การสระเกล้าดำหัว ในประเพณีปีใหม่เมืองล้านนา

การสระเกล้าดำหัว ในประเพณีปีใหม่เมืองล้านนา
 

การสระเกล้าดำหัว ในประเพณีปีใหม่เมืองล้านนา

"สระเกล้าดำหัว" เป็นการสระผมตนเองและครอบครัวด้วยน้ำส้มป่อย ตามพิธีในวันสิ้นปี คือวันสังขานต์ล่อง (มหาสงกรานต์) เพื่อชำระล้างสิ่งอัปมงคลให้หายไปกับปีเก่า โดยใช้น้ำส้มป่อย (น้ำแช่ฝักส้มป่อย) ชาวล้านนาเชื่อว่าเป็นน้ำที่ช่วยชำระล้างสิ่งที่ไม่ดีออกไปได้

"สักการะ สระเกล้าดำหัว" เป็นการจัดเตรียมเครื่องสักการะ (ของไหว้) และน้ำส้มป่อยไปสักการะผู้ใหญ่ ได้แก่ พระเถระ ญาติผู้ใหญ่ ผู้ทรงคุณวุฒิ ตลอดจนถึงผู้มีอุปการะคุณ โดยจะเริ่มทำในวันขึ้นปีใหม่ คือวันพญาวัน (เถลิงศก) เพื่อขอขมาในสิ่งที่ล่วงเกินและแสดงความเคารพ เมื่อทำการขอขมาและให้พรแล้ว ผู้ใหญ่ก็จะนำน้ำส้มป่อยนั้นลูบหัวตัวเอง เสมือนเป็นการรับคำขอขมา และล้างความขุ่นเคืองที่ผ่านมาออกไป

บางครั้งก็มักจะพบคำว่า "รดน้ำดำหัว" ซึ่งเกิดจากการนำคำว่า "รดน้ำ" ของภาษาไทย ไปต่อกับคำว่า "ดำหัว" ของภาษาล้านนา สาเหตุเพราะทั้งพิธีรดน้ำภาคอื่นกับดำหัวล้านนา ต่างก็อยู่ในช่วงเวลาและธรรมเนียมปฏิบัติที่คล้ายคลึงกัน จึงทำให้เกิดการสับสนในแง่ภาษาและวิธีปฏิบัติมาโดยตลอด

 
การสระเกล้าดำหัว ในประเพณีปีใหม่เมืองล้านนา
ให้คะแนนบทความนี้
โดยการคลิกที่ดาว มากที่สุด = 5 ดาว

คะแนนทั้งหมด


คะแนน
จาก ครั้ง
5
0
4
0
3
0
2
0
1
0
เผยแพร่เมื่อ 12 เมษายน 2566 • การดู 505 ครั้ง
 

เมนู


 
วิดีโออื่นๆ ที่น่าสนใจ
ดูทั้งหมด