนางวิภาวัลย์ วรพุฒิพงค์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ วันเสาร์ที่ 2 กันยายน 2566 เวลา 09.00 - 09.30 น. ณ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ มช. เปิดโครงการ “อบรมเชิงปฏิบัติการด้านสถาปัตยกรรมเรือนพื้นถิ่นล้านนา” (เรือนเครื่องผูก) โดยนางวิภาวัลย์ วรพุฒิพงค์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ วันเสาร์ที่ 2 กันยายน 2566 เวลา 09.00 - 09.30 น. ณ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ มช.
เผยแพร่เมื่อ 4 กันยายน 2566 • การดู 205 ครั้ง
ขอแสดงความยินดีกับ ศาสตราจารย์ปฏิบัติ ดร. เอกชัย มหาเอก
สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ มช. ขอแสดงความยินดีกับ ศาสตราจารย์ปฏิบัติ ดร. เอกชัย มหาเอก รองอธิการบดี รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักฯ ในโอกาสได้รับแต่งตั้งจากสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในโอกาสดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์ปฏิบัติ ในสาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2566
เผยแพร่เมื่อ 1 กันยายน 2566 • การดู 202 ครั้ง
ร่วมงาน 150 ปี พระราชชายา เจ้าดารารัศมี เจ้าหญิงผู้สร้างสรรค์ แห่งล้านนา
นางสาววนิดา เชื้อคำฟู หัวหน้างานบริหารทั่วไป รักษาการแทนเลขานุการสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ พร้อมด้วยบุคลากรสำนักฯ เป็นผู้แทนในนามของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้าร่วมงาน "150 ปี พระราชชายา เจ้าดารารัศมี เจ้าหญิงผู้สร้างสรรค์แห่งล้านนา" ที่จัดขึ้นโดยมูลนิธินวราชดำริอนุรักษ์ฝ่ายเหนือ โดยมีนายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และประธานมูลนิธิฯ เป็นประธานการเปิดงานดังกล่าว ในวันอาทิตย์ที่ 27 สิงหาคม 2566 ณ ลานหน้าพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา ถนนพระปกเกล้า อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
เผยแพร่เมื่อ 28 สิงหาคม 2566 • การดู 1,882 ครั้ง
ขอแสดงความยินดีกับพ่อครูดิเรก สิทธิการ ผู้ได้รับมอบรางวัลภูมิแผ่นดิน ปิ่นล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำปี 2552 เนื่องในโอกาสที่ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ ประจำปี 2565 (สาขาทัศนศิลป์) จากกระทรวงวัฒนธรรม
ขอแสดงความยินดีกับพ่อครูดิเรก สิทธิการ ผู้ได้รับมอบรางวัลภูมิแผ่นดิน ปิ่นล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำปี 2552 เนื่องในโอกาสที่ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ ประจำปี 2565 สาขาทัศนศิลป์ จากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม
เผยแพร่เมื่อ 24 สิงหาคม 2566 • การดู 237 ครั้ง
พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มช. ให้การต้อนรับคณะกรรมการตรวจประเมินลงพื้นที่ การคัดเลือกรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย The 14th Thailand Tourism Awards 2023
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เอกชัย มหาเอก รองอธิการบดี รักษาการแทน ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมด้วยบุคลากรสำนักฯ ให้การต้อนรับคณะกรรมการตรวจประเมินลงพื้นที่การคัดเลือกรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย The 14th Thailand Tourism Awards 2023 ที่เข้าตรวจประเมินลงพื้นที่ภายในพิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มช. ที่ได้ผ่านการคัดเลือกรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย The 14th Thailand Tourism Awards 2023 รอบ Prescreen (เบื้องต้น) โดยมีคณะกรรมการตรวจประเมินลงพื้นที่จากการท่องเที่ยงแห่งประเทศไทย นำโดยคุณวิวัฒน์ชัย บุญยภักดิ์ ประธานคณะกรรมการฯ และคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและบุคลากรจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เข้าร่วมการตรวจประเมินดังกล่าว ในวันที่ 20 สิงหาคม 2566 ณ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เผยแพร่เมื่อ 21 สิงหาคม 2566 • การดู 2,227 ครั้ง
พิธีมอบวุฒิบัตรและพิธีปิดโครงการบวชเนกขัมมจาริณี เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเจริญพระชนมพรรษา 91 พรรษา (12 สิงหาคม 2566)
ศาสตราจารย์ปฏิบัติ ดร.ชรินทร์ เตชะพันธุ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธีมอบวุฒิบัตรและพิธีปิดโครงการบวชเนกขัมมจาริณี เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเจริญพระชนมพรรษา 91 พรรษา โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ประโยชน์ อุนจะนำ ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน กล่าวขอบคุณ ในวันที่ 14 สิงหาคม 2566 ณ อาคารหอธรรม ศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน
เผยแพร่เมื่อ 14 สิงหาคม 2566 • การดู 250 ครั้ง
โครงการบวชเนกขัมมจาริณี เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเจริญพระชนมพรรษา 91 พรรษา
คณะกรรมการดำเนินงานด้านส่งเสริมศาสนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดโครงการบวชเนกขัมมจาริณี เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเจริญพระชนมพรรษา 91 พรรษา ระหว่างวันที่ 11-14 สิงหาคม 2566 ณ ศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน
เผยแพร่เมื่อ 14 สิงหาคม 2566 • การดู 381 ครั้ง
พิธีเปิดโครงการบวชเนกขัมมจาริณี เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเจริญพระชนมพรรษา 91 พรรษา (12 สิงหาคม 2566)
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยคณะกรรมการดำเนินงานด้านส่งเสริมศาสนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดพิธีเปิดโครงการบวชเนกขัมมจาริณี เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเจริญพระชนมพรรษา 91 พรรษา (12 สิงหาคม 2566) โดยมีศาสตราจารย์ปฏิบัติ ดร.ชรินทร์ เตชะพันธุ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประธานคณะกรรมการดำเนินงานด้านส่งเสริมศาสนาฯ เป็นประธานในพิธีฯ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยณรงค์ เหลืองวิลัย ผู้ช่วยอธิการบดี กล่าวรายงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและบุคลากรจากส่วนงานต่างๆ ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้าร่วมในพิธีฯ พร้อมกันนี้ รองศาสตราจารย์ นพ.อำนาจ อยู่สุข ประธานสหกรณ์ออมทรัพย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้มอบเงินสนับสนุนโครงการ จำนวน 50,000 บาท ในวันที่ 11 สิงหาคม 2566 ณ ศาลาธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เผยแพร่เมื่อ 11 สิงหาคม 2566 • การดู 429 ครั้ง
มช. ชูภูมิปัญญาล้านนาสร้างสรรค์ ร่วมกับ มอ. ชูเอกลักษณ์อาณาจักรลังกาสุกะ เฉิดฉายในเทศกาล Russian Creative Week. Moscow Fest ณ ประเทศรัสเซีย
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในนามคณะกรรมการพันธกิจสากล ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) นำภูมิปัญญาล้านนาสร้างสรรค์ “From Local Wisdom to Global Living” นำเสนอผ่านหัตถกรรมเครื่องไม้เคลือบยางรัก เครื่องปั้นดินเผาบ้านเหมืองกุง และ งาน "ทอแสง" สิ่งทอถักสีเรืองแสง เผยแพร่ความงามของวัฒนธรรมล้านนา และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้นำเสนอมรดกทางวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของอาณาจักรลังกาสุกะด้วยแนวคิด “From Local Wisdom to Global Peace” ผ่านการสร้างสรรค์ลวดลายบนผ้าบาติก บินลัดฟ้า เข้าร่วมเทศกาล "Russian Creative Week. Moscow Fest" ณ พาวิลเลียนประเทศไทย สวนสาธารณะ Gorky Park กรุงมอสโก สหพันธรัฐรัสเซีย ในวันที่ 5 - 9 กรกฎาคม 2566 โดยมีผู้แทนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คือ อาจารย์ ดร.อฬิญญา พงษ์วาท ผู้อำนวยการศูนย์สื่อสารองค์กรและนักศึกษาเก่าสัมพันธ์ และนายพิทักษ์ ทนาบุตร นักจัดการงานทั่วไป สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ เข้าร่วมงานดังกล่าว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในฐานะสมาชิกเครือข่าย ทปอ. เข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการศิลปวัตถุร่วมสมัย และผลิตภัณฑ์ที่สร้างขึ้นบนพื้นฐานทางวัฒนธรรมท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยทั้งสองแห่ง โดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้นำเสนอภูมิปัญญาของอาณาจักรล้านนาด้วยแนวคิด “From Local Wisdom to Global Living” ผ่านหัตถกรรมเครื่องไม้เคลือบด้วยยางรัก เครื่องปั้นดินเผาบ้านเหมืองกุง รวมถึงสิ่งทอถักสีเรืองแสง และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้นำเสนอมรดกทางวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของอาณาจักรลังกาสุกะด้วยแนวคิด “From Local Wisdom to Global Peace” ผ่านการสร้างสรรค์ลวดลายบนผ้าบาติก พร้อมทั้งนำเสนอวิถีชีวิตผ่านแผ่นพับ เช่น เรือกอและ เวาบูลัน หนังตะลุง เครื่องราง กรงนก และเครื่องจักสาน พาวิลเลียนประเทศไทย จัดตั้งโดย Department of Entrepreneurship and Innovative Development of the City of Moscow ร่วมกับ Creative Industries Agency (CIA) สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมอสโก สำนักงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งประเทศไทย (CEA) และหน่วยงานระหว่างประเทศ (JMCC) ได้จัดแสดงผลงานที่แสดงถึงทิศทางการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของประเทศไทย ได้แก่ สิ่งทอ แฟชั่น เครื่องประดับ หัตถกรรม เซรามิก การศึกษา ภาพยนตร์ และวิดีโอเกม รวมถึงงานฝีมือที่แสดงถึงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาดั้งเดิมประยุกต์เข้ากับศิลปะร่วมสมัย . นายศศิวัฒน์ ว่องสินสวัสดิ์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงมอสโก กล่าวว่า “รัสเซียและไทยมีความสัมพันธ์อันดีมายาวนาน ทั้งสองประเทศมีความเคารพและความเข้าใจเป็นหนึ่งเดียวกัน พาวิลเลียนประเทศไทยในงานนี้ เป็นอีกก้าวสำคัญของการพัฒนาความสัมพันธ์ไทย-รัสเซียในด้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สะท้อนศักยภาพและความร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศ รัสเซียเป็นพันธมิตรที่เชื่อถือได้ในการขับเคลื่อนเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของประชาชน ผมมั่นใจว่าผู้เข้าชมพาวิเลียนประเทศไทยจะเพลิดเพลินและประทับใจในความพยายามของนักสร้างสรรค์ชาวไทยที่ผสมผสานศิลปะและงานฝีมือแบบดั้งเดิมเข้ากับยุคสมัยใหม่ นำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์อย่างเป็นรูปธรรม”
เผยแพร่เมื่อ 5 สิงหาคม 2566 • การดู 244 ครั้ง
1
(current)
2
3
>
Last ›
ข่าวสารและกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
งานบริการวิชาการชุมชน
ข่าวเด่นและความภาคภูมิใจ
ข่าวผู้บริหาร
ข่าวบุคคลเด่น
ข่าวลักษณะงาน/จัดซื้อจัดจ้าง
กิจกรรมสำนัก
รวมข่าวทั้งหมด