สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มช. จัดงานพิพิธภัณฑ์เรือนโบราณ แหล่งเรียนรู้วิถีชีวิต วัฒนธรรมล้านนา
เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 เวลา 09.30 น. ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์นิเวศน์ นันทจิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธเปิดงานพิพิธภัณฑ์เรือนโบราณแหล่งเรียนรู้วิถีชีวิต วัฒนธรรมล้านนา “ แอ่วเฮือน เยือนผญา” ณ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มช.
ผู้ช่วยศาตราจารย์วิลาวัณย์ เศวตเศรนี ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม กล่าวว่า ในปีนี้ได้จัดขึ้นเป็นปีที่ 8 โดยเริ่มจัดขึ้นตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2555 เป็นต้นมา และในปีนี้ได้ดำเนินการภายใต้แนวคิดตามยุทธศาสตร์ที่ 3 เชิงรุก ล้านนาสร้างสรรค์ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยบูรณาการงานวิชาการด้านชาติพันธุ์ล้านนา ร่วมกับศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
การจัดงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำทุนทางวัฒนธรรม และทรัพยากรด้านกายภาพมาใช้ให้เกิดประโยชน์ มีรูปแบบการจัดงาน 2 ลักษณะคือ กิจกรรมการเรียนรู้ด้านวิถีชีวิตล้านนา และกลุ่มชาติพันธุ์ และกิจกรรมการอบรมหลักสูตรระยะสั้น มุ่งเน้นในประเด็นของ อาหาร เทศกาล เครื่องนุ่งห่ม และงานหัตถกรรม ภายในบริเวณเรือนโบราณล้านนา โดยรอบของพิพิธภัณฑ์ฯ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีชีวิตชีวา ทั้งนี้ได้บูรณาการความร่วมมือกับเครือข่ายด้านศิลปวัฒนธรรม กลุ่มพ่อครู สล่า และผู้นำชุมชนจากหลากหลายท้องที่ มาจำลองวิถีชีวิตวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ และประเพณีที่ยังคงสืบสานจากอดีตและปรับพัฒนามาจนถึงปัจจุบัน ให้ผู้ที่มาเที่ยวชมได้เห็นและสัมผัส เรียนรู้ภูมิปัญญาผ่านการปฏิบัติและสามารถนำความรู้ไปพัฒนาและต่อยอดได้ในอนาคต
การจัดงานดังกล่าวจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2562 ตั้งแต่เวลา9.00 -17.00 น. ณ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยกิจกรรมตลอดทั้ง 3 วันประกอบไปด้วย กิจกรรมสาธิตวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ อาหารการกินของชาติพันธุ์ในล้านนา (ไทลื้อ ไทยวน ไทเขิน ไทใหญ่ และกลุ่มเครือข่ายศิลปวัฒนธรรมล้านนา) และกาดหมั้ว การบูรณาการงานวิชาการด้านชาติพันธุ์ล้านนา โดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) และฐานฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการจากสล่าล้านนา แบ่งเป็น ฐานการเรียนรู้ภายในงาน สำหรับบุคคลทั่วไปจำนวน 11 ฐาน และ ฐานการฝึกอบรมระยะสั้น 3 วัน สำหรับผู้ที่ต้องการรับใบประกาศนียบัตร จำนวน 5 ฐาน ซึ่งทุกท่านที่เข้าร่วมรับการอบรมจะสามารถนำความรู้ที่ได้ ไปต่อยอดการสร้างอาชีพได้
นอกจากนี้ ภายในงานดังกล่าว ทายาทตระกูลหลวงอนุสารสุนทรกิจและแม่นายคำเที่ยง ได้มอบทุนทรัพย์ จำนวน 900,000 บาท เพื่อร่วมดำเนินการก่อสร้างโครงการอนุรักษ์เรือนโบราณล้านนา “เรือนฝาไหล” (เรือนแม่นายคำเที่ยง) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมูลนิธิจุมภฏพันธุ์ทิพย์
5 | |
4 | |
3 | |
2 | |
1 |