วันที่ 16 กันยายน ของทุกปี วันโอโซนโลก
องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้วันที่ 16 กันยายน ของทุกปี เป็นวันโอโซน เริ่มตั้งแต่ ปี 2530 เป็นการพิทักษ์บรรยากาศชั้นโอโซนนานาประเทศ ได้ร่วมกันจัดทําอนุสัญญาการป้องกันชั้น บรรยากาศโอโซน ขึ้นในปี ค.ศ. 1985 (พ.ศ.2528) เรียกว่า “อนุสัญญาเวียนนาและพิธีสารว่าด้วย การเลิกใช้สารทําลายชั้นโอโซน” ขึ้นในปี ค.ศ.1987 (พ.ศ.2530) เรียกว่า “พิธีสารมอลทรีออล” สาระสําคัญของอนุสัญญาเวียนนา นับว่าเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่มุ่งมั่นในการพิทักษ์ ชั้นโอโซน และเป็นเครื่องมือทางกฎหมายข้อแรกที่กลายเป็นรูปแบบของการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ร่วมกัน ปัจจุบันมีประเทศที่ร่วมให้สัตยาบันแล้วรวม 131 ประเทศ นั่นหมายถึง ชุมชนโลกส่วนใหญ่ ได้พร้อมใจกันที่จะพิทักษ์ ชั้นโอโซนแล้ว พิธีสารมอลทรีออล เป็นส่วนหนึ่งของอนุสัญญาเวียนนาฯ ประเทศไทยได้ร่วมลงนามในพิธีสารนี้ เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2531 และให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2532มีผลบังคับใช้ต่อประเทศไทยเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2532 ผลของพิธีสารในขั้นต้น สารเคมีที่ถูก ควบคุม คือ สาร CFC (Chlorofluorcarbon) รวม 5 ชนิดและสารฮาลอน (Halon) 3 ชนิด รวมสาร ควบคุมทั้งสิ้น 8 ชนิด ซึ่งสารเหล่านี้มีการใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น สารทําความเย็นใน ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศใช้เป็นก๊าซสําหรับเป้าโฟมและเป็นฉนวนในโฟม รวมทั้งใช้เป็นตัวทําละลาย ในการทําความสะอาด ล้างคราบไขมันสิ่งสกปรกในชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ หรือแม้แต่สารที่อยู่ใน กระป๋องสเปรย์ ส่วนสารฮาลอนใช้เป็นสารดับเพลิงในอุปกรณ์ป้องกันและระงับอัคคีภัย
ขอบคุณที่มาจาก : https://www.onep.go.th