โบราณวัตถุ เช่น ศิลาจารึก เศียรพระพุทธรูป ฯลฯ ในพะเยามีจำนวนมาก นายอำเภอพะเยา คนแรกคือนายคลาย บุษบรรณ (ต่อมาเป็นหลวงสิทธิประศาสน์) ให้นำมากองไว้ที่ที่ว่าการอำเภอพะเยา ครั้งรัชกาลที่ 7 เสด็จพะเยาเมื่อ พ.ศ.2469 ได้แบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกสภาพดีให้นำส่งพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร ส่วนที่สองสภาพดีพอสมควร ให้นำส่งพิพิธภัณฑ์ที่ลำพูน ส่วนที่สามชำรุดยังเก็บไว้ที่พะเยา โดยต่อมาราวทศวรรษ 2510 มีผู้นำเศียรพุทธรูปจำนวนหนึ่งจากพะเยาไปไว้ที่วัดอุโมงค์สวนพุทธธรรม เชียงใหม่
พะเยามีพระสงฆ์ 2 องค์เก็บสะสมโบราณวัตถุที่หลงเหลือจำนวนมาก คือ
ของดีในพิพิธภัณฑ์เวียงพยาว (วัดลี)
1.ศิลาจารึก พะเยามีศิลาจารึกจำนวนมาก หลักที่มีสภาพสมบูรณ์อยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร หลักที่มีสภาพรองลงมาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ลำพูน เมื่อมีการลงทะเบียนจารึกจึงใช้อักษรย่อตามแหล่งที่เก็บ เช่น เก็บไว้ที่ลำพูนก็ลงทะเบียนจารึกว่า “ลพ.”
จารึกจากพะเยาหลักหนึ่งคือ ลพ.9 เป็นจารึกสำคัญจารึกรายชื่อกษัตริย์ราชวงศ์มังรายตั้งแต่พญามังรายถึงพญาสามฝั่งแกน และการแต่งตั้งเจ้าเมืองพยาว การสร้างวัดสำคัญในพะเยา เป็นหลักฐานชิ้นสำคัญยืนยันว่า (1)พญาติโลกราช เป็นกษัตริย์องค์ที่ 9 ของราชวงศ์มังราย เพราะพญาสามฝั่งแกน พระราชบิดาของพญาติโลกราช นับพระองค์เป็นกษัตริย์องค์ที่ 8 (2)พญาสามฝั่งแกน ครองราชย์เมื่อ อายุ 13 ปี ด้วยการสนับสนุนของพระนางติโลกจุฑาเทวี มเหสีของพญาแสนเมืองมาผู้อยู่ในตำแหน่งมหาเทวีและอาวเลี้ยง จึงตอบแทนอาวเลี้ยงโดยแต่งตั้งอาวเลี้ยงให้ดำรงตำแหน่งเจ้าสี่หมื่นครอง “เมิงพยาว” (3)เจ้าสี่หมื่น เจ้าเมืองพยาวและมหาเทวี เป็นประธานสร้างวัดพระสุวรรณมหาวิหาร แล้วกัลปนาเป็นที่นา 21,685 แปลง (ราคา 4,686,000)หมากหมื่นคำเศษ ข้าวัด 187 บ้าน 246 เรือน ให้วัดพระสุวรรณมหาวิหาร
ในพะเยาทั้งที่วัดศรีโคมคำและวัดลีจึงเหลือจารึกที่ชำรุดแต่ล้วนมีคุณค่า เช่น จารึกลาวงำเมือง (พย.54) เศษจารึกขนาดกว้าง 26.5 ซม. สูง 12 ซม.หนา 5.5 ซม.พบที่วัดสบร่องขุย จารึกด้วยอักษรฝักขามมีชื่อลาวงำเมือง และพญาร่วง แม้ขาดชื่อพญามังรายไปเพราะจารึกชำรุด ก็บ่งบอกให้เห็นว่าเรื่องราวความสัมพันธ์ของสามกษัตริย์เป็นเรื่องที่มีหลักฐานประวัติศาสตร์ประเภทจารึกรองรับเพิ่มเติมจากหลักฐานประเภทตำนาน เช่น ชินกาลมาลินี หรือชินกาลมาลีปกรณ์ จารึกหลักนี้เก็บรักษาไว้ที่วัดลี ต่อมาเมื่อพบเครื่องปั้นดินเผาที่แหล่งเตาเวียงบัว ต.แม่กา อ.เมือง จ.พะเยา ตรวจด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์แล้วพบว่ามีอายุถึงยุคลาวงำเมือง ทำให้ยุคพญางำเมืองมีทั้งหลักฐานเกี่ยวกับการเมืองและเศรษฐกิจ
จารึกสำคัญของวัดคือจารึกวัดลี เป็นจารึกอักษรฝักขาม กว้าง 52 ซ.ม. สูง 96 ซ.ม. หนา 17 ซ.ม. ระบุว่า สร้างโดยเจ้าสี่หมื่น ผู้เป็นราชครูของพญายอดเชียงราย เมื่อ พ.ศ.2038 ปีดังกล่าวเป็นปีที่พระเจ้ายอดเชียงรายสวรรคต จึงอาจเป็นการสร้างเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล จารึกหลักนี้เป็นหลักฐานสำคัญยืนยันความเป็นมาของวัดลีเช่นเดียวกับจารึกวัดศรีสุพรรณที่เชียงใหม่ ซึ่งพญาเมืองแก้วและพระราชมารดา โปรดฯให้หมื่นจ่าคำรังการสร้างวัด เมื่อ พ.ศ.2043 ซึ่งมีวัดจำนวนไม่มากที่พบจารึกประวัติวัด
2.จารึกและพระพุทธรูปที่พบที่วัดติโลกอาราม กลางกว๊านพะเยา
กว๊านพะเยาเพิ่งเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่กลางเมืองพะเยาตั้งแต่ พ.ศ.2482 เมื่อมีการสร้างประตูกั้นน้ำที่สถานีประมงน้ำจืดพะเยา ช่วงก่อนหน้านั้นเป็นเส้นทางผ่านของน้ำแม่อิง น้ำแม่ใส น้ำแม่ไฮมีหนองน้ำ เช่น หนองเต่า หนองเอี้ยง ฯลฯ และมีวัดร้างหลายวัด
เมื่อครั้งน้ำเต็มกว๊าน ในปี พ.ศ.2550 กรมศิลปากรได้สำรวจโบราณคดีใต้น้ำพบร่องรอยวัดร้าง หนองน้ำที่สำคัญได้พบจารึกแผ่นหินทรายสีเทาคล้ายใบเสมา สภาพชำรุด ขนาดกว้าง 36 ซ.ม. สูง 30 ซ.ม. หนา 7 ซ.ม. เมื่อวันที่ 9 ก.พ. 2550 ณ บริเวณเนินสันธาตุ ใกล้ท้ายบ้านร่องไฮ ต.แม่ใส อ.เมือง จ.พะเยา เดิมชาวบ้านเรียกสันธาตุ หรือวัดบวกสี่แจ่ง เมื่อพบจารึกก็ทราบชื่อวัดแห่งนี้ว่าชื่อ วัดติโลกอาราม ครั้นนั้นได้นำจารึกและพระพุทธรูปที่พบจากวัดติโลกอารามไปเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑ์วัดลี มีการฟื้นวัดติโลกอารามเป็นวัดกลางกว๊านพะเยาเป็นสถานที่ทำบุญเวียนเทียนกลางกว๊านในวันมาฆบูชา (เป็งเดือนห้า) ตั้งแต่นั้นมา
จารึกที่พบ ณ เนินสันธาตุ กลางกว๊านพะเยาเขียนด้วยอักษรฝักขาม เขียน 2 ด้าน ด้านหนึ่งเหลือ 11 บรรทัด อีกด้านเหลือ 12 บรรทัด กล่าวถึงความเป็นมาของการสร้างวัดติโลกอาราม ที่หนองเตา สมัยพระญายุธิษฐิระ “ลูกพระเป็นเจ้า”(โอรสบุญธรรม) ของพระเจ้าติโลกราช มีการผูกพัทธสีมาและบวชพระภิกษุ 4 รูป ครั้งนั้น พระเป็นเจ้า(พระเจ้าติโลกราช) ได้ถวายพระพุทธรูป 1 องค์ พร้อมถวายที่นา เงินจำนวน 1 ล้านเบี้ย ข้าวัดจำนวน 5 ครัว โดยมีรายชื่อพระสังฆาธิการจากหลายวัดในเมืองพะเยา ผู้สนใจจารึกหลักนี้เข้าชมได้ที่พิพิธภัณฑ์วัดลี โดยมีคำอ่านติดไว้ที่แท่นตั้งทุกหลักที่จัดแสดง
ช่วงปลายปี พ.ศ.2558-พ.ศ.2559 ประเทศไทยประสบภัยเอลนีโญเกิดความแห้งแล้งหนัก บริเวณกว๊านพะเยา น้ำแห้ง กลายเป็นบ่อโคลน มองเห็นเนินดินที่เป็นซากโบราณสถาน โบราณวัตถุจำนวนมาก หลายแห่งในการสำรวจเมื่อเมษายน 2559 พบร่องรอยวัดโลกติลกสังฆาราม วัดโบราณขนาดใหญ่อยู่ไม่ไกลจากวัดติโลกอาราม ค่อนไปทางเหนือ พบฐานเสาวิหารทำด้วยหินทราย กระเบื้องดินขอ เศษเครื่องปั้นดินเผาเคลือบ ส่วนหนึ่งมาจากแหล่งเตาบ้านโป่งแดง อ.พาน จ.เชียงราย แหล่งเตาเวียงกาหลง อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย พบร่องน้ำที่ไหลลงน้ำแม่อิง พบร่องรอยหนองใหญ่ที่เรียกว่า “หนองเต่า”
พ.ศ.2560 กรมศิลปากรมีโครงการขุดค้นและขุดแต่งทางโบราณคดีบ้านร้องไฮ ต.แม่ใส อ.เมือง จ.พะเยา บริเวณริมกว๊านพะเยาด้านใต้ โดยเฉพาะบริเวณที่ชาวบ้านเรียกว่า “สันธาตุหน่อแก้ว” พบฐานวิหารขนาดใหญ่ ฐานอุโบสถโดยมีพัทธสีมาหัวรูปบัวตูมเรียงราย พบพระพุทธรูปบนฐานชุกชีประมาณ 4 องค์ นอนทับกัน ต้นปี พ.ศ.2561 คุณวิวรรณ แสงจันทร์ นักโบราณคดีนำผู้เขียน และ ศ.สรัสวดี ชมแหล่งโบราณคดีบ้านร่องไฮ และบริเวณที่พบพระพุทธรูปบนฐานชุกชี เห็นว่าเป็นจุดแข็งอีกจุดหนึ่งนอกเหนือจากวัดติโลกอารามกลางกว๊านแล้ว บริเวณนี้ควรได้รับการอนุรักษ์และพัฒนาเพื่อให้คนในเมืองพะเยาและผู้สนใจเข้ามานมัสการ โดยต้องมีงบประมาณจำนวนหนึ่งสำหรับป้องกันน้ำท่วม แต่โครงการขุดค้นและขุดแต่งก็ต้องดำเนินการตามขั้นตอน โดยมีการนำพระพุทธรูปและโบราณวัตถุทั้งหมดขึ้นเก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุฯ พะเยา เพื่อเตรียมนำส่งเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เชียงแสนตามระเบียบของกรมศิลปากรต่อไป
เมื่อผู้เขียนได้เห็นจารึกและพระพุทธรูปของวัดติโลกอารามที่เก็บรักษาและจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์วัดลีเมื่องานเป็งเดือนห้า จึงมีความคิดใคร่ขอเสนอต่อจังหวัดพะเยา ให้ทำหนังสือราชการถึงกรมศิลปากร ขออนุญาต “ยืม” พระพุทธรูปและโบราณวัตถุที่พบในบริเวณที่ชาวบ้านเรียกว่า “สันธาตุหน่อแก้ว” จัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์เวียงพยาว วัดลี เพื่อประโยชน์ในการศึกษาประวัติศาสตร์และโบราณคดีเวียงพะเยาของคนในพะเยา เพราะทั้งวัดติโลกอาราม และบริเวณริมกว๊านที่ชาวบ้านเรียก “สันธาตุหน่อแก้ว” และแหล่งโบราณคดีบ้านร่องไฮ อาจเป็นเขตที่เรียกว่า “โลกติลกสังฆาราม” โดยมีวัดใหญ่อีกวัดคือ วัดโลกติลกสังฆารามในบริเวณกว๊าน รอการฟื้นฟู อาณาบริเวณดังกล่าวเป็นยุคสมัยที่พระเจ้าติโลกราชกษัตริย์แห่งล้านนาโปรดฯให้พระญายุธิษฐิระ เจ้าเมืองสองแควที่เข้ามาสวาภิภักดิ์ดำรงตำแหน่งเจ้าสี่หมื่นปกครองพะเยา เป็นการเพิ่มจุดแข็งของเมืองพะเยาก่อนที่จะมีการส่งพระพุทธรูปที่พบเข้าเก็บรักษาในพิพิธภัณฑ์เชียงแสนตามระเบียบของกรมศิลปากร
3.พระบฏหรือพระบต ที่เขียนเรื่องราวทศชาติชาดก สมัยเทศาภิบาล
โดยทั่วไป “พระบฏ”หรือพระบต เป็นภาพเขียนพระพุทธเจ้าบนแผ่นผ้าองค์เดียว เช่น พระบตของวัดป่าชี่(อ่านว่าวัดป่าจี้) จ.เชียงใหม่ ซึ่งนำมาใช้ในพิธีไหว้ผีปู่เสะย่าเสะทุกปี หรืออาจมีพระสาวกองค์สำคัญคือพระโมคคัลลานะและพระสารีบุตรอยู่ข้างพระพุทธองค์ ดังเช่น พระบต ของวัดพระนอนขอนม่วง อำเภอแม่ริม จ.เชียงใหม่ ซึ่งพระเจ้าอินทวโรรสกับพระราชชายาเจ้าดารารัศมีโปรดฯ ให้ปักบนแผ่นผ้าถวายวัด แต่พระบตในพิพิธภัณฑ์เวียง พยาว วัดลีจัดแสดงแตกต่างจากทุกแห่งที่เคยเห็นมา เพราะพระบตที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์เวียงพยาว วัดลีเป็นภาพเขียนเรื่องทศชาติชาดกบนแผ่นผ้า เป็นภาพเขียนบนแผ่นผ้าในสมัยเทศาภิบาล ดังนั้นตัวเอกในแต่ละชาติมีคนแต่งกายชุดข้าราชการสยามแทรกอยู่ด้วย ผู้เขียนภาพคงเป็นไทใหญ่ในพะเยาเพราะเขียนคำอธิบายภาพด้วยภาษาไทใหญ่และหลายภาพมีชาวบ้านแต่งกายชุดไทใหญ่ หากนับว่าภาพเขียนทศชาติบนแผ่นผ้าเป็น “พระบต” ตามคำอธิบายงานที่จัดแสดงก็นับเป็นพระบตหรือพระบฏ ที่มีเรื่องราวทศชาติชาดกและแทรกยุคสมัยเทศาภิบาลชุดแรกที่ได้พบ
รองศาสตราจารย์สมโชติ อ๋องสกุล
ที่ปรึกษาด้านประวัติศาสตร์ โครงการจัดทำแผนและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า พะเยา
1
โบราณวัตถุในพะเยา
โบราณวัตถุ เช่น ศิลาจารึก เศียรพระพุทธรูป ฯลฯ ในพะเยามีจำนวนมาก นายอำเภอพะเยา คนแรกคือนายคลาย บุษบรรณ (ต่อมาเป็นหลวงสิทธิประศาสน์) ให้นำมากองไว้ที่ที่ว่าการอำเภอพะเยา ครั้งรัชกาลที่ 7 เสด็จพะเยาเมื่อ พ.ศ.2469 ได้แบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกสภาพดีให้นำส่งพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร ส่วนที่สองสภาพดีพอสมควร ให้นำส่งพิพิธภัณฑ์ที่ลำพูน ส่วนที่สามชำรุดยังเก็บไว้ที่พะเยา โดยต่อมาราวทศวรรษ 2510 มีผู้นำเศียรพุทธรูปจำนวนหนึ่งจากพะเยาไปไว้ที่วัดอุโมงค์สวนพุทธธรรม เชียงใหม่
พะเยามีพระสงฆ์ 2 องค์เก็บสะสมโบราณวัตถุที่หลงเหลือจำนวนมาก คือ
ของดีในพิพิธภัณฑ์เวียงพยาว (วัดลี)
1.ศิลาจารึก พะเยามีศิลาจารึกจำนวนมาก หลักที่มีสภาพสมบูรณ์อยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร หลักที่มีสภาพรองลงมาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ลำพูน เมื่อมีการลงทะเบียนจารึกจึงใช้อักษรย่อตามแหล่งที่เก็บ เช่น เก็บไว้ที่ลำพูนก็ลงทะเบียนจารึกว่า “ลพ.”
จารึกจากพะเยาหลักหนึ่งคือ ลพ.9 เป็นจารึกสำคัญจารึกรายชื่อกษัตริย์ราชวงศ์มังรายตั้งแต่พญามังรายถึงพญาสามฝั่งแกน และการแต่งตั้งเจ้าเมืองพยาว การสร้างวัดสำคัญในพะเยา เป็นหลักฐานชิ้นสำคัญยืนยันว่า (1)พญาติโลกราช เป็นกษัตริย์องค์ที่ 9 ของราชวงศ์มังราย เพราะพญาสามฝั่งแกน พระราชบิดาของพญาติโลกราช นับพระองค์เป็นกษัตริย์องค์ที่ 8 (2)พญาสามฝั่งแกน ครองราชย์เมื่อ อายุ 13 ปี ด้วยการสนับสนุนของพระนางติโลกจุฑาเทวี มเหสีของพญาแสนเมืองมาผู้อยู่ในตำแหน่งมหาเทวีและอาวเลี้ยง จึงตอบแทนอาวเลี้ยงโดยแต่งตั้งอาวเลี้ยงให้ดำรงตำแหน่งเจ้าสี่หมื่นครอง “เมิงพยาว” (3)เจ้าสี่หมื่น เจ้าเมืองพยาวและมหาเทวี เป็นประธานสร้างวัดพระสุวรรณมหาวิหาร แล้วกัลปนาเป็นที่นา 21,685 แปลง (ราคา 4,686,000)หมากหมื่นคำเศษ ข้าวัด 187 บ้าน 246 เรือน ให้วัดพระสุวรรณมหาวิหาร
ในพะเยาทั้งที่วัดศรีโคมคำและวัดลีจึงเหลือจารึกที่ชำรุดแต่ล้วนมีคุณค่า เช่น จารึกลาวงำเมือง (พย.54) เศษจารึกขนาดกว้าง 26.5 ซม. สูง 12 ซม.หนา 5.5 ซม.พบที่วัดสบร่องขุย จารึกด้วยอักษรฝักขามมีชื่อลาวงำเมือง และพญาร่วง แม้ขาดชื่อพญามังรายไปเพราะจารึกชำรุด ก็บ่งบอกให้เห็นว่าเรื่องราวความสัมพันธ์ของสามกษัตริย์เป็นเรื่องที่มีหลักฐานประวัติศาสตร์ประเภทจารึกรองรับเพิ่มเติมจากหลักฐานประเภทตำนาน เช่น ชินกาลมาลินี หรือชินกาลมาลีปกรณ์ จารึกหลักนี้เก็บรักษาไว้ที่วัดลี ต่อมาเมื่อพบเครื่องปั้นดินเผาที่แหล่งเตาเวียงบัว ต.แม่กา อ.เมือง จ.พะเยา ตรวจด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์แล้วพบว่ามีอายุถึงยุคลาวงำเมือง ทำให้ยุคพญางำเมืองมีทั้งหลักฐานเกี่ยวกับการเมืองและเศรษฐกิจ
จารึกสำคัญของวัดคือจารึกวัดลี เป็นจารึกอักษรฝักขาม กว้าง 52 ซ.ม. สูง 96 ซ.ม. หนา 17 ซ.ม. ระบุว่า สร้างโดยเจ้าสี่หมื่น ผู้เป็นราชครูของพญายอดเชียงราย เมื่อ พ.ศ.2038 ปีดังกล่าวเป็นปีที่พระเจ้ายอดเชียงรายสวรรคต จึงอาจเป็นการสร้างเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล จารึกหลักนี้เป็นหลักฐานสำคัญยืนยันความเป็นมาของวัดลีเช่นเดียวกับจารึกวัดศรีสุพรรณที่เชียงใหม่ ซึ่งพญาเมืองแก้วและพระราชมารดา โปรดฯให้หมื่นจ่าคำรังการสร้างวัด เมื่อ พ.ศ.2043 ซึ่งมีวัดจำนวนไม่มากที่พบจารึกประวัติวัด
2.จารึกและพระพุทธรูปที่พบที่วัดติโลกอาราม กลางกว๊านพะเยา
กว๊านพะเยาเพิ่งเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่กลางเมืองพะเยาตั้งแต่ พ.ศ.2482 เมื่อมีการสร้างประตูกั้นน้ำที่สถานีประมงน้ำจืดพะเยา ช่วงก่อนหน้านั้นเป็นเส้นทางผ่านของน้ำแม่อิง น้ำแม่ใส น้ำแม่ไฮมีหนองน้ำ เช่น หนองเต่า หนองเอี้ยง ฯลฯ และมีวัดร้างหลายวัด
เมื่อครั้งน้ำเต็มกว๊าน ในปี พ.ศ.2550 กรมศิลปากรได้สำรวจโบราณคดีใต้น้ำพบร่องรอยวัดร้าง หนองน้ำที่สำคัญได้พบจารึกแผ่นหินทรายสีเทาคล้ายใบเสมา สภาพชำรุด ขนาดกว้าง 36 ซ.ม. สูง 30 ซ.ม. หนา 7 ซ.ม. เมื่อวันที่ 9 ก.พ. 2550 ณ บริเวณเนินสันธาตุ ใกล้ท้ายบ้านร่องไฮ ต.แม่ใส อ.เมือง จ.พะเยา เดิมชาวบ้านเรียกสันธาตุ หรือวัดบวกสี่แจ่ง เมื่อพบจารึกก็ทราบชื่อวัดแห่งนี้ว่าชื่อ วัดติโลกอาราม ครั้นนั้นได้นำจารึกและพระพุทธรูปที่พบจากวัดติโลกอารามไปเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑ์วัดลี มีการฟื้นวัดติโลกอารามเป็นวัดกลางกว๊านพะเยาเป็นสถานที่ทำบุญเวียนเทียนกลางกว๊านในวันมาฆบูชา (เป็งเดือนห้า) ตั้งแต่นั้นมา
จารึกที่พบ ณ เนินสันธาตุ กลางกว๊านพะเยาเขียนด้วยอักษรฝักขาม เขียน 2 ด้าน ด้านหนึ่งเหลือ 11 บรรทัด อีกด้านเหลือ 12 บรรทัด กล่าวถึงความเป็นมาของการสร้างวัดติโลกอาราม ที่หนองเตา สมัยพระญายุธิษฐิระ “ลูกพระเป็นเจ้า”(โอรสบุญธรรม) ของพระเจ้าติโลกราช มีการผูกพัทธสีมาและบวชพระภิกษุ 4 รูป ครั้งนั้น พระเป็นเจ้า(พระเจ้าติโลกราช) ได้ถวายพระพุทธรูป 1 องค์ พร้อมถวายที่นา เงินจำนวน 1 ล้านเบี้ย ข้าวัดจำนวน 5 ครัว โดยมีรายชื่อพระสังฆาธิการจากหลายวัดในเมืองพะเยา ผู้สนใจจารึกหลักนี้เข้าชมได้ที่พิพิธภัณฑ์วัดลี โดยมีคำอ่านติดไว้ที่แท่นตั้งทุกหลักที่จัดแสดง
ช่วงปลายปี พ.ศ.2558-พ.ศ.2559 ประเทศไทยประสบภัยเอลนีโญเกิดความแห้งแล้งหนัก บริเวณกว๊านพะเยา น้ำแห้ง กลายเป็นบ่อโคลน มองเห็นเนินดินที่เป็นซากโบราณสถาน โบราณวัตถุจำนวนมาก หลายแห่งในการสำรวจเมื่อเมษายน 2559 พบร่องรอยวัดโลกติลกสังฆาราม วัดโบราณขนาดใหญ่อยู่ไม่ไกลจากวัดติโลกอาราม ค่อนไปทางเหนือ พบฐานเสาวิหารทำด้วยหินทราย กระเบื้องดินขอ เศษเครื่องปั้นดินเผาเคลือบ ส่วนหนึ่งมาจากแหล่งเตาบ้านโป่งแดง อ.พาน จ.เชียงราย แหล่งเตาเวียงกาหลง อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย พบร่องน้ำที่ไหลลงน้ำแม่อิง พบร่องรอยหนองใหญ่ที่เรียกว่า “หนองเต่า”
พ.ศ.2560 กรมศิลปากรมีโครงการขุดค้นและขุดแต่งทางโบราณคดีบ้านร้องไฮ ต.แม่ใส อ.เมือง จ.พะเยา บริเวณริมกว๊านพะเยาด้านใต้ โดยเฉพาะบริเวณที่ชาวบ้านเรียกว่า “สันธาตุหน่อแก้ว” พบฐานวิหารขนาดใหญ่ ฐานอุโบสถโดยมีพัทธสีมาหัวรูปบัวตูมเรียงราย พบพระพุทธรูปบนฐานชุกชีประมาณ 4 องค์ นอนทับกัน ต้นปี พ.ศ.2561 คุณวิวรรณ แสงจันทร์ นักโบราณคดีนำผู้เขียน และ ศ.สรัสวดี ชมแหล่งโบราณคดีบ้านร่องไฮ และบริเวณที่พบพระพุทธรูปบนฐานชุกชี เห็นว่าเป็นจุดแข็งอีกจุดหนึ่งนอกเหนือจากวัดติโลกอารามกลางกว๊านแล้ว บริเวณนี้ควรได้รับการอนุรักษ์และพัฒนาเพื่อให้คนในเมืองพะเยาและผู้สนใจเข้ามานมัสการ โดยต้องมีงบประมาณจำนวนหนึ่งสำหรับป้องกันน้ำท่วม แต่โครงการขุดค้นและขุดแต่งก็ต้องดำเนินการตามขั้นตอน โดยมีการนำพระพุทธรูปและโบราณวัตถุทั้งหมดขึ้นเก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุฯ พะเยา เพื่อเตรียมนำส่งเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เชียงแสนตามระเบียบของกรมศิลปากรต่อไป
เมื่อผู้เขียนได้เห็นจารึกและพระพุทธรูปของวัดติโลกอารามที่เก็บรักษาและจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์วัดลีเมื่องานเป็งเดือนห้า จึงมีความคิดใคร่ขอเสนอต่อจังหวัดพะเยา ให้ทำหนังสือราชการถึงกรมศิลปากร ขออนุญาต “ยืม” พระพุทธรูปและโบราณวัตถุที่พบในบริเวณที่ชาวบ้านเรียกว่า “สันธาตุหน่อแก้ว” จัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์เวียงพยาว วัดลี เพื่อประโยชน์ในการศึกษาประวัติศาสตร์และโบราณคดีเวียงพะเยาของคนในพะเยา เพราะทั้งวัดติโลกอาราม และบริเวณริมกว๊านที่ชาวบ้านเรียก “สันธาตุหน่อแก้ว” และแหล่งโบราณคดีบ้านร่องไฮ อาจเป็นเขตที่เรียกว่า “โลกติลกสังฆาราม” โดยมีวัดใหญ่อีกวัดคือ วัดโลกติลกสังฆารามในบริเวณกว๊าน รอการฟื้นฟู อาณาบริเวณดังกล่าวเป็นยุคสมัยที่พระเจ้าติโลกราชกษัตริย์แห่งล้านนาโปรดฯให้พระญายุธิษฐิระ เจ้าเมืองสองแควที่เข้ามาสวาภิภักดิ์ดำรงตำแหน่งเจ้าสี่หมื่นปกครองพะเยา เป็นการเพิ่มจุดแข็งของเมืองพะเยาก่อนที่จะมีการส่งพระพุทธรูปที่พบเข้าเก็บรักษาในพิพิธภัณฑ์เชียงแสนตามระเบียบของกรมศิลปากร
3.พระบฏหรือพระบต ที่เขียนเรื่องราวทศชาติชาดก สมัยเทศาภิบาล
โดยทั่วไป “พระบฏ”หรือพระบต เป็นภาพเขียนพระพุทธเจ้าบนแผ่นผ้าองค์เดียว เช่น พระบตของวัดป่าชี่(อ่านว่าวัดป่าจี้) จ.เชียงใหม่ ซึ่งนำมาใช้ในพิธีไหว้ผีปู่เสะย่าเสะทุกปี หรืออาจมีพระสาวกองค์สำคัญคือพระโมคคัลลานะและพระสารีบุตรอยู่ข้างพระพุทธองค์ ดังเช่น พระบต ของวัดพระนอนขอนม่วง อำเภอแม่ริม จ.เชียงใหม่ ซึ่งพระเจ้าอินทวโรรสกับพระราชชายาเจ้าดารารัศมีโปรดฯ ให้ปักบนแผ่นผ้าถวายวัด แต่พระบตในพิพิธภัณฑ์เวียง พยาว วัดลีจัดแสดงแตกต่างจากทุกแห่งที่เคยเห็นมา เพราะพระบตที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์เวียงพยาว วัดลีเป็นภาพเขียนเรื่องทศชาติชาดกบนแผ่นผ้า เป็นภาพเขียนบนแผ่นผ้าในสมัยเทศาภิบาล ดังนั้นตัวเอกในแต่ละชาติมีคนแต่งกายชุดข้าราชการสยามแทรกอยู่ด้วย ผู้เขียนภาพคงเป็นไทใหญ่ในพะเยาเพราะเขียนคำอธิบายภาพด้วยภาษาไทใหญ่และหลายภาพมีชาวบ้านแต่งกายชุดไทใหญ่ หากนับว่าภาพเขียนทศชาติบนแผ่นผ้าเป็น “พระบต” ตามคำอธิบายงานที่จัดแสดงก็นับเป็นพระบตหรือพระบฏ ที่มีเรื่องราวทศชาติชาดกและแทรกยุคสมัยเทศาภิบาลชุดแรกที่ได้พบ
รองศาสตราจารย์สมโชติ อ๋องสกุล
ที่ปรึกษาด้านประวัติศาสตร์ โครงการจัดทำแผนและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า พะเยา
5 | |
4 | |
3 | |
2 | |
1 |