จะมาไม้ไหน ตอนที่ 1 (อาจารย์จุลพร นันทพานิช) - Choosing the Right Wood Part 1 (Ajarn Chunlaporn Nunthapanich)

 
 

จุลพร นันทพานิช สถาปนิกวิชาชีพที่ทำงานออกแบบโดยอิงกับรากฐานทางวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยเฉพาะวัฒนธรรมของท้องถิ่นล้านนา นิยมใช้วัสดุทางธรรมชาติมาใช้ในการออกแบบที่อยู่อาศัย และใช้งานได้ดีในเชิงร่วมสมัย ขณะเดียวกันผมก็มีความสนใจในทางธรรมชาติวิทยา สังคมวิทยา และวัฒนธรรมของล้านนา เพื่อใช้เป็นนั่งร้านในการประกอบการทำงานออกแบบสถาปัตยกรรม

          Chunlaporn Nunthapanich , professional architect. I design based on traditional local Lanna cultural references. I prefer to use natural materials in designing houses. I am also interested in using natural sciences, social sciences, and Lanna culture in my architectural design process.

          วันนี้จะมาพูดถึงคุณค่าของพันธุ์ไม้ท้องถิ่น 5 ชนิด ที่อยู่ในภูมิประเทศของล้านนา แล้วก็อยู่ในวัฒนธรรมการใช้สอยของคนล้านนามาเนิ่นนาน ซึ่งเชื่อว่ามากกว่าพันปี ก็คือ ไม้สัก ไม้ประดู่ป่า ไม้แดง ไม้เต็ง (ไม้แงะ) ไม้รัง (ไม้เปา)

          Today, I want to talk about the quality of five local varieties of wood in the Lanna region that also have had cultural value to the Lanna people for more than 1000 years. These types of wood are teak, rosewood, ironwood, shorea wood, and sal wood.

          ต้นสัก เป็นไม้ท้องถิ่นทางเหนือ และภาคกลางตอนบน มักจะเกิดในป่าเบญจพรรณ ที่ไม่สูงจากระดับน้ำทะเลเกิน 900 เมตร เป็นไม้เนื้อปานกลางที่มีคุณภาพดี เพราะมอดแมลงจะไม่กิน ไสแต่งง่าย มีเนื้อไม้ที่สวย และมีน้ำหนักไม่มากเกินไป คนล้านนาในอดีตนิยมเอาไม้สักไปทำเป็นโครงสร้างหลังคา หรือบางที่มีไม้สักเยอะก็จะนำมาหั่นด้วยขวานมาทำเป็นแป้นเกล็ดมุงหลังคา ทำกระดานพื้น ทำฝาเรือน หรือไม่ก็เอาไปทำประตูหน้าต่าง เนื้อไม้เส้นตรง ไสตกแต่งง่าย ก็เป็นที่นิยมของคนล้านนาในอดีตที่เอาไปใช้ทำที่อยู่อาศัย

          Teak is local to northern and north-central Thailand. It is mostly found in mixed deciduous forests at an elevation of no more than 900 meters above sea level. It is a wood of medium hardness and good quality because insects don’t eat it. It is easy to carve and is beautiful wood. It is also not too heavy. Lanna people in the past used to use teak wood as the structure of the roof, and sometimes if there was excess it was used as roof tiling, floorboards, wall paneling, or doors and windows. The wood grain is straight and it is easy to carve, making it a popular wood for house construction among Lanna people in the past.

          ต้นประดู่ป่า หรือคนเมืองจะเรียกว่าไม้ดู่ เป็นไม้เนื้อแข็ง มีความทนทาน มอดแมลงไม่รบกวน เพราะฉะนั้นในอดีตคนเมืองมักจะนำไม้ดู่ไปทำเสาเรือน หรือไม่ก็โครงสร้างพื้น บางทีก็เลื่อยทำเป็นกระดานพื้นเรือนเพราะว่าไม้มีความแน่น มีลวดลายที่สวยงาม และทนทาน ไม้ดูนอกจากเอาไปทำที่อยู่อาศัยแล้ว คนล้านนาในอดีตจะเอายางจากเปลือกไปย้อมผ้าให้เกิดสีแดง เดี๋ยวจะสาธิตถากให้ดูว่ายางไม้ประดู่จะมีสีแดง แล้วจะนำเปลือกไปต้มแล้วก็ใช้ย้อมผ้าได้ด้วย ไม้ประดู่ก็เลยมีประโยชน์หลายอย่าง นอกจากเอาไปทำโครงสร้างเรือน เสาเรือน พื้น แล้วก็ยังสามารถนำเปลือกไปย้อมเส้นฝ้ายให้เกิดสีแดง นำเปลือกไปต้มในน้ำและหมักไว้จะเกิดน้ำสีแดงเอาไปย้อมเส้นฝ้ายทอผ้าได้

 
ให้คะแนนบทความนี้
โดยการคลิกที่ดาว มากที่สุด = 5 ดาว

คะแนนทั้งหมด


คะแนน
จาก ครั้ง
5
6
4
1
3
0
2
0
1
0
เผยแพร่เมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2565 • การดู 1,862 ครั้ง
 

เมนู


 
วิดีโออื่นๆ ที่น่าสนใจ
ดูทั้งหมด