ต้นครัวทาน

ต้นครัวทาน
 

(อ่าน “ต้นคัวตาน”)

          ชาวล้านนามักเรียกสิ่งของต่างๆ ที่นำมารวมกันแล้วตกแต่งให้สวยงามเพื่อถวายเป็นเครื่องไทยทานว่า ต้น ต้นทานหรือต้นครัวทาน โดยเฉพาะเครื่องไทยทานที่นำมาตกแต่งบนชองอ้อย คือแคร่หรือกระบะคานหามแล้วประดับประดาด้วยกระดาษสีหรือวัสดุอื่นๆ แล้วนำฟางหรือหญ้าคามาทำเป็นท่อน มัดแน่นขนาดประมาณ 2 กำ ยาวประมาณ 1-2 เมตร ส่วนล่างแยกออกเป็นสามขา เสริมด้วยไม้ไผ่เพื่อเพิ่มความแข็งแรง นำดอกไม้ประดิษฐ์หรือเครื่องไทยทาน ซึ่งแขวนกับก้านไม้ไผ่มาปักโดยรอบให้เป็นพุ่ม ทำเป็นพุ่มดอกไม้ หรือ พุ่มเครื่องไทยทาน และมียอดเป็นธนบัตรหนีบด้วยไม้ตับ ซึ่งทั้งหมดนี้มักเรียกโดยรวมว่า ต้นครัวทาน หรือ ต้นทาน และเรียกอีกอย่างว่า ต้น อันหมายถึงต้นกัลปพฤกษ์ซึ่งรวมเป็นสำรับของทานที่ร่วมมือกันจัดทำขึ้น เพื่อนำเครื่องปัจจัยไทยทานไปถวายวัดในงาน พอยหลวง (อ่าน “ปอยหลวง”) คืองานฉลองการถวายถาวรวัตถุไว้กับพุทธศาสนา และนำไปถวายวัดในเทศกาลประเพณีต่างๆ ในการเคลื่อนต้นครัวทาน เพื่อนำไปถวายเป็นทานนั้น มักจะมีการแห่แหนด้วยขบวนฆ้องกลองซึ่งอาจมีช่างฟ้อนทำหน้าที่ฟ้อนรำนำขบวนไปด้วย

          ต้นโคม (อ่าน “ต้นโกม”) ชุดเครื่องไทยทานอันมี ดวงโคมเป็นหลัก จัดขึ้นคล้ายกับต้นครัวทานตามปกติเพียงแต่เน้นดวงโคมเป็นหลัก เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่จะเคลื่อนขบวนเครื่องไทยทานเข้าวัดหลังพระอาทิตย์ตกดิน ดวงโคมนั้นจะทำจากกระดาษว่าว โดยพวกผู้ชายจะนำไม้ไผ่ผูกเป็นโครงของโคมรูปต่างๆ เช่น โคมทรงกลม โคมรูปดาว หรือโคมรูปเครื่องบิน เป็นต้น ฝ่ายผู้หญิงจะตัดกระดาษว่าวสีต่างๆ มาทากาวแล้วปะกับโครงไม้ไผ่โดยรอบ เว้นไว้เฉพาะช่องด้านบนสำหรับเป็นช่องจุดเทียนและระบายเปลวเทียน โคมเหล่านี้จะถูกแขวนกับก้านไม้ไผ่แล้วเสียบเข้ากับ ต้น ที่ทำด้วยฟางหรือหญ้าคานั้น และจะให้เป็นพุ่มพวงงดงามตามสี และทรง เมื่อจุดเทียนที่อยู่ในโคมทุกดวงแล้ว ต้นโคมจะมีความดงงามมาก การแห่ต้นโคมประเพณีในเดือนยี่เพง หรือวันเพ็ญเดือนยี่ ซึ่งตรงกับเดือน 12 เพ็ญ คือวันลอยกระทงของภาคกลาง บางหมู่บ้านจะมีการประกวดต้นโคม ทำให้ศรัทธาวัดแต่ละกลุ่มขวนขวายช่วยกันจัดแต่งต้นโคมให้สวยงาม ประณีตและดูมีคุณค่าเพื่อการประกวดดังกล่าว

ต้นดอก

เป็นต้นครัวทาน ที่เน้นการประดับด้วยดอกไม้ประดิษฐ์ ดังพบว่านิยมใช้กระดาษว่าวมาตัดเป็นกลีบดอกไม้แล้วอัดให้เป็นรอยย่น นำกลีบดอกไม้ที่อัดรอยนั้นมาผูกเข้ากับก้านไม้ไผ่หรือก้านมะพร้าวให้เป็นดอกไม้ที่ชูช่อ ก้านไม้ไผ่นั้นก็มักจะใช้กระดาษสีพันไว้ บางครั้งเจ้าภาพอาจใช้กระดาษเงินหรือกระดาษทองมาตัดแต่งเป็นดอกไม้ก็ได้ เมื่อนำก้านดอกไม้นั้น เสียบเข้ากับต้นที่ทำจากฟางหรือหญ้าคา และจัดดอกไม้ให้เป็นพุ่มใหญ่แล้ว ก็มักจะจัดไม้หนีบธนบัตรแล้วปักไว้เป็นยอดอีกด้วย

          ในระยะ พ.ศ. 2541 นี้ พบว่าบางวัดที่เจ้าภาพมีฐานะ ได้มีการใช้ธนบัตรฉบับละร้อยบาทคีบด้วยไม้หนีบแล้วปักแต่งด้วยต้นเฟืองหรือต้นที่ทำจากฟางข้าว รวมมูลค่าของธนบัตรแล้วไม่ต่ำกว่าหนึ่งแสนบาทก็มี นอกจากนี้ต้นดอก ยังหมายถึงเครื่องสักการะแบบหนึ่ง นำไปบูชาผู้ที่เราให้ความเคารพ โดยเอาดอกไม้สอดเข้าไปในโครงร่างที่ทำไว้แล้วจนเต็ม อาจมีดอกไม้หลากชนิด ทั้งนี้ถ้าไม่มีโครงไม้อาจะใช้ต้นกล้วยแทนได้

ข้อมูลจาก สารานุกรมวัฒนธรรมภาคเหนือ  

 

 
ต้นครัวทาน
ต้นครัวทาน
ต้นครัวทาน
ต้นครัวทาน
ต้นครัวทาน
ต้นครัวทาน
ต้นครัวทาน
ให้คะแนนบทความนี้
โดยการคลิกที่ดาว มากที่สุด = 5 ดาว

คะแนนทั้งหมด


คะแนน
จาก ครั้ง
5
2
4
0
3
0
2
0
1
0
เผยแพร่เมื่อ 16 มีนาคม 2565 • การดู 2,825 ครั้ง
 

เมนู


 
วิดีโออื่นๆ ที่น่าสนใจ
ดูทั้งหมด