สืบชะตาเมืองเชียงใหม่

สืบชะตาเมืองเชียงใหม่
 

             การสืบชาตาเมือง ตามความเชื่อของชาวล้านนา เป็นพิธีที่จัดขึ้นเพื่อความสงบสุขของบ้านเมือง ทั้งนี้เพราะบางครั้งเห็นว่าบ้านเมืองเกิดความเดือดร้อนอันมาจากอิทธิพลของดาวพระเคราะห์มาเบียดเบียน ทำให้บ้านเมืองปั่นป่วนวุ่นวาย เพราะการจลาจล การศึก หรือเกิดโรคภัยแก่ประชาชนในเมือง ดังนั้นผู้ใหญ่ในบ้านในเมืองจึงให้จัดทำพิธีสืบชาตาเมือง เพื่อสืบอายุของเมืองให้ดำเนินต่อเนื่องไป

          กรณีเมืองเชียงใหม่นั้น มีการทำพิธีสืบชาตาเมืองเป็นประจำทุกปี โดยกระทำต่อเนื่องกับการเข้าอินทขีลหรือการบูชาหลักเมืองเชียงใหม่ในช่วงปลายเดือนแปดต่อกับเดือนเก้า (ประมาณเดือนกรกฎาคม) ทั้งนี้ศาสตราจารย์มณี พยอมยงค์ ได้กล่าวถึงพิธีสืบชาตาเมืองในสมัยพระเมืองแก้วแห่งราชวงศ์มังราย (พ.ศ. 2038 – 2068) ไว้อย่างละเอียดโดยกล่าวว่า พระมหากษัตริย์แห่งนครเชียงใหม่จะทรงเป็นประธานในพิธีสืบชาตาเมือง เพื่อให้เกิดความสุขสวัสดีแก่บ้านเมืองและประชากรโดยทั่วไป

          โดยคัมภีร์สืบชาตาเมืองเชียงใหม่นั้น ได้ระบุว่าจะต้องเตรียมการในพิธี ดังต่อไปนี้

  1. นิมนต์พระสงฆ์จำนวนเท่าอายุของเมืองมาสวดมนต์
  2. นิมนต์พระพุทธรูปแก้วเสตังคมณีจากวัดเชียงมั่น
  3. ปูชาคัมภีร์ธัมม์สารากริกวิชชานสูตร จากวัดเชียงยืน 3 ผูก
  4. ปูชาคัมภีร์ธัมม์มังคละตันติง จากวัดดวงดี 3 ผูก
  5. ปูชาคัมภีร์ธัมม์นครฐาน จากวัดโชคิการาม 1 ผูก
  6. ปูชาคัมภีร์ธัมม์ปารมี จากวัดสิงหาราม 1 ผูก
  7. ปูชาคัมภีร์ธัมม์อุณหัสวิชัย จากวัดชัยชนะสถาน 1 ผูก
  8. ทำเจดีย์ทราย 1,000 กอง
  9. ทำธงตะขาบขนาดใหญ่สีขาว 1,000 ผืน
  10. ทำช่อ (ธงสามเหลี่ยมขนาดเล็ก) สีขาว 1,000 ผืน
  11. ทำประทีป 1,000 ดวง
  12. น้ำมันจากพืช (เพื่อเติมประทีป)
  13. เงิน
  14. ทอง
  15. ข้าวตอกดอกไม้ 1,000 กรวย
  16. ไม้ค้ำขนาดใหญ่ 9 ท่อน
  17. ไม้ค้ำขนาดเล็กจำนวนเท่าอายุเมือง
  18. เชือกฟั่นจากหญ้าคาสีเขียว 9 เส้น

ทั้งนี้อาจารย์ผู้ประกอบพิธีซึ่งเป็นหัวหน้าของคณะทำงานนั้น จะได้จัดสิ่งของต่างๆ ให้เข้าที่ โดยเฉพาะจะให้เอาเชือกฅาเขียวหรือเชือกทำจากหญ้าคาสดนั้นวางบนเมกเวียง คือใบเสมา เวียนสายสิญจน์รอบกำแพงเมืองแล้วโยงจากประตูช้างเผือก ประตูสวนดอก ประตูเชียงใหม่ และประตูท่าแพ เข้าสู่กลางเวียงและนำส่วนปลายของสายสิญจน์นั้นสอดไว้ใต้อสานะของพระพุทธรูปและพระสงฆ์ แล้วต่อสายสิญจน์จากอาสนะพาดโยงไปสู่บ้านทุกหลังโดยโยงไว้ให้พ้นจากการเหยียบย่ำ จากนั้นจึงจัดทำตาแหลวพันชั้นหรือเฉลวที่สานอย่างวิจิตรไปติดไว้ที่ประตูเมืองทุกแห่ง แห่งละ 1 อัน

 

ข้อมูลจาก สารานุกรมวัฒนธรรมภาคเหนือ 

 
สืบชะตาเมืองเชียงใหม่
สืบชะตาเมืองเชียงใหม่
สืบชะตาเมืองเชียงใหม่
สืบชะตาเมืองเชียงใหม่
สืบชะตาเมืองเชียงใหม่
สืบชะตาเมืองเชียงใหม่
สืบชะตาเมืองเชียงใหม่
สืบชะตาเมืองเชียงใหม่
สืบชะตาเมืองเชียงใหม่
สืบชะตาเมืองเชียงใหม่
สืบชะตาเมืองเชียงใหม่
สืบชะตาเมืองเชียงใหม่
สืบชะตาเมืองเชียงใหม่
สืบชะตาเมืองเชียงใหม่
ให้คะแนนบทความนี้
โดยการคลิกที่ดาว มากที่สุด = 5 ดาว

คะแนนทั้งหมด


คะแนน
จาก ครั้ง
5
1
4
1
3
0
2
0
1
0
เผยแพร่เมื่อ 13 มิถุนายน 2565 • การดู 2,197 ครั้ง
 

เมนู


 
วิดีโออื่นๆ ที่น่าสนใจ
ดูทั้งหมด