ต๊อมอาบน้ำ

ต๊อมอาบน้ำ
 

ต๊อมอาบน้ำ เป็นห้องสำหรับอาบน้ำ ในอดีตไม่นิยมทำหลังคาคลุม และไม่มีประตู ปิดผนังด้วยไม้ไผ่หรือก่ออิฐสูงประมาณสายตา ภายในมีโอ่งหรือตุ่มใส่น้ำ พร้อมขันน้ำใช้ตักอาบ เวลาอาบน้ำ ผู้หญิงจะนุ่งผ้าถุงกระโจมอก ส่วนผู้ชายนุ่งผ้าขาวม้า(ดังภาพประกอบ)

ส่วนห้องส้วม(อธิบายเพิ่มเติม) ในอดีตเป็นส้วมหลุมที่ขุดหลุมลึก แล้วถ่ายของเสียลงในหลุมจนเต็มจึงจะกลบ ด้วยเหตุนี้ เรือนชาวล้านนาจึงไม่นิยมสร้างต๊อมน้ำ(ห้องน้ำ) ห้องส้วมไว้บนตัวเรือน แต่จะสร้างต๊อมน้ำไว้หลังเรือน ส่วนห้องส้วม ต้องขุดหลุมไกลจากตัวเรือนไปประมาณ ๔๐ เมตร

 

(ข้อมูล: ฐาปนีย์ เครือระยา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มช.

ภาพ: ต่อพงษ์ เสมอใจ นักช่างศิลป์ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มช.)

 
ต๊อมอาบน้ำ
ต๊อมอาบน้ำ
ต๊อมอาบน้ำ
ต๊อมอาบน้ำ
ให้คะแนนบทความนี้
โดยการคลิกที่ดาว มากที่สุด = 5 ดาว

คะแนนทั้งหมด


คะแนน
จาก ครั้ง
5
1
4
0
3
0
2
0
1
0
เผยแพร่เมื่อ 20 เมษายน 2565 • การดู 1,395 ครั้ง
 

เมนู


 
วิดีโออื่นๆ ที่น่าสนใจ
ดูทั้งหมด