หลังคาจากใบค้อ

หลังคาจากใบค้อ
 

ต้นค้อ ภาคเหนือเรียกว่า “ก๊อ” หรือ “ตองก๊อ” เป็นปาล์มแบบต้นเดี่ยวที่มีขนาดใหญ่และลำต้นสูงชะลูด พบในภูเขาและป่าดิบชื้น ความสูงระดับน้ำทะเล -300 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ขนาดของลำต้นประมาณ 20 - 30 เซนติเมตร ใบยาว 140-160 เซนติเมตร เป็นรูปใบพัดจักเว้าลึก ตัวใบเป็นผืนใหญ่ติดกัน ก้านใบยาวประมาณ 2 เมตร มีหนามสีเหลืองยาวตลอดก้านใบ ช่วงการออกดอกและติดผลระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม โดยช่อดอกจะออกบริเวณซอกกาบใบ

ในภาคเหนือของประเทศไทย พบต้นค้อขึ้นตามภูเขาสูงเกือบทุกจังหวัด บางชนิดก็เป็นพรรณไม้เฉพาะถิ่น เช่น ในจังหวัดเชียงใหม่ ค้อชนิดนี้เป็นพืชที่หายากพบเฉพาะที่ดอยหลวงเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จนมีชื่อเรียกว่า “ค้อเชียงดาว” หรือค้อดอย และปาล์มรักเมฆ เป็นต้นไม้ที่ขึ้นกระจายตามเขาหินปูน บริเวณที่โล่งลาดชัน ที่ระดับความสูง 1,700-2,150 ม.

          ชาวไทยภูเขา และกลุ่มชุมชนคนล้านนาที่ตั้งที่อยู่อาศัยในพื้นที่สูงเรียนรู้วิธีการนำใบค้อมาสานเป็นหลังคา โดยการเก็บใบค้อสดจากต้น ตัดก้านใบออกแล้วแบ่งใบก๊อให้เป็น 3-4 ส่วน เอามาสานขัดเข้ากับก้านไม้ไผ่ แล้วนำไปมุงหลังคา

 

 

ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ(ออนไลน์). 2022, แหล่งที่มา : http://srdi.yru.ac.th/bcqy/view/61_%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%AD (27 กรกฎาคม 2565)

องค์การสวนพฤกษศาสตร์(ออนไลน์). 2022, แหล่งที่มา: http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=1236

รูปภาพ : นางสาวฐาปนีย์ เครือระยา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

 

 
หลังคาจากใบค้อ
หลังคาจากใบค้อ
หลังคาจากใบค้อ
ให้คะแนนบทความนี้
โดยการคลิกที่ดาว มากที่สุด = 5 ดาว

คะแนนทั้งหมด


คะแนน
จาก ครั้ง
5
1
4
0
3
0
2
0
1
0
เผยแพร่เมื่อ 27 กรกฎาคม 2565 • การดู 2,445 ครั้ง
 

เมนู


 
วิดีโออื่นๆ ที่น่าสนใจ
ดูทั้งหมด