สื่อประชาสัมพันธ์

5 มิถุนายน วันสิ่งแวดล้อมโลก
5 มิถุนายน วันสิ่งแวดล้อมโลก
• วันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปี วันสิ่งแวดล้อมโลก โครงการสำนักงานสีเขียว สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ร่วมรณรงค์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ในวันสิ่งแวดล้อมโลก จากการตื่นตัวในวิกฤติการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมของโลก อันประกอบด้วยวิกฤตการณ์ด้านต่างๆ เช่น การขาดแคลนอาหาร วิกฤตการณ์ด้านพลังงาน อัตราการเพิ่มของประชากรที่สูงมาก รวมทั้ง ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ซึ่งเป็นผลกระทบกับคนทั่วโลก องค์การสหประชาชาติจึงได้จัดประชุม ที่เรียกว่า “การประชุมสหประชาชาติเรื่องสิ่งแวดล้อมของมนุษย์” (UN Conference on the Human Environment) ที่กรุงสต๊อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ระหว่างวันที่ 5-16 มิถุนายน 2515 โดยใช้เวลา เตรียมการประชุมครั้งนี้ถึง 3 ปี เพื่อจัดทําร่างข้อเสนอต่างๆ รวมทั้งแผนการดําเนินการและปฏิญญา ว่าด้วยสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ ในการประชุมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประชุมถึง 1,200 คน จาก 113 ประเทศ นอกจากนั้นยังมีผู้สังเกตการณ์กว่า 1,500 คน จากหน่วยงานรัฐ องค์กรเอกชน สื่อมวลชนแขนงต่างๆ พร้อมทั้งตัวแทนเยาวชนและกลุ่มนักศึกษาจากทั่วโลก ซึ่งผลการประชุมนับว่าประสบผลสําเร็จ อย่างงดงาม เพราะเป็นครั้งแรกที่ประเทศต่างๆทั่วโลกได้หันหน้าเข้าหากันเพื่อร่วมขจัดภัยอันตราย ด้านสิ่งแวดล้อม โดยองค์การสหประชาชาติได้จัดตั้งโครงการสิ่งแวดล้อมสหประชาชาติ (UNEP : United Nation Environment Programme) ขึ้น ซึ่งรัฐบาลประเทศต่างๆก็ได้รับรอง ข้อตกลงจากการประชุมคราวนั้นและจัดตั้งหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในประเทศของตน เพื่อเป็นการระลึกถึงจุดเริ่มต้นของการร่วมมือระหว่างชาติทั่วโลกในด้านสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2515 อันเป็นวันเริ่มการประชุมครั้งยิ่งใหญ่นี้องค์การสหประชาชาติจึงได้รับประกาศให้ วันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปีเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก (World Environment Day) พร้อมจัดให้มีคําขวัญ และหัวข้อเพื่อการรณรงค์แต่ละปีต่าง ๆ กัน วัตถุประสงค์ 1. เพื่อกระตุ้นให้ภาคประชาชน และหน่วยงานของรัฐ ได้ตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดจาก ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ และเพื่อป้องกันภัยดังกล่าว 2. เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 3. เพื่อรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี ให้คงอยู่ตลอดไป ที่มา : ศูนย์สารสนเทศสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม   
31 พฤษภาคม วันงดสูบบุหรี่โลก
31 พฤษภาคม วันงดสูบบุหรี่โลก
• 31 พฤษภาคม วันงดสูบบุหรี่โลก  โครงการสำนักงานสีเขียว สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ร่วมรณรงค์งดสูบบุหรี่เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ในควันบุหรี่มีสารนิโคติน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง เป็นหนึ่งในโรคร้ายคร่าชีวิตให้ถึงแก่ความตายได้ และกลายเป็นปัญหาหลักๆ ในการสูญเสียประชากรของสังคม นอกจากโรคมะเร็งก็ยังมีโรคร้ายอื่นๆ ที่เกิดจากควันบุหรี่ได้เช่นกัน ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง อีกทั้งยังเพิ่มความถี่ความรุนแรงให้กับอาการหอบหืด และภาวะการตายฉับพลันในทารกแรกเกิด เป็นต้น นอกจากจะทำลายสุขภาพแล้ว ยังทำลายสิ่งแวดล้อมอีกด้วย โดยองค์กรอนามัยโลก ระบุว่า 2 ใน 3 ของก้นบุหรี่ มักถูกทิ้งลงบนพื้นอย่างไร้ความรับผิดชอบ เมื่อทำความสะอาดถนน หรือท่อระบายน้ำ ไหลออกไปทางท่อระบายน้ำไปสู่ลำธาร แม่น้ำ และมหาสมุทร ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลขององค์กร Truth Initiative ที่เปิดเผยว่า ในแต่ละปีทั่วโลกผลิตบุหรี่ราว 5.5 ล้านล้านมวน ซึ่งกลายเป็นขยะมหาศาลจะไปกระจุกและอุดตันตามท่อระบายน้ำ และองค์กร Ocean Conservancy ที่ระบุว่า โครงการทำความสะอาดชายหาดและทะเลที่ผ่านมา สามารถเก็บรวบรวมขยะที่เป็นก้นบุหรี่ได้แล้วกว่า 60 ล้านชิ้น โดยคิดเป็นกว่า 1 ใน 3 ของขยะที่เก็บได้ในทะเลทั้งหมด นอกจากนี้ ควันบุหรี่ยังเป็นสารตกค้างที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม เมื่อเกิดการทำปฏิกิริยากับอากาศและผู้อยู่อาศัยสูดดมเข้าไป ก็ทำให้อันตรายต่อร่างกายได้เช่นกัน   ขอบคุณข้อมูล : /www.rama.mahidol.ac.th และ www.okmd.or.th
ขอเชิญร่วมการประชุมชี้แจงโครงการ G-Green ระบบออนไลน์
ขอเชิญร่วมการประชุมชี้แจงโครงการ G-Green ระบบออนไลน์
• กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ขอเชิญผู้แทนหน่วยงาน สถานประกอบการโรงแรม ร้านอาหาร นักพัฒนาผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้ และสำนักงาน ที่สนใจขอการรับรองมาตรฐานความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภายใต้ตราสัญลักษณ์ G-Green กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมรับฟังประชุมชี้แจงแนวทางการรับรองและสอบถาม  ผ่านระบบ Zoom Cloud Meeting ในวันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 09.30 - 15.00 น. ผู้สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมได้ที่ https://cmu.to/yvQpS มีข้อสงสัยและต้องการข้อมูลเพิ่มเติม  ติดต่อ คุณเปรมใจ สังสว่าง เจ้าหน้าที่ประสานงาน หมายเลขโทรศัพท์ 09-2539 4563
สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ มช. ได้รับการรับรองสำนักงานสีเขียว (Green Office) ประจำปี 2564 ระดับดีเยี่ยม (ทอง) โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ มช. ได้รับการรับรองสำนักงานสีเขียว (Green Office) ประจำปี 2564 ระดับดีเยี่ยม (ทอง) โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
• สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มช. ได้รับการรับรองมาตรฐานสำนักงานสีเขียว (Green Office) ประจำปี 2564 ระดับดีเยี่ยม (ทอง) โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม           สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มช. มุ่งมั่นดำเนินการด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีการบริหารจัดการรวมไปถึงการปรับปรุงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในองค์กรอย่างต่อเนื่อง ภายใต้เกณฑ์สำนักงานสีเขียว (Green Office) ควบคู่ไปกับการดำเนินงานที่สอดคล้องตามนโยบายมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตอบสนองต่อแผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระยะที่ 12 ยุทธศาสตร์ที่ 1 เชิงรุก : นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมพลังงาน รวมทั้งการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ที่ 3 ของสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ด้านบริการจัดการที่มุ่งเน้นหลักธรรมาภิบาล ตามแนวทางปรัชาญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อความยั่งยืนและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม         การรับรองมาตรฐานสำนักงานสีเขียว (Green Office) ประจำปี 2564 ระดับดีเยี่ยม (ทอง) ของสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นการรับรองพื้นที่ที่ครอบคลุมการดำเนินการของสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ประกอบด้วย พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มช. และบริเวณอาคารสำนักงาน สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม บนพื้นที่ประมาณ 9 ไร่ ซึ่งมีพื้นที่สีเขียวมากกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมด           ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการจัดการสิ่งแวดล้อมสู่การเป็นสำนักงานสีเขียวของสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม นอกจากการวางระบบการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังเกิดจากความร่วมมือในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคลากรรวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับองค์กร ในความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อม โดยการดำเนินการและบริการของพิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มช. และอาคารสำนักงานสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมที่มุ่งเน้นการดำเนินงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นำไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดผลกระทบด้านการใช้ทรัพยากร พลังงาน และมลพิษของเสีย รวมไปถึงการจัดซื้อและจัดจ้างที่แผนการปฏิบัติไปตามกฏหมายและเกณฑ์สำนักงานสีเขียว (Green Office) อีกทั้ง ยังมีการปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง เป็นไปตามมาตรฐาน ส่งผลต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ และดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน นับได้ว่าการรับรองมาตรฐานสำนักงานสีเขียว (Green Office) ในระดับดีเยี่ยม (ทอง) ประจำปี 2564 นี้ เป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจของสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งจะเป็นกำลังใจให้ผู้บริหารและบุคลากรของสำนักฯ มุ่งมั่นดำเนินงานภายใต้นโยบายสำนักงานสีเขียว และร่วมกันผลักดันให้การดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมภายในองค์กรประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม ตอบสนองต่อการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
4 ธันวาคม วันสิ่งแวดล้อมไทย
4 ธันวาคม วันสิ่งแวดล้อมไทย
• 4 ธันวาคม วันสิ่งแวดล้อมไทย ย้อนกลับไป เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ปี พ.ศ. 2532 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชดํารัส พระราชทานแก่คณะบุคคลต่าง ๆ ที่เข้าเฝ้าถวายพระพร เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย พระตําหนักจิตรลดารโหฐาน โดยมีใจความเกี่ยวกับ “สถานการณ์สิ่งแวดล้อมของประเทศไทย และของโลกที่มีความรุนแรงขึ้น และทรงห่วงใยต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ประชาชนชาวไทยกําลังประสบอยู่ พร้อมทั้งตรัสเตือนพสกนิกรให้ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง ด้วยความสุขุมรอบคอบ โดยให้ถือเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องปฏิบัติ มิใช้เพียงเพื่อประเทศไทย เท่านั้น หากเพื่อความอยู่รอดปลอดภัยของโลกด้วย” คณะรัฐมนตรีในช่วงเวลานั้น จึงได้มีมติ ประกาศให้วันที่ 4 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสิ่งแวดล้อมไทย   ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
16 กันยายน วันโอโซนโลก (World Ozone Day)
16 กันยายน วันโอโซนโลก (World Ozone Day)
•  วันที่ 16 กันยายน ของทุกปี วันโอโซนโลก    องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้วันที่ 16 กันยายน ของทุกปี เป็นวันโอโซน เริ่มตั้งแต่ ปี 2530 เป็นการพิทักษ์บรรยากาศชั้นโอโซนนานาประเทศ ได้ร่วมกันจัดทําอนุสัญญาการป้องกันชั้น บรรยากาศโอโซน ขึ้นในปี ค.ศ. 1985 (พ.ศ.2528) เรียกว่า “อนุสัญญาเวียนนาและพิธีสารว่าด้วย การเลิกใช้สารทําลายชั้นโอโซน” ขึ้นในปี ค.ศ.1987 (พ.ศ.2530) เรียกว่า “พิธีสารมอลทรีออล” สาระสําคัญของอนุสัญญาเวียนนา นับว่าเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่มุ่งมั่นในการพิทักษ์ ชั้นโอโซน และเป็นเครื่องมือทางกฎหมายข้อแรกที่กลายเป็นรูปแบบของการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ร่วมกัน ปัจจุบันมีประเทศที่ร่วมให้สัตยาบันแล้วรวม 131 ประเทศ นั่นหมายถึง ชุมชนโลกส่วนใหญ่ ได้พร้อมใจกันที่จะพิทักษ์ ชั้นโอโซนแล้ว พิธีสารมอลทรีออล เป็นส่วนหนึ่งของอนุสัญญาเวียนนาฯ ประเทศไทยได้ร่วมลงนามในพิธีสารนี้ เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2531 และให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2532มีผลบังคับใช้ต่อประเทศไทยเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2532 ผลของพิธีสารในขั้นต้น สารเคมีที่ถูก ควบคุม คือ สาร CFC (Chlorofluorcarbon) รวม 5 ชนิดและสารฮาลอน (Halon) 3 ชนิด รวมสาร ควบคุมทั้งสิ้น 8 ชนิด ซึ่งสารเหล่านี้มีการใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น สารทําความเย็นใน ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศใช้เป็นก๊าซสําหรับเป้าโฟมและเป็นฉนวนในโฟม รวมทั้งใช้เป็นตัวทําละลาย ในการทําความสะอาด ล้างคราบไขมันสิ่งสกปรกในชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ หรือแม้แต่สารที่อยู่ใน กระป๋องสเปรย์ ส่วนสารฮาลอนใช้เป็นสารดับเพลิงในอุปกรณ์ป้องกันและระงับอัคคีภัย ขอบคุณที่มาจาก : https://www.onep.go.th  
แนวทางปฏิบัติในกรณีเกิดเหตุไฟไหม้
แนวทางปฏิบัติในกรณีเกิดเหตุไฟไหม้
• เมื่อเหตุ "ไฟไหม้" อยู่ใกล้ตัวมากกว่าที่คิด! ควรเรียนรู้วิธีการรับมือเมื่อเกิดเหตุ "ไฟไหม้" ขึ้นว่าคุณต้องทำอย่างไรบ้าง? ก่อนอื่นต้องบอกว่าหากเหตุผิดปกติใดๆ ขึ้นมา คนเราจะมีสัญชาตญาณการเอาตัวรอดอยู่แล้ว เมื่อเกิดเหตุการณ์ "ไฟไหม้" ฉับพลันขึ้นสิ่งแรกที่คนเราจะทำคือ ช่วยเหลือตัวเองให้รอดปลอดภัยและออกจากสถานที่เสี่ยงภัยให้เร็วที่สุด ซึ่งบางคนก็อาาจะยังไม่รู้วิธีการที่ถูกต้อง ทางกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จึงได้แนะนำวิธีปฏิบัติตนและอพยพออกจากอาคารที่เกิดเพลิงไหม้อย่างปลอดภัย เอาไว้ดังนี้ 1.ตั้งสติให้ดี  อย่างแรกคือต้องตั้งสติก่อน ไม่ตื่นตระหนก และประเมินสถานการณ์ในเบื้องต้นว่าเหตุไฟไหม้ที่เกิดขึ้นนั้นมีความรุนแรงแค่ไหน และอยู่ใกล้ตัวมากแค่ไหน หากเหตุไฟไหม้นั้นเกิดขึ้นในบ้านเรือนของตน ให้ไปต่อที่ข้อ 3 ทันที 2.กดสัญญาณเตือนภัย หากเป็นเหตุไฟไหม้ที่อยู่ในสำนักงานหรือออฟฟิศที่ทำงาน ส่วนใหญ่มักจะติดตั้งปุ่มกดเตือนภัยเอาไว้ หากพบว่ามีประกายไฟหรือเกิดควันที่ทำให้แน่ใจว่าเกิดไฟไหม้ขนาดใหญ่แน่ๆ ควรตะโกนบอกทุกคนที่อยู่ในพื้นที่นั้นให้ทราบทั่วกัน แล้วให้รีบกดสัญญาณเตือนภัยทันที 3. โทรศัพท์แจ้ง 199 ในกรณีที่เกิดเหตุ “ไฟไหม้” ระดับรุนแรง และกินพื้นที่เป็นวงกว้าง ไม่ว่าจะเป็นไฟไหม้ในบ้านเรือน ในชุมชน หรือในสำนักงาน หลังจากกดสัญญาณเตือนเพลิงไหม้แล้ว ให้เตรียมพร้อมอพยพออกจากพื้นที่เกิดเพลิงไหม้ และรีบโทรแจ้งเจ้าหน้าที่ดับเพลิงที่เบอร์ 199 ทันที 4. ใช้ถังดับเพลิง ในกรณีที่เกิดเหตุ “ไฟไหม้” เพียงเล็กน้อย ให้ใช้ถังดับเพลิงควบคุมเพลิงในเบื้องต้นก่อน แล้วจึงค่อยโทรศัพท์แจ้งเจ้าหน้าที่ให้มาควบคุมเพลิงในบางส่วนที่อาจหลงเหลืออยู่ 5. ใช้ผ้าชุบน้ำปิดปากและจมูกเมื่อพบควันให้หมอบคลานต่ำ ขั้นตอนนี้เป็นการเริ่มอพยพออกจากพื้นที่ที่เกิดเพลิงไหม้ เริ่มจากใช้ผ้าชุบน้ำปิดจมูกและปาก หรือใช้ถุงพลาสติกใสขนาดใหญ่อัดอากาศบริสุทธิ์แล้วนำมาครอบศีรษะ เพื่อป้องกันการสูดดมควันไฟเข้าสู่ร่างกายที่อาจจะทำให้หมดสติและเสียชีวิต 6. อย่าเปิดประตูทันที หากเกิดไฟไหม้ข้างนอกและติดอยู่ในห้อง ก่อนออกจากห้องให้ใช้มือสัมผัสผนังหรือลูกบิดประตู หากไม่ร้อนให้เปิดประตูออกไปช้าๆ และอพยพตามเส้นทางหนีไฟที่ปลอดภัย แต่หากสัมผัสผนังหรือลูกบิด พบว่า มีความร้อนสูง ห้ามเปิดประตูออกไป เพราะจะตกอยู่ในวงล้อมของกองเพลิง 7.ห้ามใช้ลิฟท์ ห้ามใช้ลิฟต์ในการอพยพหนีไฟ เพราะเมื่อเกิดเพลิงไหม้ไฟฟ้าจะดับ ทำให้ติดค้างภายในลิฟต์ ขาดอากาศหายใจเสียชีวิตได้ แต่ให้ใช้บันไดหนีไฟในการอพยพออกจากอาคาร เนื่องจากมีช่องระบายอากาศ จึงช่วยลดการสูดดมควันไฟเข้าสู่ร่างกาย และไม่ควรไม่ใช้บันไดภายในอาคารเป็นเส้นทางอพยพหนีไฟ เพราะบันไดมีลักษณะเป็นปล่อง ทำให้ควันไฟและเปลวเพลิงลอยขึ้นมาปกคลุม จึงเสี่ยงต่อการสำลักควันไฟและถูกไฟคลอกเสียชีวิต    ขอขอบคุณข้อมูล จาก www.bangkokbiznews.com /news/detail/867826
5ส. เรื่องง่ายๆ คุณก็ทำได้
5ส. เรื่องง่ายๆ คุณก็ทำได้
• 5ส คือเทคนิคหรือวิธีการจัดหรือปรับปรุงสถานที่ทำงานหรือสภาพการทำงานให้เกิดความสะดวก  ความเป็นระเบียบเรียบร้อย  สะอาดเพื่อเอื้ออำนวยให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน  ความปลอดภัย  และคุณภาพของงาน  อันเป็นพื้นฐานในการเพิ่มผลผลิต ความสำคัญของ 5ส เป็นหลักเบื้องต้น / พื้นฐาน  เพื่อทำให้หน่วยงานมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด  ปลอดภัย  น่าอยู่  น่าทำงาน มีความเกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งกับการเพิ่มผลผลิต(Productivity) มีความเกี่ยวข้องกับการประหยัดทรัพยากรและเวลา มีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อถือของผู้รับบริการ มีความเกี่ยวข้องกับปัญหาสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดการทำงานเป็นทีม(Teamwork)  และสร้างความสามัคคีในหน่วยงาน ความหมายของ 5ส 1. สะสาง การสำรวจและแยกให้ชัดเจนว่าของสิ่งใดจำเป็นและ สิ่งใดไม่จำเป็นในการใช้งาน แล้วขจัดของที่ไม่จำเป็นออกไปจากพื้นที่ที่รับผิดชอบ 2. สะดวก การจัดวางของที่จำเป็นในการใช้งานให้เป็นระบบระเบียบ และง่ายหรือสะดวกในการนำไปใช้ 3. สะอาด การดูแลรักษาหรือปัดกวาดเช็ดถู ทำความสะอาด สถานที่ โต๊ะทำงาน อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ให้พร้อมต่อการปฏิบัติงาน 4. สุขลักษณะ การรักษาและปรับปรุงการปฏิบัติ 3ส แรก โดยกำหนด เป็นมาตรฐานและปฏิบัติให้ดีขึ้นและรักษาให้ดี 5. สร้างนิสัย การปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจนเกิดจิตสำนึก หรือเกิด ความเคยชินเป็นนิสัย จุดที่ควรสะสาง บนโต๊ะทำงาน  และลิ้นชักโต๊ะทำงานของแต่ละคน ตู้เก็บเอกสาร / ตู้เก็บของ / ชั้นวางของ บริเวณรอบโต๊ะทำงาน ห้องเก็บของ มุมอับต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกที่ทำงาน พื้นของสถานที่ทำงาน  รวมทั้งฝ้าเพดาน ผลที่ได้รับจากการทำกิจกรรม  5ส ที่ทำงานมีความสะอาด  เป็นระเบียบมากขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ช่วยในการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ การปฏิบัติงานมีความสะดวกและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ทุกคนทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานเห็นการปรับปรุงได้ชัดเจน ช่วยเสริมสร้างทัศนคติที่ดีให้แก่บุคลากรในหน่วยงาน  
ก๊าซเรือนกระจก มาจากไหน ?
ก๊าซเรือนกระจก มาจากไหน ?
• ก๊าซเรือนกระจก ตัวการของโลกร้อน ก๊าซเรือนกระจกเป็นเหมือนผ้าห่มของโลกที่ช่วยให้โลกมีอุณหภูมิที่เหมาะสมและเอื้อต่อการอยู่อาศัย เเต่ถ้ามีมากเกินไปก็จะทำให้โลกร้อนขึ้น และนำมาซึ่งผลกระทบต่างๆมากมายต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก  กิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ กำลังเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้ (อาจยกเว้นไอน้ำ) การเผาไหม้เชื้อเพลิงจากถ่านหิน น้ำมันและก๊าซธรรมชาติรวมทั้งการตัดไม้ทำลายป่าทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การทำการเกษตรและการปศุสัตว์ปล่อยก๊าซมีเทนและไนตรัสออกไซด์ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ปล่อยก๊าซโอโซน นอกจากนี้ กระบวนการแปรรูปอุตสาหกรรมปล่อยสารฮาโลคาร์บอน (CFCs, HFCs, PFCs)    
รู้ไหม? สูบบุหรี่ 1 มวน อายุสั้นไป 7 นาที
รู้ไหม? สูบบุหรี่ 1 มวน อายุสั้นไป 7 นาที
• ใครๆ ก็รู้ว่า "บุหรี่" มีพิษภัยร้ายแรงขนาดไหน แต่สิงห์อมควันหลายคนก็อ้างว่าพยายามเท่าไรก็ "เลิกไม่ได้" เสียที ถ้าใครเป็นหนึ่งในนั้น เราอยากให้คุณลองพยายามดูใหม่ เพราะองค์การอนามัยโลก (WHO) เผยข้อมูลที่น่าตกใจว่า ในควันบุหรี่ เต็มไปด้วย นิโคติน (สารเสพติด), สารเคมี 7,000 ชนิด, สารพิษ มากกว่า 250 ชนิด และสารก่อมะเร็ง มากกว่า 70 ชนิด ยิ่งสูบบุหรี่นานเท่าไร คุณก็ยิ่งเสี่ยงต่อโรคภัยไข้เจ็บที่บั่นทอนชีวิตของคุณให้สั้นลง ไม่ต่างจากไฟของบุหรี่ที่ค่อยๆมอดลง.. สูบบุหรี่ 1 มวน อายุสั้นลงไป 7 นาที  เเล้วบุหรี่ สูบได้โรคอะไรบ้าง ?  1. หลอดเลือดสมอง ตีบ-แตก-ตัน สารพิษอันน่ากลัวในควันบุหรี่จะทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดตีบ แตก ตัน ซึ่งถ้าเกิดขึ้นกับหลอดเลือดส่วนที่ไปเลี้ยงสมอง ก็จะทำให้เป็นโรคสมองเสื่อม โดยมีงานวิจัยจากสถาบันอุดมศึกษาในลอนดอน ที่เคยลงตีพิมพ์ในเว็บไซต์เอบีซีนิวส์ ระบุว่า คนที่สูบบุหรี่จัดอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในเพศชาย ประสิทธิภาพของสมองจะเสื่อมเร็วกว่าผู้คนที่ไม่สูบบุหรี่ และจะมีระดับการทำงานของสมองเทียบเท่ากับคนที่แก่กว่า 10 ปี หรืออธิบายได้อย่างง่าย ๆ ว่า หากคุณอายุ 50 ปี และสูบบุหรี่ ประสิทธิภาพการทำงานของสมองของคุณจะเทียบเท่ากับคนอายุ 60 ปีที่ไม่สูบบุหรี่นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่แค่อาการสมองเสื่อมจะถามหาผู้สูบบุหรี่เท่านั้น แต่ถ้าหลอดเลือดในสมองตีบตันมาก ๆ เข้า จนเส้นเลือดในสมองแตก ก็ทำให้เป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ทุกข์ทรมานไปทั้งชีวิตเลยนะคะ 2. โรคปอดและระบบทางเดินหายใจ ปอดคืออวัยวะหนึ่งที่ได้รับผลกระทบเต็ม ๆ จากการสูบบุหรี่ โดยจะทำให้เกิดอาการไอเรื้อรัง หายใจไม่สะดวก หลอดลมอักเสบ ปอดบวม โรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) เป็นโรคถุงลมโป่งพอง ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้จนปอดส่วนใหญ่ถูกทำลาย อาจต้องใช้เครื่องออกซิเจนช่วยหายใจตลอดเวลา และที่ร้ายแรงที่สุดก็คือ "โรค มะเร็งปอด" ซึ่งเป็นโรคร้ายที่คร่าชีวิตคนไทยเป็นอันดับต้น ๆ และส่วนใหญ่แล้ว ผู้ป่วยมะเร็งปอดร้อยละ 90 มีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่นี่เอง อาการเริ่มต้นจากอาการไอแห้ง ๆ เป็นเวลานานตามมาด้วยอาการไอเรื้อรัง แต่ในบางคนอาจไม่พบอาการไอเลย มารู้ตัวอีกทีก็ตรวจพบมะเร็งในระยะลุกลามแล้ว ซึ่งผู้ป่วยร้อยละ 90 จะเสียชีวิตใน 1-2 ปีหลังจากเป็นโรค นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลจากศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ ระบุว่า ผู้ที่สูบบุหรี่เพียงวันละ 1 ซองก็มีความเสี่ยงโรคมะเร็งปอดมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ถึง 10 เท่า และหากสูบวันละ 2 ซอง ก็เสี่ยงโรคมะเร็งมากกว่าคนไม่สูบบุหรี่ถึง 25 เท่าเชียวล่ะ 3. โรคระบบทางเดินอาหาร การสูบบุหรี่ทำให้ติดเชื้อ Helicobacter pylori ได้ง่าย ซึ่งเชื้อนี้เป็นสาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำจะมีโอกาสเกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วน ต้นง่ายกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ เพราะสารเคมีในควันบุหรี่จะไปกระตุ้นให้กระเพาะอาหารหลั่งน้ำย่อยออกมามากกว่าปกติ และแผลก็หายยากด้วย นอกจากนี้ การสูบบุหรี่ยังเป็นสาเหตุสำคัญของโรคมะเร็งกล่องเสียง มะเร็งช่องปากและหลอดอาหาร ยิ่งถ้าผู้สูบบุหรี่ดื่มแอลกอฮอล์ด้วยแล้ว ก็ยิ่งมีโอกาสเสี่ยงโรคมะเร็งเหล่านี้สูงขึ้นไปอีก 4. โรคหัวใจและหลอดเลือด บุหรี่จะทำให้หลอดเลือดหัวใจหดตัว มีการจับตัวของไขมันที่ผนังหลอดเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดหัวใจตีบลง จนเกิดภาวะหัวใจขาดออกซิเจน เส้นเลือดหัวใจตีบ เมื่อเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่ได้ จะเกิดอาการจุกเสียด เจ็บหน้าอก โดยเฉพาะเวลาออกกำลังกาย มีโอกาสเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันจนเสียชีวิตได้โดยไม่รู้ตัว 5. สารพัดโรคมะเร็ง และอาการอื่นๆทางร่างกาย นอกจากโรคมะเร็งปอดที่ผู้สูบบุหรี่มีโอกาสเสี่ยงสูงมาก ๆ แล้ว สิงห์อมควันทั้งหลายยังอาจจะได้รับของแถมเป็นโรคมะเร็งอวัยวะส่วนอื่น ๆ อีกเพียบ ทั้งมะเร็งช่องปาก มะเร็งโพรงจมูก มะเร็งลำคอและกล่องเสียง มะเร็งหลอดลม มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับอ่อน มะเร็งตับ มะเร็งไต มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งทวารหนัก มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน