ฝาลายอำ

ฝาลายอำ
 

                   ฝาลายอำ คือ ฝาเรือนที่สานด้วยไม้ไผ่ โดยใช้ส่วนผิวไม้ไผ่เหียะ หรือไม้ไผ่เฮียะมาสาน ลักษณะเป็นกอขนาดเล็กถึงกลาง สูงประมาณ 7-12 เมตร ลำปล้องตรง และเนื้อบาง แม้ว่าผิวไม้จะมีขนเล็กๆ ติดตลอดลำต้น แต่เมื่อใช้งานไประยะเวลาหนึ่งผิวจะมันและลื่นกว่าเดิม
                    ฝาลายอำเกิดจากเทคนิคการสาน จึงมีช่องว่างระหว่างไม้ไผ่ที่ขัดกัน ช่วยให้ระบายอากาศได้ดี อีกทั้งมีน้ำหนักเบา เหมาะแก่การสร้างเรือนที่มีโครงสร้างขนาดเล็ก แต่ด้วยเนื้อไม้ไผ่มีอายุการใช้งานไม่นานจึงต้องเปลี่ยนฝาลายอำบ่อยเมื่อชำรุด
ปัจจุบันมีการดัดแปลงนำมาใช้กับงานเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ฝาลายอำแบบเดิมกลับไม่ได้รับความนิยมในการสร้างผนังเรือน เนื่องจากความเชื่อในเรื่องของความหมาย ของคำว่า “อำ” ที่มีความหมายว่า กั้น ทำให้กีดกั้น การทำมาหากินและกั้นสิ่งมงคลเข้าตัว อีกทั้งไม่ค่อยแข็งแรง ไม่เหมาะกับการใช้งานในระยะยาว จึงไม่นิยมสานฝาลายอำอีกต่อไป แต่กลับมีวิธีการสานอื่นที่ง่ายกว่ามาแทนและเป็นที่นิยมในท้องตลาดทั่วๆ ไป 

 

 

หนังสือ : หางดง ถิ่นหัตถกรรม เอกสารโครงการสร้างความเข้มแข็งทางศิลปวัฒนธรรมให้กับชุมชน สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

 
ฝาลายอำ
ฝาลายอำ
ฝาลายอำ
ให้คะแนนบทความนี้
โดยการคลิกที่ดาว มากที่สุด = 5 ดาว

คะแนนทั้งหมด


คะแนน
จาก ครั้ง
5
3
4
0
3
0
2
0
1
0
เผยแพร่เมื่อ 12 พฤษภาคม 2565 • การดู 2,985 ครั้ง
 

เมนู


 
วิดีโออื่นๆ ที่น่าสนใจ
ดูทั้งหมด