พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มช.
เรือนโบราณล้านนา
กิจกรรมในพิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑ์มีชีวิต
หลักสูตรระยะสั้นปี 2563
สาระความรู้วิถีชีวิตล้านนา
อาหารล้านนา
ต้นไม้ในพิพิธภัณฑ์
เฮือนเก่าเฮาฮักษา'65
AFCP 2019 การอนุรักษ์สถาปัตยกรรมล้านนาโบราณในเชียงใหม่
การปรับปรุงซ่อมแซมเรือนโบราณล้านนา เฟสที่ 1
การปรับปรุงซ่อมแซมเรือนโบราณล้านนา เฟสที่ 2
เกร็ดความรู้ภูมิปัญญาเชิงช่างกับการอนุรักษ์ (สล่าล้านนา)
การเสวนา และการอบรมเชิงปฏิบัติการ (workshop)
นิทรรศการภูมิปัญญาสล่าสร้างเรือน
วีดิทัศน์ “ถอดบทเรียนการซ่อมแซมสู่แม่แบบการอนุรักษ์เรือนโบราณล้านนา"
ข่าวสารภายในโครงการ
ติดต่อเรา
EN
พิธีมอบรางวัลภูมิแผ่นดิน ปิ่นล้านนา ประจำปี พ.ศ 2558
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดพิธีมอบรางวัลภูมิแผ่นดิน ปิ่นล้านนา ประจำปี พ.ศ 2558 ในวันศุกร์ที่ 22 เมษายน 2559 ณ ศาลาธรรม มช. เพื่อเชิดชูเกียรติประวัติของบุคคลผู้สร้างคุณประโยชน์แก่สังคมด้านการแสดงและสืบสานวัฒนธรรมประเพณีล้านนา โดยมีศาสตราจารย์คลินิก นพ.นิเวศน์ นันทจิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธี และมีผู้ช่วยศาสตราจารย์วิลาวัณย์ เศวตเศรนี ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม กล่าวรายงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร มช. และแขกผู้มีเกียรติ เข้าร่วมพิธีดังกล่าว โดยการมอบรางวัลภูมิแผ่นดิน ปิ่นล้านนา เป็นการมอบรางวัลเพื่อเชิดชูเกียรติของผู้ทรงคุณวุฒิและศิลปินที่มีคุณูปการต่องานศิลปวัฒนธรรมล้านนา โดยมีผู้ได้รับรางวัล จำนวน 4 ท่าน ดังนี้ 1.นายศรีเลา เกษพรหม สาขาภาษาและวรรณกรรม 2.นายชรินทร์ แจ่มจิตต์ สาขาภาษาและวรรณกรรม 3.นางบัวเร็ว เวสสุคำ สาขาศิลปะการแสดงและการขับขานพื้นบ้าน 4.นางบัวคำ อินเสาร์ สาขาศิลปะการแสดงและการขับขานพื้นบ้าน พ่อครูศรีเลา เกษพรหม เกิดเมื่อวันที่ 22 กรกฏาคม พ.ศ.2491 ณ บ้านเลขที่ 35 หมู่ที่ 3 บ้านไชยสถาน ตำบลป่าบง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ - พ.ศ.2502 บรรชาเป็นสามเณร ณ วัดศรีสองเมือง ตำบลไชยสถาน อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ - พ.ศ.2511 อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ ที่วัดศรีสองเมือง - พ.ศ.2515 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีสองเมือง - พ.ศ.2525 ลาสิกขาจากพระภิกษุ การศึกษา พ.ศ.2528 สอบได้ ม.3 หลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่ กลุ่มไชยสถาน ประวัติการทำงาน และผลงาน - พ.ศ.2525 ได้เข้าทำงานที่สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำงานวิจัยจารึกล้านนา ร่วมกับ ดร.ฮันส์ เพนธ์ - พ.ศ.2535 ได้รับการบรรจุเป็นลูกจ้างประจำ ในตำแหน่งพนักงานแปลอักษรโบราณ สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ นิตยสาร สารสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย รวมแล้วมากกว่า 50 เรื่อง - เขียนบทความลงในหนังสือสารสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ รวมแล้วมากกว่า 20 เรื่อง - เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นหลายเรื่อง - เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นให้กับหน่วยงานและชุมชน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2535- ปัจจุบัน ผลงานที่มีชื่อเสียง - อ่านและแปลอักษรฝักขามโบราณ - อ่านและแปลอักษรธรรม พร้อมทั้งภาษาพื้นเมืองโบราณ - มีความรู้ทางด้าน วิถีชีวิต ประเพณี พิธีกรรม และวัฒนธรรมท้องถิ่นล้านนา พ่อครูชรินทร์ แจ่มจิตต์ เกิดเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2484 ที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่ 173/2 หมู่ที่ 16 ตำบลรอบเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย การศึกษา ปริญญาศิลปศาสตร์กิตติมศักดิ์ โปรแกรมวิชาวัฒนธรรมศึกษา สภาการฝึกหัดครู พ.ศ.2537 ประวัติการทำงาน และผลงาน - ในช่วงปี พ.ศ.2497 - 2499 ท่านได้มีโอกาสเดินทางไปศึกษา ตัวอักษรไทลื้อ ณ สิบสองปันนา ทำให้เห็นความเชื่อมโยงในด้านภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ไต-ไทในลุ่มน้ำโขงต่อมาได้ไปศึกษาด้านภาษาและเอกสารโบราณของชาติพันธุ์ไต-ไท ที่เมืองคุนหมิง - พ.ศ. 2519 - ปัจจุบัน เจ้าของและบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไชยนารายณ์ ซึ่งเน้นสาระที่เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น - พ.ศ. 2532 - 2535 กรรมการร่วมสร้างพจนานุกรรมล้านนา-ไทย ฉบับแม่ฟ้าหลวง - พ.ศ. 2534 ทำฟอนต์อักษรล้านนา เพื่อใช้ในโรงพิมพ์ - พ.ศ. 2552 - 2554 ประธานคณะกรรมการสร้างพจนานุกรมล้านนา-ไทย ปริวรรต ฉบับ 750 ปีเมืองเชียงราย - พ.ศ. 2550 - 2556 เป็นกรรมการบริหารสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงรายสร้าง และประดิษฐ์อักษรล้านนาและไทลื้อ ที่ใช้พิมพ์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ (Font) ในนาม Cr-Font - เป็นวิทยากรบรรยายเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นให้กับองค์กร หน่วยงาน สถาบันการศึกษาต่างๆ แม่ครูบัวเร็ว เวชสุคำ เกิดเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ.2494 ปัจจุบัน อายุ 65 ปี จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่4 จากโรงเรียนทรายทองราษฎร์อุทิศ ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ อยู่บ้านเลขที่ 98 หมู่ 9 ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ แม่ครูบัวเร็ว เป็นบุตรของแม่ครูเตียมต๋า วงศ์วาน(ถึงแก่กรรม) โดยแม่บัวเร็วได้เรียนรู้การฟ้อนลายจากแม่ครูเตียมต๋า(มารดา) ตั้งแต่อายุได้ 6 ปี และมีผลงานการสืบทอด เผยแพร่การฟ้อนลาย สู่สาธารณชน และให้กับผู้ที่สนใจทางด้านศิลปะการฟ้อนลายมาจนถึงปัจจุบัน แม่ครูบัวคำ อินเสาร์ เกิดเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2494 ปัจจุบันอายุ 65 ปี จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่4 จากโรงเรียนทรายทองราษฎร์อุทิศตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันอยู่บ้านเลขที่ ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ แม่ครูบัวคำ เป็นหลานสาวของแม่ครูเตียมต๋า วงศ์วาน(ถึงแก่กรรม) โดยแม่บัวคำได้เรียนรู้การฟ้อนลายจากแม่ครูเตียมต๋าตั้งแต่อายุ 15 ปี และมีผลงานฟ้อนคู่ร่วมกับแม่ครูบัวเร็ว เวชสุคำ เพื่อการสืบทอดและเผยแพร่การฟ้อนลาย สู่สาธารณชน และให้กับผู้ที่สนใจทางด้านศิลปะการฟ้อนลายมาจนถึงปัจจุบัน
ให้คะแนนบทความนี้
โดยการคลิกที่ดาว มากที่สุด = 5 ดาว
คะแนนทั้งหมด
คะแนน
จาก
ครั้ง
5
0
4
0
3
0
2
0
1
0
เผยแพร่เมื่อ 22 เมษายน 2559 • การดู 1,145 ครั้ง
เมนู
เรือนโบราณล้านนา
กิจกรรมในพิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑ์มีชีวิต
เฮือนเก่าเฮาฮักษา'65
หลักสูตรระยะสั้นปี 2563
สาระความรู้วิถีชีวิตล้านนา
อาหารล้านนา
ภูมิปัญญาเชิงช่างกับการอนุรักษ์ (AFCP) 2019
- การปรับปรุงซ่อมแซมเรือนโบราณล้านนา เฟสที่ 1
- การปรับปรุงซ่อมแซมเรือนโบราณล้านนา เฟสที่ 2
- เกร็ดความรู้ภูมิปัญญาเชิงช่างกับการอนุรักษ์ (สล่าล้านนา)
- การเสวนา และการอบรมเชิงปฏิบัติการ (workshop)
- นิทรรศการภูมิปัญญาสล่าสร้างเรือน
- วีดิทัศน์ “ถอดบทเรียนการซ่อมแซมสู่แม่แบบการอนุรักษ์เรือนโบราณล้านนา"
- ข่าวสารภายในโครงการ
ต้นไม้ในพิพิธภัณฑ์
วิดีโออื่นๆ ที่น่าสนใจ
ร่วมงานไหว้สาแม่ฟ้าหลวง และแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานด้านพิพิธภัณฑ์และงานด้านศิลปวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มน้ำโขง
กิจกรรม Happy Money การฟังบรรยาย เรื่อง การวางแผนการออมเงินเพื่อการลงทุนสำหรับมนุษย์เงินเดือน
ประกวด ประการ - 11 ธันวาคม 2561
ดูทั้งหมด
บทความเป็นประโยชน์ต่อท่าน
×
ให้คะแนนบทความนี้โดยการคลิกที่รูปดาว
มากที่สุด = 5 ดาว