ดอกสัก

บริการวิชาการชุมชน


ทั้งหมด 47 รายการ
 
 
พิธีมอบใบประกาศนียบัตรแก่ผู้เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านสถาปัตยกรรมเรือนพื้นถิ่นล้านนา
พิธีมอบใบประกาศนียบัตรแก่ผู้เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านสถาปัตยกรรมเรือนพื้นถิ่นล้านนา "เรือนเครื่องผูก"

สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนจังหว้ดเชียงใหม่ ได้ดำเนินงานโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านสถาปัตยกรรมเรือนพื้นถิ่นล้านนา "เรือนเครื่องผูก" ระหว่างวันที่ 2 - 4 กันยายน 2566 ณ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ ทั้งนี้ ได้จัดพิธีมอบประกาศนียบัตรให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 109 คน ในวันที่ 4 กันยายน 2566 โดยนางสาววรรณศรี ปัญญาประชุม ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีมอบรางวัลดังกล่าว
เผยแพร่เมื่อ 8 กันยายน 2566 • การดู 129 ครั้ง
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านสถาปัตยกรรมเรือนพื้นถิ่นล้านนา
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านสถาปัตยกรรมเรือนพื้นถิ่นล้านนา "เรือนเครื่องผูก"

สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ได้ดำเนินงานโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านสถาปัตยกรรมเรือนพื้นถิ่นล้านนา "เรือนเครื่องผูก" ระหว่างวันที่ 2 – 4 กันยายน 2566 ณ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีการถ่ายทอดความรู้จากวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านเรือนเครื่องผูก และการใช้ไม้ไผ่สร้างสรรค์งานทางสถาปัตยกรรม ประกอบด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์กานต์ คำแก้ว และอาจารย์ภูมิ ทรัพย์ไพบูลย์กิจ นอกจากนี้ ในส่วนของการฝึกปฏิบัติลงมือจริง ยังมีทีมสล่าทนันชัย บุญเทียม และคณะ ที่เป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการสร้างเรือนไม้ไผ่ ซึ่งการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้มี 3 หัวข้อ ประกอบด้วย 1. โครงสร้างของเรือนและการจักตอกเพื่อเป็นวัสดุมัดยึด 2. งานหลังคากับพื้น 3. งานผนังกับส่วนตกแต่ง โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 95 คน ได้แก่ นักศึกษาสาขาด้านสถาปัตยกรรม และนักศึกษาที่สนใจ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยพะเยา และมหาวิทยาลัยศิลปากร หลังจากที่มีการเรียนรู้เทคนิคในงานสถาปัตยกรรมเรือนเครื่องผูกและฝึกปฏิบัติเสร็จสิ้นแล้ว  เรือนเครื่องผูกหลังนี้จะถูกจัดแสดงไว้ ณ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อสร้างประโยชน์ทางการศึกษา การเรียนรู้ และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมต่อไป
เผยแพร่เมื่อ 8 กันยายน 2566 • การดู 160 ครั้ง
ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ให้การสัมภาษณ์ในโครงการ CHARMS
ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ให้การสัมภาษณ์ในโครงการ CHARMS

ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิลาวัณย์ เศวตเศรนี ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ให้การต้อนรับและให้การสัมภาษณ์ในเรื่องมุมมองและบทบาทของพิพิธภัณฑ์เรือนโบราณในการสืบสานแนวทางการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นล้านนา แก่คณะผู้ทำวิจัยในโครงการ Carrying heritage buildings as part of urban regions into a modern and energy-efficient society (CHARMS ) จากประเทศเยอรมัน โดยมีสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้ดำเนินโครงการหลักในประเทศไทย โดยการสัมภาษณ์ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อนำข้อมูลไปพัฒนากลยุทธ์ในการสร้าง Thermal Comfort (ภาวะน่าสบาย) ของอาคารไม้โบราณฝนเขตตัวเมือง จ.เชียงใหม่ โดยผ่านกระบวนการวางแผนและประยุกต์ใช้ความรู้ท้องถิ่นและแนวคิดความยั่งยืนในการดูแลรักษาบ้านไม้ เพื่อเป็นข้อมูลให้กับคณะผู้วิจัยต่อไป ในวันที่ 29 เมษายน 2565 ณ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เผยแพร่เมื่อ 20 พฤษภาคม 2565 • การดู 908 ครั้ง
โครงการส่งเสริมอาชีพให้กับประชาชนตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ (การสอนปักผ้าบนริบบิ้นให้แก่กลุ่มแม่บ้านตำบลลวงเหนือ)
โครงการส่งเสริมอาชีพให้กับประชาชนตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ (การสอนปักผ้าบนริบบิ้นให้แก่กลุ่มแม่บ้านตำบลลวงเหนือ)

สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดทำโครงการส่งเสริมอาชีพให้กับประชาชนตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โดย นางสาวฐาปนีย์ เครือระยา ตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เป็นวิทยากรให้ความรู้ เรื่อง "การปักผ้าบนริบบิ้น" ให้แก่กลุ่มแม่บ้านตำบลลวงเหนือ ในวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 ผ่านระบบ Zoom Meeting เพื่อให้สมาชิกในชุมชนสามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพและพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ในอนาคตต่อไป
เผยแพร่เมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2565 • การดู 993 ครั้ง
บุคลากรสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ลงพื้นที่เพื่อจัดเก็บข้อมูลในพื้นที่จังหวัดลำพูน และปรึกษาหารือกับเทศบาลตำบลบ้านธิ จังหวัดลำพูน เพื่อหาแนวทางในการบูรณาการความร่วมมือในการจัดนิทรรศการวิถีชีวิตของไทลื้อในอาคารพิพิธภัณฑ์ฯ
บุคลากรสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ลงพื้นที่เพื่อจัดเก็บข้อมูลในพื้นที่จังหวัดลำพูน และปรึกษาหารือกับเทศบาลตำบลบ้านธิ จังหวัดลำพูน เพื่อหาแนวทางในการบูรณาการความร่วมมือในการจัดนิทรรศการวิถีชีวิตของไทลื้อในอาคารพิพิธภัณฑ์ฯ

ผู้บริหารและบุคลากรในฝ่ายส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ลงพื้นที่เพื่อจัดเก็บข้อมูลในจังหวัดลำพูน พร้อมทั้งร่วมประชุมปรึกษาหารือกับเจ้าหน้าที่กองการศึกษาและกองสวัสดิการสังคม เทศบาลตำบลบ้านธิ จังหวัดลำพูน ในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2563 เพื่อหาแนวทางในการบูรณาการความร่วมมือด้านการจัดนิทรรศการวิถีชีวิตของไทลื้อในอาคารพิพิธภัณฑ์ที่สร้างจำลองมาจากเรือนไทลื้อ (หม่อนตุด) พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มช. และด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชน ทั้งนี้ ได้พบปะกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ผลิตข้าวแคบและน้ำถุ้ง ซึ่งเป็นสินค้าหลักที่สำคัญของชาวไทลื้อบ้านธิ จังหวัดลำพูน เพื่อวางแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกับชุมชนในอนาคต
เผยแพร่เมื่อ 23 พฤศจิกายน 2563 • การดู 1,062 ครั้ง
การอบรมหลักสูตรระยะสั้นการวาดภาพสีน้ำภูมิทัศน์และเรือนโบราณล้านนา (การวาดภาพสถาปัตยกรรมเรือน)
การอบรมหลักสูตรระยะสั้นการวาดภาพสีน้ำภูมิทัศน์และเรือนโบราณล้านนา (การวาดภาพสถาปัตยกรรมเรือน)

  สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มช. จัดอบรมหลักสูตรระยะสั้นการวาดภาพสีน้ำภูมิทัศน์และเรือนโบราณล้านนา (การวาดภาพสถาปัตยกรรมเรือน) โดยมีอาจารย์ธนกร ไชยจินดา เป็นวิทยากรถ่ายทอดหลักการ เทคนิค การวางองค์ประกอบภาพของการวาดภาพสถาปัตยกรรมเรือนโดยใช้สีน้ำให้กับผู้เข้าร่วมอบรมในโครงการดังกล่าว เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดด้านงานอดิเรก การเรียนการสอน และประยุกต์ใช้ด้านอาชีพต่อไป ณ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มช. ในวันที่ 28 สิงหาคม 2563    
เผยแพร่เมื่อ 29 สิงหาคม 2563 • การดู 1,339 ครั้ง
การอบรมหลักสูตรระยะสั้นการวาดภาพสีน้ำภูมิทัศน์และเรือนโบราณล้านนา (การวาดภาพต้นไม้) 
การอบรมหลักสูตรระยะสั้นการวาดภาพสีน้ำภูมิทัศน์และเรือนโบราณล้านนา (การวาดภาพต้นไม้) 

สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มช. จัดอบรมหลักสูตรระยะสั้นการวาดภาพสีน้ำภูมิทัศน์และเรือนโบราณล้านนา (การวาดภาพต้นไม้) โดยมีอาจารย์ธนกร ไชยจินดา เป็นวิทยากรถ่ายทอดหลักการ เทคนิค การวาดภาพต้นไม้โดยใช้สีน้ำให้กับผู้เข้าร่วมอบรมในโครงการดังกล่าว เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดด้านงานอดิเรก การเรียนการสอน และประยุกต์ใช้ด้านอาชีพต่อไป ณ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มช. ในวันที่ 27 สิงหาคม 2563
เผยแพร่เมื่อ 27 สิงหาคม 2563 • การดู 1,792 ครั้ง
อบรมหลักสูตรระยะสั้นการทำเทียนในพิธีกรรม (ทำต้นผึ้งเเละต้นเทียน) วันที่ 30 กรกฎาคม 2563
อบรมหลักสูตรระยะสั้นการทำเทียนในพิธีกรรม (ทำต้นผึ้งเเละต้นเทียน) วันที่ 30 กรกฎาคม 2563

สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มช. จัดอบรมหลักสูตรระยะสั้นการทำเทียนในพิธีกรรม (ทำต้นผึ้งเเละต้นเทียน) โดยมีวิทยากรคือ ครูนพดล คำมูล เป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ ความเป็นมาของการทำต้นผึ้งต้นเทียน ขั้นตอนการทำ รวมไปถึงการนำไปใช้งานในพิธีกรรม โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมหลักสูตรดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดทางด้านศิลปวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้อง ในวันที่ 30 กรกฎาคม 2563 ณ เฮือนอนุสารสนทรกิจ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มช.
เผยแพร่เมื่อ 30 กรกฎาคม 2563 • การดู 1,705 ครั้ง
กิจกรรมบูรณาการความร่วมมือด้านศิลปวัฒนธรรมสำหรับนักศึกษาจาก Momoyama Kakuin University ประเทศญี่ปุ่น
กิจกรรมบูรณาการความร่วมมือด้านศิลปวัฒนธรรมสำหรับนักศึกษาจาก Momoyama Kakuin University ประเทศญี่ปุ่น

สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดกิจกรรมบูรณาการความร่วมมือด้านศิลปวัฒนธรรม ร่วมกับ ศูนย์บริการวิชาการมนุษยศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้โครงการอบรมภาษาอังกฤษและทัศนศึกษา สำหรับนักศึกษาจาก Momoyama Kakuin University ประเทศญี่ปุ่น โดยมีการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ "การทำขนมและอาหารล้านนา" และ "การวาดภาพบนพัด" ให้แก่นักศึกษาในโครงการดังกล่าว เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ และสามารถนำไปต่อยอดในการศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรมต่อไปได้ ทั้งนี้ โดยฝึกอบรม ณ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวันที่ 9 มีนาคม 2563
เผยแพร่เมื่อ 9 มีนาคม 2563 • การดู 1,589 ครั้ง
อบรมหลักสูตรระยะสั้นอาหารล้านนา (ประเภทแกง)
อบรมหลักสูตรระยะสั้นอาหารล้านนา (ประเภทแกง)

สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้นอาหารล้านนา (ประเภทแกง) ในวันที่ 30 มกราคม - 1 กุมภาพันธ์ 2563 ณ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มช. โดยมีครูสุพันธ์ ฉิมดี เป็นวิทยากรอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับวิธีทำอาหารและเทคนิคในการทำอาหารล้านนา (ประเภทแกง) อาทิ แกงแคจิ๊นหมู แกงสะแล และแกงผักกาดใส่จิ๊นไก่ ให้แก่ผู้เข้าร่วมอบรม และนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์หรือพัฒนาต่อยอดต่อไป
เผยแพร่เมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2563 • การดู 1,651 ครั้ง
อบรมการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “มานุษยวิทยากับล้านนาคดีศึกษา” ระยะที่ 2
อบรมการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “มานุษยวิทยากับล้านนาคดีศึกษา” ระยะที่ 2

ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิลาวัณย์ เศวตเศรนี ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดโครงการฝึกอบรมการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “มานุษยวิทยากับล้านนาคดีศึกษา” ระยะที่ 2 ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม - 1 กันยายน 2562 โดยความร่วมมือระหว่างภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ หัวหน้ากลุ่มงานวิจัยและพัฒนาศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เป็นผู้กล่าวปาฐกถา เรื่อง มานุษยวิทยาทัศนา การศึกษาวัฒนธรรมยุคดิจิทัล" พร้อมด้วยคณะวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้นำเสนอโครงการ บรรยาย และนำเสนอข้อมูลโครงการด้านมานุษยวิทยาภายใต้โครงการดังกล่าว ในวันที่ 31 สิงหาคม 2562 ณ ห้องประชุม สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เผยแพร่เมื่อ 31 สิงหาคม 2562 • การดู 1,668 ครั้ง