ประเพณีสงกรานต์ล้านนา ประจำปี พ.ศ. 2566 (ตรงกับวันที่ 14 - 16 เมษายน 2566)

ประเพณีสงกรานต์ล้านนา ประจำปี พ.ศ. 2566 (ตรงกับวันที่ 14 - 16 เมษายน 2566)
 

ประเพณีสงกรานต์ล้านนา ประจำปี พ.ศ. 2566 ตรงกับวันที่ 14 - 16 เมษายน 2566 โดยในวันที่ 14 เมษายน 2566 เป็นวันสังขานต์ล่อง หมายถึง วันที่ปีเก่าจะผ่านพ้นไป หากจะกล่าวในแง่ของดาราศาสตร์คือวันที่ดวงอาทิตย์โคจรเข้าสู่ราศีเมษ ซึ่งถือเป็นวันสุดท้ายของปีเก่าที่กำลังจะผ่านพ้นไป คำว่า “ล่อง” ในภาษาล้านนา หมายถึง ล่วงไป หรือผ่านไป ในวันที่ 15 เมษายน 2566 เป็นวันเน่า วันเน่าสำหรับวิถีปฏิบัติของคนล้านนาถือเป็น “วันดา” คือวันที่เตรียมการสำหรับการไปทำบุญใหญ่ที่วัดในวันรุ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นวันพญาวัน ดังนั้น กิจกรรมหลักที่นิยมถือปฏิบัติกันในช่วงเช้าของวันนี้คือการจัดเตรียมข้าวของสำหรับทำบุญตามความเชื่อแต่โบราณ คืองดเว้นพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ต่างๆ อาทิ การด่าทอ ทะเลาะวิวาท ส่วนในช่วงเย็นเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจการจัดเตรียมของทำบุญแล้ว สมาชิกในครอบครัวทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ และหนุ่มสาวจะพากันถือภาชนะไปตักทรายที่ท่าน้ำใกล้บ้านเพื่อขนไปรวมกันที่วัด ในวันที่ 16 เมษายน 2566 เป็นวันพญาวัน วันพญาวันเป็นวันเถลิงศกหรือวันขึ้นปีใหม่ของชาวล้านนา ถือเป็นวันมงคล ช่วงเช้าของวันพญาวันควรเป็นกิจกรรมเกี่ยวกับบุญกุศล วิญญาณ ความเชื่อ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ กล่าวคือไปทำบุญที่วัดเพื่อความเป็นสิริมงคล และอุทิศส่วนกุศลให้ดวงวิญญาณของผู้ล่วงลับ พร้อมอุทิศถึงเทวดา เจ้ากรรมนายเวร แล้วสรงน้ำพระเจดีย์ พระพุทธรูป และปักตุงที่ค่อนข้างละเอียดลึกซึ้ง โดยแบ่งเป็นตุงประเภทต่างๆ ซึ่งความหมายส่วนใหญ่ล้วนเกี่ยวข้องกับเรื่องบุญกุศลและเรื่องของวิญญาณทั้งสิ้น

 
ประเพณีสงกรานต์ล้านนา ประจำปี พ.ศ. 2566 (ตรงกับวันที่ 14 - 16 เมษายน 2566)
ให้คะแนนบทความนี้
โดยการคลิกที่ดาว มากที่สุด = 5 ดาว

คะแนนทั้งหมด


คะแนน
จาก ครั้ง
5
0
4
0
3
0
2
0
1
0
เผยแพร่เมื่อ 12 เมษายน 2566 • การดู 22,029 ครั้ง
 

เมนู


 
วิดีโออื่นๆ ที่น่าสนใจ
ดูทั้งหมด