ดำหัวปีใหม่ - การสระเกล้าดำหัวในประเพณีปีใหม่เมืองล้านนา

ดำหัวปีใหม่ - การสระเกล้าดำหัวในประเพณีปีใหม่เมืองล้านนา
 

การสระเกล้าดำหัว ในประเพณีปีใหม่เมืองล้านนา

"สระเกล้าดำหัว" เป็นการสระผมตนเองและครอบครัวด้วยน้ำส้มป่อย ตามพิธีในวันสิ้นปี คือวันสังขานต์ล่อง (มหาสงกรานต์) เพื่อชำระล้างสิ่งอัปมงคลให้หายไปกับปีเก่า โดยใช้น้ำส้มป่อย (น้ำแช่ฝักส้มป่อย) ชาวล้านนาเชื่อว่าเป็นน้ำที่ช่วยชำระล้างสิ่งที่ไม่ดีออกไปได้

"สักการะ สระเกล้าดำหัว" เป็นการจัดเตรียมเครื่องสักการะ (ของไหว้) และน้ำส้มป่อย ไปสักการะผู้ใหญ่ ได้แก่ พระเถระ ญาติผู้ใหญ่ ผู้ทรงคุณวุฒิ ตลอดจนถึงผู้มีอุปการะคุณ โดยจะเริ่มทำในวันขึ้นปีใหม่ คือวันพญาวัน (เถลิงศก) เพื่อขอขมาในสิ่งที่ล่วงเกิน และแสดงความเคารพ เมื่อทำการขอขมาและให้พรแล้ว ผู้ใหญ่ก็จะนำน้ำส้มป่อยนั้นลูบหัวตัวเอง เสมือนเป็นการรับคำขอขมา และล้างความขุ่นเคืองที่ผ่านมาออกไป

บางครั้งก็มักจะพบคำว่า "รดน้ำดำหัว" ซึ่งเกิดจากการนำคำว่า "รดน้ำ" ของภาษาไทย ไปต่อกับคำว่า "ดำหัว" ของภาษาล้านนา สาเหตุเพราะทั้งพิธีรดน้ำภาคอื่นกับดำหัวล้านนา ต่างก็อยู่ในช่วงเวลาและธรรมเนียมปฏิบัติที่คล้ายคลึงกัน จึงทำให้เกิดการสับสนในแง่ภาษาและวิธีปฏิบัติมาโดยตลอด

 

 
ดำหัวปีใหม่ - การสระเกล้าดำหัวในประเพณีปีใหม่เมืองล้านนา
ให้คะแนนบทความนี้
โดยการคลิกที่ดาว มากที่สุด = 5 ดาว

คะแนนทั้งหมด


คะแนน
จาก ครั้ง
5
2
4
0
3
0
2
0
1
0
เผยแพร่เมื่อ 13 เมษายน 2565 • การดู 1,654 ครั้ง
 

เมนู


 
วิดีโออื่นๆ ที่น่าสนใจ
ดูทั้งหมด