สะแล
สะแล หรือ สาแล มีชื่อในท้องถิ่นอื่น เช่น แกแล (ปราจีนบุรี) ข่อยย่าน (สงขลา) คันซง ซงแดง (ปัตตานี) แทแล (ชลบุรี) ชะแล (กะเหรี่ยงกาญจนบุรี) เป็นต้น ชื่อทาง วิทยาศาสตร์คือ Broussonetia kurzil Corner. ในวงศ์ MORACEAE
สะแลเป็นไม้รอเลื้อย ลําต้นสูง 5-10 เมตร ถ้าอยู่ เดี่ยวๆ จะเป็นพุ่ม ถ้าอยู่กับไม้อื่นจะเลื้อยพันเป็นเถา เป็นไม้เนื้ออ่อนที่มีกิ่งก้านเหนียว เปลือกสีเทาเรียบไม่แตกเป็นสะเก็ด เป็นไม้ผลัดใบ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงตัวแบบสลับ รูปใบแบบไข่หรือรี ปลายใบแหลม ฐานใบกว้างรูปหัวใจ ขอบใบหยักขนาดกว้าง 4-8 เซนติเมตร ยาว 6-14 เซนติเมตร ก้านใบยาว 1.0-1.5 เซนติเมตร ผิวใบสากเนื้อใบหนาและเหนียว เส้นแขนงใบแบบขนนกมีจํานวน 7-8 คู่ ดอกเป็น พืชที่มีดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่คนละต้น ออกบริเวณกิ่ง ดอกเพศผู้เป็นช่อรูปร่างยาว มีดอกย่อยอัดกันแน่นอยู่ ไม่มีกลีบดอก ช่อดอกเพศเมียจะมีรูปร่างค่อนข้างกลม มีดอกย่อยอัดกันแน่น มีก้านเกสรเพศเมีย (Style) ชี้ยาวออกมายาว 1.0 -1.5 เซนติเมตร มีขนปกคลุม บริเวณดอกจะมียางสีขาว เวลาออกดอกใบจะร่วงหมด ออกดอกเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ผลจะเป็นผลรวม (Syncarp) จะมีลักษณะอ่อนนุ่ม เมล็ดมี รูปร่างกลมหรือกลมรีมีสีดํา ออกผลเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม มักพบสะแลขึ้นตามสวนและที่ใกล้แหล่งน้ำ
ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร คือ ผลอ่อน นิยมนำชนิดผลกลมมาเป็นผักแกงเรียก แกงสะแล แกงใส่ปลาย่าง กระดูกหมูมีรสซ่าและขมเล็กน้อย ประโยชน์อื่นๆ เช่น เปลือกและใบนำมาต้มอาบแก้บวม เนื่องจากโรคไตหรือโรคหัวใจพิการและน้ำเหลืองเสีย เหน็บชา เป็นต้น
(ข้อมูล สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม ๑๓ )
5 | |
4 | |
3 | |
2 | |
1 |