เล่าเรื่องเรือน (อาจารย์ธวัชชัย ทำทอง) - Telling the story of a House (Ajarn Thawatchai Tumtong)

 
 

ประเด็นที่จะมาพูดถึงในวันนี้คือเรื่องเรือนล้านนา ในความเป็นเรือนล้านนาโดยทั่วไปที่เราเห็นจะมองแค่ตัวอาคารสถาปัตย์ แต่เบื้องหลังก่อนที่จะได้เรือนล้านนาขึ้นมา 1 หลัง ยังมีกระบวนการขั้นตอน มีแนวคิดตามหลักคิดของคนโบราณค่อนข้างมีรายละเอียดเยอะมาก ก่อนจะได้ตัวอาคารขึ้นมา เพราะฉะนั้นจึงเป็นองค์ความรู้ที่สำคัญของการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมที่กำลังจะสูญหาย นอกจากตัวเรือนที่กำลังหายไปเรื่อยๆ ตามความสะดวกสบาย กระแสแฟชั่นในสมัยใหม่ในการสร้างบ้านเรือน จึงทำให้องค์ความรู้เหล่านี้หายไปหมดเลย ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีที่สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้รวบรวมอาคารเหล่านี้ เรือนโบราณเหล่านี้เป็นพิพิธภัณฑ์ ศูนย์การเรียนรู้เรื่องเรือนล้านนา

          The topic I want to talk about today is Lanna architecture. When we look at a Lanna house, we see just the structure itself, the architecture. But behind that, before we get a Lanna house, there is a process of many steps, there is a very detailed thought process in line with traditional thought that all happens before we can get this structure. Therefore, this is important knowledge to conserve in order to pass down the cultural heritage that is slowly fading along with the houses that are continuing to disappear with new standards of convenience. Current architectural trends are causing this knowledge to disappear. This is why it is important that the Center for the Preservation of Arts and Culture, Chiang Mai University, has collected all of these structures. These traditional houses make up a museum and a center of learning about Lanna houses.

ในส่วนการสร้างเรือนล้านนาในอดีตนั้น จะมีขั้นตอนกระบวนการซึ่งแบ่งเป็นภาพรวมไว้ได้ประมาณห้าถึงหกขั้นตอน

Building a Lanna house in the past required a process that can be divided into 5 or 6 steps.

ขั้นตอนที่ 1 ก่อนที่จะสร้างบ้านได้ 1 หลัง ผู้เป็นเจ้าของบ้านจะต้องตรวจสอบความพร้อมของตนเองก่อน ความพร้อมในที่นี้คือ เรื่องกำลังทรัพย์ ความพร้อมเรื่องบริบทโดยรอบและการตรวจดวงชะตา อายุตก ว่าปีนี้อายุตกเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสมกับการสร้างเรือน ถ้าอายุยังตกไม่เป็นมงคล ก็จะต้องข้ามไปก่อนจนกว่าจะได้อายุตกที่เป็นมงคล โดยคนโบราณมักจะเขียนไว้ในตำราปั๊ปสา ใบลานต่างๆ สืบทอดกันมา ดดยเฉพาะตำราแรกที่ผมกล่าวถึงนี้ ก็จะตีเป็นผังเก้าห้องโดยจะมีตัวอย่างว่าเมื่อใครคนหนึ่งอยากสร้างบ้าน ต้องตรวจดวงชะตาตนเองก่อนว่าปีนี้เหมาะสมหรือยัง โดยตำราจะมีผังอยู่เก้าห้องและให้ไล่ตามตารางตามอายุตก เช่น ต้นกล้วยคำ(ทอง) เรือนแก้ว เรือนผีตาย ขันได(บันได)แก้ว จมขมแก้ว เรือนจ้าย เรือนคว่ำ โลงผี วนกันอยู่แบบนี้จนตกครบอายุตนเอง เช่นหากอายุตกที่ต้นกล้วยคำ(ทอง) เรือนแก้ว อันนี้ถือว่าดีเป็นมงคล สามารถสร้างได้ แต่หากตกที่เรือนผีตายก็ให้ข้ามไปก่อน โดยหากฝืนที่จะสร้างในอายุตกปีนั้นก็จะถือว่าเรือนนี้ไม่เป็นมงคล อาจจะมีคนตายในเรือนนี้โดยไม่ใช่เหตุ ขันได(บันได)แก้ว จมขมแก้ว เป็นสิ่งที่ดี หากนับไปอีกเป็นเรือนจ้าย ก็หมายถึงเรือนเหงี่ยง (เรือนเอียง) ไม่ดี เรือนคว่ำก็ไม่ดี และสุดท้ายเรือนผีก็ถือเป็นจุดที่ไม่เป็นมงคลไม่ควรสร้าง

First, before building a house, the houseowner would have to consider how prepared they were. Being prepared here refers to resources, the surrounding conditions, and checking their fate. They must check whether their age is appropriate for building a house in that specific year. If their age is not favorable for building a house in that year, then they will need to wait until their age lines up fortuitously. In the past, Lanna people wrote in a reference book called the Papsaa, which was passed down for generations. It had a plan that explained that whenever anyone wanted to build a house, they needed to consult the stars first to check whether or not it was a suitable year to build. There was a cycle that indicated whether it was a good year to build a house or not. If someone’s age fell on a good year to build a house, that was considered auspicious. However, if it was a bad year to build a house, they would need to wait. If they decided to build the house anyway, it was not considered auspicious, and people believed that bad things would happen in the house, such as unexplained death. It was important to consult the cycle to determine whether it was a good year to build a house or not.

สมมุติว่าอายุ 18 จะสร้างบ้านก็ได้ เพราะตกที่เรือนแก้ว แต่หากอายุ 19 ตกที่เรือนผีตายไม่ดี อายุ 20 – 21 ดี อายุ 22 23 24 ไม่ดี และพอมาถึงอายุ 25 26 ก็จะดี เหล่านี้คือการไล่อายุตามตารางว่าปีไหนควรจะสร้างเรือนถึงจะดี ให้เจริญวุฒิกับผู้เป็นเจ้าของเรือน เพราะฉะนั้นพอรู้ว่าปีนี้หรือปีหน้าตนเองจะตกที่อายุมงคล เช่นต่อกันระหว่างต้นกล้วยคำ (ทอง) กับเรือนแก้ว ในช่วงปีแรกก็อาจจะเริ่มฮิบไม้ (การจัดเตรียมไม้สำหรับเอามาสร้างบ้าน) โดยในสมัยโบราณจะทำการหาไม้กันเองในป่า เพราะฉะนั้นก็จะมีการบันทึกเป็นตำราการหาไม้มงคลเพื่อนำมาสร้างบ้านอีก

For example, if someone was 18, they would be able to build a house because it was an auspicious year (ruen kaew). But once they were 19, that was not an auspicious year (pee taai). Ages 20 and 21 were good, but 22-24 were not. Then 25 and 26 were good again. This is all according the schedule recorded about which years were suitable for building a house and bring good fortune to the homeowner. So, if someone knew that this year and next year were auspicious years for building a house, they might begin to prepare the wood, which needed to be collected from the forest in the past. It was recorded in the record book that the wood was found in an auspicious year, making it auspicious wood.

กระบวนการฮิบไม้ (การจัดเตรียมไม้สำหรับเอามาสร้างบ้าน) ก็จะมีการหาวันดี วันเสีย วันม้วย ก็คือวันดีมงคล กับไม่ดี เว้นวันที่เป็นอัปมงคล ดูทิศทางวันที่จะออกไปตัดไม้ เสร็จแล้วพอเข้าไปในป่าก็จะไปเลือกไม้ หากเลือกไม้ได้ตามที่ต้องการแล้ว ก็จะมีพิธีการขอ บอกกล่าวเจ้าที่เจ้าทาง เทวดาที่สถิตอยู่ในต้นไม้นั้นๆ โดยจะต้องเชิญออกก่อนแล้วถึงจะขออนุญาตตัด เพราะถือว่าในต้นไม้จะมีรุกขเทวดาอยู่ จึงต้องขออนุญาตไม่ให้รบกวน หากไม่ทำแล้วจากที่จะตัดไม้มาเป็นมงคลกับบ้านกลับกันจะให้โทษเพราะเทวดาอาจจะโดนรบกวน รังควาน อาจจะมาให้โทษได้ในภายหลัง

The process of preparing the wood involves identifying which days are good and which days are bad. Preparations must happen on the auspicious days. When the person who wanted to build a house determined which days were suitable, they went out and cut the wood and chose the best wood for the house. After the wood was chosen, there was a ceremony to ask for the wood from the spirits of the land and of the tree. The spirit in the tree had to be invited out in order to ask permission to cut the tree down. It’s important to request permission from the spirit, otherwise, rather than being auspicious wood for the house, the homeowner might be punished in the future for disturbing the spirit.

ในการเลือกไม้มาทำบ้านนั้นจะมีรายละเอียดยิบย่อยมาก เช่น การดูเดือนในการตัดไม้ เพื่อเอามาทำบ้าน จะมีบอกไว้ว่าแต่ละเดือนมีไม้ชนิดใดเป็นพญา (เป็นใหญ่) เช่น ไม้เดื่อ ไม้ขี้เหล็ก ไม้ม่วง และไม้ต่างๆ การตัดจะแฮก (เริ่ม) ตัดเอาพญาไม้ก่อน แล้วไม้อื่นที่เหลือค่อยตามมา จากนั้นดูลักษณะไม้ โดยข้อห้ามเรื่องลักษณะไม้มีเยอะมาก ซึ่งอาจจะพูดได้ไม่ทั้งหมด แต่จะสามารถยกตัวอย่างได้ เช่น ไม้ที่จะนำมาทำเรือนได้นั้น

The process of choosing wood for the house is very detailed. It’s important, for example, to consider the month that the wood will be cut. It was said that each month had a kind of wood that was ‘king’, such as deua wood, kheelek wood, muang wood, and other woods. Cutting started with the ‘king’ wood, and then proceeded with the other woods. Other characteristics of the wood were considered, and there were many restrictions about what characteristics were not allowed. There were too many to cover all of them, but there are a number of examples.

คุณลักษณะแรก ลำต้นต้องตรงงาม โคนต้นใหญ่ ปลายเถียว (ปลายเรียว) ถ้าโคนต้นเถียว ปลายใหญ่ ไม่ดี หรือโคนต้น กับปลายเท่ากัน แต่ตรงกลางป่องก็ไม่ดี ไม้ที่ขึ้นเป็นลำต้นตรง แต่ปลายแตกออกเป็นหางปลาก็ไม่ดี

For the wood used to build a house, the first important characteristic was that the trunk of the tree had to be straight, large at the base, and tapered toward the top. If the base was smaller than the top, that was not good. Or if the base and the end were the same size, but it got bigger in the middle, that was not good. A straight trunk that split towards the top was also not good.

ไม้สองนาง โคนเดียวกันแต่ออกเป็นสองแง่งก็ไม่ดี ไม้ปลายด้วนก็ไม่ดี ไม้ที่ขึ้นบนจอมปลวกก็ไม่ดี ไม้ที่เครือเถาวัลมาพันบิดเกลียวก็ไม่ดี ไม้มีตาไม้เยอะก็ไม่ดี ไม้ปลายด้วนก็ไม่ดี ไม้ตายพรายก็ไม่ดี หรือตัดแล้วมีลมออกจากต้นไม้ก็ห้ามเด็ดขาด ซึ่งรายละเอียดการเลือกไม้จะเยอะมากพอสมควร

If a base forked off into two trunks, that was also not good. A trunk that had been broken off toward the top was also not good. A tree that grew out of a termite mound was also not good. Wood covered with a network of twisted vines was also not good. Wood with a lot of knots was also not good. Dead wood was also not good. Or if air escaped from the wood when being cut, it cannot be used. There were a great number of rules like this.

จากกระบวนการการฮิบไม้ (การจัดเตรียมไม้สำหรับเอามาสร้างบ้าน) แต่ยังไม่ได้ปรุงเครื่อง โดยอาจจะต้องนำไม้ที่ได้มาเก็บไว้ก่อนเพื่อให้แห้ง และหมาดพอสมควร โดยจะไม่ตัดไม้สดแล้วมาปรุงเครื่องสร้างบ้านเลยไม่ได้

After selecting the wood, the wood needed to be dried before it was used. Freshly cut wood was not ready to be used for building a house.

ขั้นตอนการดูผังที่ดิน คนโบราณจะให้ความสำคัญกับการดูผังที่ดิน โดยจะบันทึกไว้เป็นตำรา อย่างเช่น ตำราที่บอกว่าผังที่ดินรูปลักษณะไหนที่เป็นมงคล เช่น สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า สี่เหลี่ยมลักษณะต่างๆ จะถือเป็นรูปแบบที่เป็งมงคล ในส่วนผังแบบอื่นๆ เช่น ผังแบบคันธนู อันนี้ไม่ดี หากอยู่แล้วจะมีโรคภัยไข้เจ็บ ผังแบบในตำราเขียนว่าสิชะคาม อยู่แล้วทะเลาะเบาะแว้งกัน ไม่ดี หรือในปัจจุบันว่าผังที่ดินเหมือนงอนปืน ผังต่างๆ จะมีทั้งแบบดีและไม่ดี หรือผังแบบชาวมอญ ทรงคล้ายๆ กับหยดน้ำ เครื่องสูงของเจ้านาย หรือพระพุทธรูป ทรงนี้ถือว่าเป็นมงคล หากเป็นทรงหอยสังข์ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ส่วนผังที่ดินแบบกลมดี แบบต้องสะเปาดี หากที่ดินตกแบบสามเหลี่ยมไม่ดีสักอย่างเลย เหล่านี้คือตำราในการมองที่ดินเพื่อสร้างบ้านของคนโบราณ เพราะในสมัยก่อนที่ดินจะไม่มีการกำหนดขอบเขตชัดเจน คือแล้วแต่จะไปจับจอง ฉะนั้นในการไปจับจองก็จะต้องทำการดูขอบเขตหรือลักษณะฟอร์มของที่ดินให้ชัดเจนก่อนที่จะมาวางแผนในการสร้างบ้านต่อไป

In the past, considering the plot of land was very important. The plot of land chosen was recorded in a record book. A record book would indicate which kind of plot was auspicious, such as a square plot, a rectangular plot, or other four-sided shapes. Other shapes, like a bow shape, were not good and would lead to sickness and injury. Other shapes could lead to arguments and fighting. Today, the shape of land plots is still considered to be either good or bad. The Mon people have land plots in the shape of a water drop, the shape of the owner’s crest, or a Buddha figure. This is considered auspicious. A plot in the shape of a conch shell is not good.  A round plot is good, but a triangular plot is not good at all. This is all according to the knowledge passed down for generations about choosing a plot of land to build a house. In the past, the borders of a plot of land were not clearly marked, so it was up to what was claimed by the owner. So when reserving, the owner had to carefully consider the edges and shape of the plot where they wanted to build the house.

นอกจากดูผังแล้ว จะต้องมาดูความลาดเอียง เช่นเอียงจากตะวันออก หลิ่ง (เนิน) ตะวันตก หรือ หลิ่ง (เนิน) ตะวันตกลงตะวันออก เหนือลงใต้ ใต้ลงเหนือ อันนี้ก็จะมีตำราระบุไว้ว่าลาดเอียงไปทางไหนจะดี ทิศเอียงไปหาแม่น้ำ เอียงไปหาจอมปลวก เอียงไปหาหมุดหมายเช่นต้นไม้ ซึ่งจะมีความหมายที่บ่งบอกบอกลักษณะความเป็นมงคล หริือไม่เป็นมงคล ดูทิศทาง ความลาดเอียง และดูบริบทโดยรอบ เช่น ดูจอมปลวก ดูต้นไม้ ดูก้อนหิน เช่นอยู่จอมปลวกอยู่ทิศไหนของบ้าน ตัวอย่างอยู่ทิศตะวันออก ห่างกี่วาจะเป็นมงคลหรือไม่เป็นมงคล หากเป็นมงคลก็เอาไว้ที่เดิม หากไม่เป็นมงคลก็ให้ทำพิธีเครื่องบูชา หากบูชาเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ให้ขุดออกทิ้ง

In addition to considering the shape of the plot, the homeowner must look at the slope of the land. If it slopes down from east to west, or if it slopes down from west to east; north to south, or south to north. The reference books recorded which slopes were good. Sloping down to a river, to a termite mound, to a landmark like a tree. The landmark would have a meaning that indicated whether it was a good slope or not. The direction, the slope, and the surroundings were considered. For example, look for termite hills, trees, rocks, and consider where they are in relation to the house. For example, it’s a certain number of waa to the east of the house; is that auspicious or not? It if is, then keep it the same. If it isn’t, then perform a ceremony of honor, and then remove whatever needs to be removed.

การดูที่ดินมีสองลักษณะคือ ที่เก่า กับ ที่ใหม่ ที่ใหม่คือตามข้างต้นมาคือที่ที่ไปจับจอง ยังไม่เคยมีหมู่บ้าน ไปเลือกเพื่อจะตั้งหมู่บ้าน ที่แบบนี้ก็จะต้องไปดูลักษณะที่ ดูหลัก ดูตอไม้ ดูจอมปลวก ดูหนอง และขอเทวดา ซึ่งจะมีรายละเอียดพิธีกรรมค่อนข้างมาก

There are two methods of considering the land: the old way and the new way. The new way is what was mentioned above. A place that has never had a village is claimed to establish a village. It’s important to look for stakes, stumps, termite hills, and swamps, and make a request to the spirits. This ceremony has a lot of specific details.

และในส่วนของที่เดิมก็จะมีข้อควรระวัง เช่น ไม่ควรสร้างเรือนทับตำแหน่งเดิมของครกมอง ไม่ควรสร้างเรือนทับตำแหน่งเดิมของหลองข้าว หรือขุดเสาไปเจอว่ามีกระดูกคน แสดงว่าที่นี้เคยเป็นป่าช้า (สุสาน) หากเจอในลักษณะเหล่านี้ต้องมีการถอนขึด ฝังแม่ธรณี ฝังธนู ซึ่งเป็นเรื่องของพิธีกรรม

There are many important things to avoid. For example, a house shouldn’t be built where there used to be a mortar or a rice silo. If when digging to place a house pillar, you find human bones, that means it used to be a cemetery. If any of these things are found, you must stop building and perform a ceremony.

ขั้นตอนการกำหนดขนาดของเรือนเพื่อปรุงเครื่องไม้ ซึ่งเข้าสู่กระบวนงานช่าง แล้วแต่บริบทของผู้เป็นเจ้าของ เช่น ผู้เป็นเจ้าของเป็นขุนนาง เป็นเจ้านาย เป็นคหบดี เป็นชาวบ้านธรรมดา หรือครอบครัวชาวบ้านธรรมดาที่กำลังแยกจากเรือนใหญ่ไปสู่การปลูกเรือนใหม่ ฉะนั้นขนาดของเรือนจะมีสัดส่วนที่แตกต่างกัน ในการกำหนดขนาดของเรือน สิ่งสำคัญคือการกำหนดขนาดของขื่อ และแป เป็นหลัก โดยสมัยโบราณจะมีการกำหนดขื่อและแปตามลักษณะเรือนต่างๆ ยกตัวอย่าง

Steps to determining the size of the house to prepare the carpentry tools. This brings us to the actual construction. It depends on the status of the owner, for example a nobleman, a prince, a wealthy person, a local person, or a local family that wants to separate into different new houses. The sizes of these house will be different. When determining the size, the important thing is the size of the tie beam and the truss. In the past, the size of the tie beam and the truss was determined based on the type of house. For example:

ถ้าแปยาว 12 ศอก ขื่อยาว 10 ศอก จะเรียกว่า คชลักษณะ รูปร่างเหมือนช้าง

A truss of 12 sok and a tie beam of 10 sok was called kotchalaksana, a body like an elephant

แป 20 ศอก ขื่อ 12 ศอก ธนาลักษณะ

Truss 20 sok, tie beam 12 sok was thanalaksana

แป 14 ศอก ขื่อ 11 ศอก สหรลักษณะ

Truss 14 sok, tie beam 11 sok was saharalaksana

แป 14 ศอก ขื่อ 12 ศอก อุสุภลักษณะ

Truss 14 sok, tie beam 12 sok was usuphalaksana

เหล่านี้คือตัวอย่าง การกำหนดขื่อและแป ซึ่งจะทำให้รู้ขนาดของเรือนได้โดยปริยาย พอกำหนดขื่อและแป ก็จะทำให้ทราบตำแหน่งของเสาเรือน ว่าจะวางตำแหน่งของเสาเรือนกี่ช่วงเสา จำนวนกี่ต้น พอเรารู้ขื่อและแปเราต้องกำหนดจำนวนเสา ปัจจุบันสล่าท้องถิ่นยังคงยึดถือคติการนับโฉลกเสา และให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เพราะถือว่าเป็นหัวใจหลักความเป็นมงคลหรือไม่เป็นมงคลของบ้าน

These are examples of specifications about the tie beam and truss size, which indicates the size of the house. It also indicates the positions and number of support columns. Once we know the tie beam and the truss length, we can determine the number of columns needed. Today, local carpenters still use traditional methods to determine the number of columns. This is still considered important because it is at the heart of what makes a structure auspicious or not.

          ในโฉลกเสามีหลายตำรา นับแปด นับสิบ นับสิบสอง อย่างเช่นนับแปด น้ำบ่อแก้วกินเย็น ผีเข็ญฮ่มจ๊าง คาดฮ่างเลี้ยงควาย หยิบถุงลายใส่เงินย่อย ตามอ้อยตามกล้วยเสียผี เศรษฐีตานลูก ผูกพ่อเฒ่ากิ๋นเมือง เปลวไฟเหลืองก๊ำฟ้า อันนี้คือโฉลกเสา ก็จะทำการนับวนแบบนี้ ถ้าตกเปลวไฟเหลืองก๊ำฟ้าก็จะกลับมาที่น้ำบ่อแก้วกินเย็นอีกรอบวนไปแบบนี้ ก็จะมีตัวบอกว่าอันไหนคือตำแหน่งที่ดีหรือไม่ดี เช่นน้ำบ่อแก้วกินเย็นอันนี้ถือว่าดี ผีเข็ญฮ่มจ๊างอันนี้ไม่ดี คาดฮ่างเลี้ยงควายไม่ดี หยิบถุงลายใส่เงินย่อยดี ซึ่งมันจะบ่งบอกไปในลักษณะนี้ วนไปเรื่อยๆ ให้ตกที่ดี เพราะฉะนั้นตำราเสาก็จะเป็นแบบนี้จนตกโฉลกจำนวนมงคล

           There is a lot of lore about the luck of the house columns. There’s 8-count, 10-count, 12-count. For example, the 8-count lore has a poem that includes 8 lines, which indicates the luck of the pillars. These lines will indicate which positions are good and which are bad. For example, the first line is good, the second line is not. The third line isn’t good, but the fourth line is. This poem cycles through and repeats and helps determine where to place the pillars so they are in of an auspicious number and in good locations.

          เสาที่พูดถึงคือเสาทุกต้น ไม่ว่าจะเป็นตัวเรือน เสาชาน เสาครัวไฟ (ห้องครัว) นับเป็นเสาหมด เพราะฉะนั้นต้องลงเลขที่เป็นมงคล จำนวนของเสาสัมพันธ์กับตัวขื่อแป ถ้าไม่ตกเป็นมงคลก็มาเพิ่มตรงที่ส่วนชาน ชานตากฝน ชานครัวไฟ (ห้องครัว) สามารถเติมได้ ให้ลงตรงเลขมงคล

          This refers to all the columns, including the house support columns, the porch columns, and the kitchen columns. These all count as columns, and so they must all be counted to make sure there is an auspicious number. The number of columns is related to the tie beam and the truss. If the number is not an auspicious number, then columns can be added to the porch, the landing, or the kitchen so that it is an auspicious number.

          อีกสัดส่วนที่ต้องปรุงคือ การกำหนดสัดส่วนของห้องอาคาร โดยทั่วไปจะนับเรือนประธานเป็นหลัก โดยตัวอย่างอาคารในพิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา จะมีอาคารในลักษณะเรือนแฝดอยู่หลายหลัง หลังที่ใหญ่โดยมากจะอยู่ทางทิศตะวันออกเรียกว่าเรือนหลวง โดยโฉลกแล้วจะต้องมี 5 ห้องขึ้นไป คือ 5 ช่วงเสา และจะมีการไล่ตำแหน่งเสาเพื่อให้วางตำแหน่งฟังชั่นการใช้งานของเรือนให้ถูกต้อง ดดยจะไล่จากเสาต้นแรก คือ สัพพัญญู ต้นที่สองชมพูหมายทีป ต้นที่สามไม้หนีบตาผี ต้นที่สี่ไม้สลีมาเป๋นเปื้อน ต้นที่ห้าเอาไม้เถื่อนมาเป๋นมงคล ต้นที่หกพระเตียวหนอุ้มบาตร ต้นที่เจ็ดน้ำตกตาดทรายมูล อันนี้คือลัษณะการกำหนดเสาช่วงบนหัวนอน จะเป็นตัวบ่งบอกว่าระหว่างเสาจะใช้ทำหน้าที่อะไร เช่น สัพพัญญู กับชมพูหมายทีป หว่างเสานี้จะเป็นที่ตั้งของหิ้งพระ ซึ่งอาจจะไม่มีพระก็ได้ อาจจะมีเพียงแค่แจกันดอกไม้ รูปปีเปิ้ง (พระธาตุปีเกิด) เอาไว้ ตำแหน่งส่วนนี้มักจะเป็นตำแหน่งเติ๋น ไม้หนีบต๋าผี จะเป็นตำแหน่งของมุมห้องพอดี ไม้สลีมาเป๋นเปื้อนไม้เถื่อนมาเป๋นมงคลก็คือตำแหน่งเสาเอกเสานาง หรือเสามงคลของบ้าน พระเตียวหนอุ้มบาตรน้ำตกตาดทรายมูลจะเป็นแจ่ง (มุม) เรือนด้านหลัง น้ำตกตาดทรายมูลจะเป็นโซนซักล้างห้องครัวด้านหลัง อันนี้คือการแบ่งหน้าที่ของตัวอาคารเรือนล้านนาตามโฉลก อันนี้คือการแบ่งห้อง แบ่งฟังชั่นการใช้งานตามโฉลก

          Another part that needs to be considered is the proportion of the parts of the house. Generally, the dining room is the main part of the house. The examples on display in the Lanna Traditional House Museum include many houses in the twin house style with two rooms. The larger room is usually on the east side and is known as the grand room (ruan luang). This building has at least five sub-rooms, or 5 pillar sections. The placement of the pillars is according to the function of the building. The first pillar is called sappanyu, the second is chompumaaiteep, the third is maineebtapee, the fourth is maisaleemapenpeuan, the fifth is aomaituanmapenmonkol, the sixth is pratiaohonumbaat, the seventh is namtokladsaimun. These labels indicate the way the space in between should be used. For example, between the first and second pillars should be a shelf for buddha figures. There might not be buddha figures, but perhaps there is a vase with flowers and a picture of a temple. This is generally where you would find a landing. The third pillar is at the corner of a room. The fourth and fifth are the main pillars, or the auspicious pillars of the house. The sixth and seventh pillars are the corners at the back of the house. The seventh pillar will mark the laundry room and kitchen in the back. This is how traditional Lanna houses are divided into different rooms with different functions.

          พอได้กำหนดในส่วนของเสาเสร็จเรียบร้อย ส่วนที่จะต้องปรุงเครื่องไม้อีกอันหนึ่ง คือการกำหนดสัดส่วนของหลังคา โดยทั่วไปแล้วในกระบวนการทำงานของช่างจะมีสัดส่วนการหักไม้ หรือเรียกว่าสูตร มอกของเรือน ซึ่งในแต่ละสมัยการคำนวณสัดส่วนโครงสร้างหลังคาจะมีบริบทที่แตกต่างกันไปแล้วแต่เหตุปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างเรือน โดยปกติแล้วในจั่วเรือนแต่ละหลังซึ่งสังเกตได้จากพิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนานั้น จั่วของเรือนแต่ละหลังองศาไม่เท่ากัน องศาหลังคาไม่เท่ากัน ด้วยเหตุยุคสมัยที่สร้างเรือนแต่ละหลังคนละช่วงเวลากัน วัสดุที่ใช้ก็แตกต่างกันไป

          Once the placement of the pillars has been determined, the next thing that needs to be prepared is the roof. The carpenter’s process generally includes determining the roof proportions. In each time period, there is a different way of calculating the roof proportions based on a number of factors. Generally, the gables of different houses aren’t at the same angle, as can be seen in the Lanna Traditional House Museum. This indicates that they were built in different time periods and used different matierals.

          ในการคำนวณโครงสร้างหลังคาของเรือนล้านนาจะเอาขื่อเป็นหลัก แล้วเอาขื่อมาหักเป็นกี่ส่วนเพื่อเป็นตัวกำหนดดั้ง สมมุติเอาขื่อมาหักห้า จะเอากี่ส่วนขึ้นมาเป็นดั้งและเป็นโย เพราะฉะนั้นตามตัวอย่างที่จะได้ให้ดู เช่น เอาขื่อมาหักห้าส่วน เอาสี่เป็นดั้ง เอาห้าเป็นโย ขื่อหักครึ่งเอาครึ่งหนึ่งขึ้นมาเป็นดั้ง เอาขื่อมาหักสามเอาหนึ่งส่วนขึ้นมาเป็นดั้ง เอาขื่อมาหักห้าส่วนเอาหนึ่งส่วนมาเป็นดั้ง อันนี้คือตัวกำหนดทรงจั่วของหลังคา สิ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยคือวัสดุในการมุงหลังคา ในยุคแรกตามแบบที่ 1 – 4 ยังนิยมใช้กระเบื้องดินขอ แป้นเกล็ด หรือมุงคา แต่พอมายุคหลังแบบหักสามเอาหนึ่งเป็นดั้ง หักห้าเอาหนึ่งเป็นดั้ง ตามแบบที่ 4 – 5 เป็นช่วงที่กระเบื้องปูนเข้ามา กระเบื้องวิบูลศรี กระเบื้องว่าวเข้ามา และมาหลังสุดคือกระเบื้องลอน เพราะฉะนั้นความลาดชันของหลังคามีผลต่อสัดส่วนความงาม หรือทัศนะ มุมมองของหลังคาเรือนล้านนา แต่ถึงแม้องศาหลังคาจะเปลี่ยนไปอย่างไรก็ตาม ตัวผังเรือนฟังชั่นการใช้งานของเรือนก็ยังคงรูปแบบเดิม มาในยุคหลังเริ่มมีการตัดทอนตัวเรือนต่างๆ ออกไป เช่น ชานตากฝน ห้องโถงโล่ง ในการทำฝาต่างๆ ก็เปลี่ยนไปตามบริบท พอปรุงเครื่องไม้เสร็จแล้วสิ่งที่จะทำต่อมาคือการปรุงเสา

          Determining the roof structure of traditional Lanna houses is related mostly to the tie beam. The tie beam is divided into different sections to determine the roof king post and the rafters. If the tie beam is divided into five sections, four will be used as the king post and five as the rafters. Divide the tie beam in half, take one half as the king post. Divide the tie beam into three sections, use one section as the king post.  Divide the tie beam into five sections and use one as the king post. This is how to determine the angle of the roof. This changed overtime because of the available materials. In the first period they followed patterns 1-4 and used clay shingles. But later they used the tie beam divided in three pattern or the divided in 5 with one as the king post pattern (4-5). This was when the mortar singles and other materials entered the market. The slope of the roof affects the aesthetics of the house, but even as the proportions of the roof changed, the general functions of the parts of the house remained the same. It wasn’t until later that some parts of the house were removed, such as the rain porch and the grand room. The roof therefore had to change along with these developments. After the wood was prepared for the house, the next step was to prepare the pillars.

          ในการปรุงเสาจะมีการกำหนดสัดส่วนความสูงของเสาตามมอก ตามโฉลก ในทีนี้คือการกำหนดรูของแวง กำหนดจากขอบล่างของรูแวง สมมุติว่ารูแวงกว้างเท่าปากกาด้ามนี้ ประมาณหน้าห้า ก็จะนำความกว้างของรูแวงมาทาบลงด้านล่างโดยจะมีคำกำกับ เช่น สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง สิทธิทะนัง สิทธิลาภัง สลี มัจจุ วนไปจนคิดว่าสัดส่วนได้แล้ว แต่ให้เว้นคำแต่ละคำ เช่นคำที่ไม่เป็นมงคล คือ

          สิทธิกิจจัง ช่างผิดเถียงกัน ไม่ดี

          สิทธิกัมมัง ช่างเป็นพยาธิ เจ็บไข้ ได้ป่วย

          สิทธิทะนัง ดีปานกลาง

          สิทธิลาภัง มีโชคลาภ

          สลี รุ่งเรือง

          มัจจุ เสียเจ้าเรือน

          Preparing the pillars includes determining the height of each pillar based on the roof. This is determined from the bottom of the holes in the girder. Imagine the holes in the girder were as wide as this pen, you would take the width of the hole and place it over the pillar so they fit together. This process also has a mnemonic device associated with it to help determine where to place the pillars. It’s important to avoid the unlucky words. For example,

          Sittikitjang – the carpenters fight, not good

          Sittikammang – the carpenters get diseases, injuries, or illness

          Sittitanang – this is acceptable

          Salee – this indicates prosperity

          Majju – the homeowner dies

เพราะฉะนั้นไล่โฉลกเหล่านี้ลงจนถึงตีนเสา ให้ได้ตำแหน่งที่เป็นมงคล ตำแหน่งที่ดี อีกอย่างคือเอาหน้าตั้ง หรือหน้าตัดของเสามงคลมาเป็นมอก สมมุติว่าหน้าตัดมงคลเท่าปากกาด้ามนี้ ก็นำตอกมาหักให้ได้ขนาดเท่าแล้วทาบขึ้น ก็จะมีคำโฉลกที่ไล่ขึ้นไป เช่น สุโข ไชโย ลาโภ สิทธิ มัจจุ วนไปเรื่อยๆ เอาจนที่เราพอใจว่าขนาดความสูงของเรือนเราสูงหรือต่ำ ถ้าขนาดเรือนต่ำก็วนสักหนึ่งรอบ ถ้าขนาดเรือนสูงก็วนสักสองรอบ ให้ได้สัดส่วนที่สูงตามพอใจ นี่คือการกำหนดขนาดความยาวของเสา

These labels help a carpenter to determine which placement of the pillar is favorable. Another thing that needs to be considered is which end of the pillar to point up. Imagine that the cut end of a pillar is as long as this pen. You would want to divide it into even parts for the woodwork. And then there’s another phrase (sukho, chaiyo, lapho, sitti, majju) which will cycle around, and the builder can stop when content with the height of the house. If it is a low house, you might only use one cycle of the phrase. If it is a tall house, you might recite the phrase twice, so it is as tall as you want. This is how you choose the appropriate length of the pillars.

          จากรูแวงจนถึงปลายเสาก็จะมีการไล่แบบนี้เช่นเดียวกัน สุโข ไชโย ลาโภ สิทธิ มัจจุ อันนี้คือตัวอย่างจากหลายรูปแบบ โฉลกตัวนี้ยังเอาไปใช้ในอีกหลายรูปแบบ เช่น หน้ากว้างของแป ของขื่อ สมมุติว่าหน้ากว้างของแปและขื่อขนาดเท่าปากกาด้ามนี้ ก็หักตอกขนาดเท่านี้ แล้วเอามาทาบให้ได้สัดส่วน สุโข ไชโย ลาโภ สิทธิ มัจจุ แปก็เช่นเดียวกัน เอาหน้ากว้างของแปมาหักตอกและทาบไปให้ได้ตกที่มงคล ทุกสัดส่วนจะถูกให้ความสำคัญทั้งหมด หรือแม้กระทั่งหลังขื่อจนถึงปลายดั้งก็ไล่แบบนี้เช่นกัน สุโข ไชโย ลาโภ สิทธิ มัจจุ ไล่ขึ้นไปเรื่อยๆ อันนี้คือโฉลกในการกำหนดสัดส่วนความสูงของเรือน ตั้งแต่เสา ขื่อ ดั้ง ขึ้นไป ใช้สูตรตัวเดียวกัน

          There’s a similar thing from the holes in the girder to the end of the pillar. Sukho, chaiyo, lapho, sitti, majju. This is just one example of many. This phrase is used in a lot of ways, such as the length of the tie beam and the truss. Imagine that the tie beam and the truss are as long as this pen. Divide them into equal parts and then overlay them so they are in the correct proportions. Sukho, chaiyo, lapho, sitti, majju. The tie beam is the same. Take the wide face of the tie beam and overlay it so that it is in a favorable position. Every part of the house construction is important. Even the truss to the king post is determined this way. Sukho, chaiyo, lapho, sitti, majju. Again and again. This is the phrase that helps determine the height of the house, from the pillars to the truss and the king post, upwards. They use this formula.

          พอกำหนดเรื่องเสาเรียบร้อยแล้ว จะมีอีกอันคือปลายเสาเหลาเป็นแกนกลมเล็กๆ เรียกว่าเดี่ยวหรือเดือย ซึ่งเดี่ยวหรือเดือยมีหน้าที่เอาไว้สวมขื่อกับแป ถ้าขื่อและแปควบไปแล้ว ก็จะมีโฉลกว่าเดี่ยวหรือเดือยที่โผล่ขึ้นมาจะใช้นิ้วหัวแม่มือซ้อนทาบกันขึ้นไปเรื่อยๆ ก็จะมีคำโฉลกขึ้นมาอีกว่ากี่นิ้วหัวแม่มือจะเป็นมงคล ซึ่งจะเป็นรายละเอียดปลีกย่อยมากที่จะไม่สามารถเห็นในตัวอาคารสถาปัตย์แต่จะอยู่ในกระบวนการสร้างทั้งหมด

          Once the pillars are set, the end of the pillar will be carved into a small point called ‘diaw’ or ‘deuay’. This is pushed into the truss and tie beam. Once the truss and tie beam have been placed, there’s another phrase that helps to determine how many more inches is favorable for the placement. This is a really small detail that you can’t see in the finished product but is part of the construction process.

          เข้าสู่ขั้นตอนการสร้าง ก่อนที่จะสร้างได้รู้ความยาวของขื่อ ขนาดแล้ว ก็จะไปถึงการวางตำแหน่งบนที่ดิน ก็ต้องมีดูผังตามตำราอีก คนโบราณจะเขียนผังตำราไว้ว่า หากที่ดินตกผังสี่เหลี่ยมที่ถือเป็นมงคลที่สุด ก็จะให้ขึงเชือกและพับออกเป็น 5 ส่วน แล้วดูว่าแต่ละส่วนตกช่องไหนบ้าง เช่น มุมนี้ดีมีข้าวของ มุมถัดไปมีศัตรู มุมถัดไปมีไฟอยู่ มุมถัดไปมโหสต และเสนา พญาใหญ่ พญาป่า สะโคว่ย นางมัทรี พญาสนใจ ตามลำดับ ลักษณะนี้คือการตำแหน่งของตัวเรือนบนผังที่ดิน เพราะฉะนั้นพอได้ขนาดขื่อแป ขนาดของเรือนแล้ว ก็ต้องมาดูผังของที่ดินว่าจะเอาลงตรงไหน ถึงจะเป็นมงคลหรือไม่เป็นมงคล

          This brings us to the actual construction. Before building, we need to know the length of the truss. Then we can start determining the position on the ground. It’s important to check the plan in the record book. In the past, people wrote in the record book that a square plot of land was the most favorable. They would stretch out a rope and divide it into five sections to see where the different parts ended up. And again, local lore would help determine the position of the house on the land plot. So once you had the length of the tie beam and the truss, the size of the house, you had to determine where on your plot of land the house was going to go.

          พอได้ตำแหน่งแล้ว จะกำหนดวันที่จะลงเสา นั่นคือสิ่งสำคัญในการหามื้อจั๋นวันดี การหามื้อจั๋นวันดีในการสร้างบ้านจะมีรายละเอียดปลีกย่อยหลายอย่าง นอกจากหาวันที่เป็นมงคลแล้ว ก็จะป้องกันวันที่เป็นวันม้วยต่างๆ เสร็จแล้วพอได้สัดส่วนของเรือน ได้ตำแหน่งที่ตั้งของเรือนบนที่ดินแล้ว ก็ต้องกลับมาดูอีกผังหนึ่ง เรียกว่า เจี้ยนาค

          Once you had the position, you had to determine when you were going to stat construction. That was called finding the ‘muejan wandee’, and required a lot of careful consideration. Part of finding an appropriate day to start construction depended on local beliefs about the spirits. So once you had the size of the house and the location on the plot of land, the next thing to consider was called ‘jianak’.

          ดูเจี้ยนาคว่าแฮก (เริ่ม) เดือนไหน ตำราจะบอกว่าเดือนไหนนาคหันหัวไปทางไหน เช่น เดือนเกี๋ยง เดือนยี่ เดือนสาม นาคหันหัวล่องใต้ หางขึ้นเหนือ หลังไปทางตะวันตก ท้องไปตะวันออก ให้เอาปลายเสาไปทางหัวนาค และถ้าปก (ตั้ง) เสา ให้ปกขึ้นมาทางหลังนาค หรือขุดขุมเสาจะกำหนดว่าเอาขี้ขวยไปทางไหน ขุดทิศไหนของเรือนก่อน สมมุติว่าสร้างบ้านวันอาทิตย์ จะต้องขุดขี้ขวยทางไหนก่อน ขุดขุมเสาทิศทางใด และขุดเป็นรูปอะไรอีก (วงกลม สี่เหลี่ยม) ทุกอย่างล้วนมีกฎเกณฑ์ มีขั้นตอนระเบียบการณ์ทั้งหมด โดยจะมาจากตำราเจี้ยนาคทั้งหมด ซึ่งตำราเหล่านี้จะคัดลอกและเจอในเอกสารโบราณมากที่สุด หลายๆ ชุมชนยังนิยมใช้กันอยู่มากสำหรับตำราเจี้ยนาคตัวนี้

          Local record books would tell for each month which way the nak (or great snake) faced. For some months, the nak faced the south, its tail was in the north, its back to the west, and its stomach to the east. The end of the pillar should be in the direction of the head of the nak. After placing the pillar, the position of the nak would help to determine in which direction to continue construction. For example, if you were doing construction on a Sunday, which direction would you have to dig for the next column and what shape would the hole be. Everything had a rules and a specific process. And this was all recorded in the jianak lore, which can mostly be found in ancient books. Many communities still use these books today.

          พอดูตามตำราเจี้ยนาคแล้ว ก็จะมีการขุดขมเสา และลักษณะขุมเสาอีก สี่เหลี่ยม วงกลมต่างๆ รวมไปถึงความลึกด้วย กี่ศอกกี่คืบตามสัดส่วนเจ้าของบ้าน หรือเป็นนางช้าง นายม้า บ้านไหนมีช้าง ม้า ก็จะมีข้อกำหนดความลึกหลุมเสา มีตำราบ่งบอกให้ปฏิบัติตาม พอเรียบร้อยทั้งหมดจะปกเสาเรือน เพราะฉะนั้นเสาเรือนทั้งชุดจะวางไประนาบเดียวกัน พอปกจะขึ้นมาทิศทางเดียวกันทั้งหมดเลย ซึ่งต่างจากการปกเสาวิหารวัดซึ่งจะปกเข้าหากัน

          After consulting the record books, you would dig a pit for the pillars. The pits had to be a certain shape and a certain depth. This depended on who the owner was and what the house was used for. For example, was the owner keeping any elephants or horses? There were special rules for that. The record book would explain how to proceed. Once everything was dug, the pillars were placed. The pillars would be laid first and then they would all come up in the same direction, which is different from the pillars of a temple, which would be brought up to face each other.

          ก่อนปกเสาเรือน จะมีการนำใบไม้มงคลมารองตีนเสา ไม้เดื่อ ไม้หนุน ไม้กุ้ม ไม้เป้า ไม้ลมแล้ง ไม้แก้ว ไม้เกี๋ยง ซึ่งใบไม้เหล่านี้จะมีข้อกำหนดขึ้นอยู่กับเดือนที่แฮก (เริ่ม) ที่กำหนดว่าเดือนไหนไม้อะไรเป็นมงคล พอทุกอย่างเรียบร้อยแล้วชาวบ้านจะมาช่วยกันปกเสา พอปกเสาแล้วก็เอาขื่อ แป เข้าสวม เอาแวงเข้าลอด จากการปรุงเครื่องไม้ไว้แล้ว เอาดั้งเข้าใส่ เอาโยเข้าใส่

          Before placing the pillars, leaves would be placed at the bottom of the pillar. These would be leaves from specific trees, and which tree depended on which month you were building in. Each month had an auspicious tree. Once everything was ready, the community would come to help with construction. Once the pillars were planted, the tie beam and truss were placed, followed by th girder, the king post, and the rafters.

          ช่วงแปจะกำหนดระยะห่างตามวัสดุที่จะใช้มุง ถ้าหนักมากก็ใส่แปถี่ อาคารหลังใหญ่ก็ใส่แปเยอะถี่ อาคารหลังเล็กก็แปห่างตามสัดส่วนขนาดของเรือน พอใส่แปแล้วสิ่งที่จะใส่ต่อไปคือก๋อน

          The tie beam would be determined by the materials used for the roof. If the roof materials were heavy, you would place more tie beams. A large building would use a great number of tie beams, but for a small building the tie beams would be further apart. After placing the tie beams, the next thing to be placed is called the kon.

          ก๋อนลาด ก็มีการไล่โฉลกอีก เช่น นับดิน น้ำ ลม ไฟ วนไปอย่างนี้ ให้ไปตกที่ดินกับน้ำ ห้ามตกที่ลมกับไฟ ถ้าไปตกที่ลมกับไฟ ถ้าลมพายุมาเรือนจะล้ม ถ้าตกที่ไฟ ไฟจะไหม้เรือน เพราะฉะนั้นจะให้มั่นคงและอยู่ร่มเย็นให้ตกที่ดินกับน้ำ

          This placement also has a phrase that helps determine where it can be placed and where it can’t be placed. If it is placed in a position that is not lucky, the house might fall over or burn down. Place the kon in a position that was lucky according to local lore ensured a stable and cool house.

          จากก๋อนลาดก็จะเป็นก้านฝ้า ก้านฝ้าก็จะแล้วแต่วัสดุที่จะใช้มุง ว่าจะเป็นดินขอ คา ตอง แป้นเกล็ด อันนี้ก็จะแล้วแต่วัสดุ จึงทำให้ลักษณะก้านฝ้าแตกต่างกันไป ระยะห่างต่างกันไป ตัวไม้ก็จะมีทั้งไม้จริงซึ่งเลื่อยมาจากโรงเลื่อย ซี่ประมาณหนึ่งนิ้วครึ่ง หนาประมาณหนึ่งนิ้ว หรืออีกกลุ่มหนึ่งนิยมใช้ไม้ไผ่แก่จัด เอามาทำก้านฝ้า หรือกันมอดก็คือเอาไม้ไผ่แช่น้ำให้เน่าแล้วนำมาใช้เป็นก้านฝ้าได้

          Next, were the ceiling beams, which again were determined by the roof materials, such as clay or wood. Different roof material resulted in differences in the ceiling beams, such as how far apart they were. The wood included wood that was sawed at a factory into pieces of about 1-1.5 inches wide and 1 inch thick. Sometimes, old bamboo was used for the ceiling beams. To protect it from ants, the old bamboo could be soaked in water.

          พอประกอบหลังคาเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่ตามมาจากการที่แวงมีแล้วคือวางต๋ง วางแป้น เสร็จแล้วก็งานตีฝา ชุดฝาอาคารล้านนาในสมัยก่อนจะทำด้านล่าง ไม่ได้เอามาตีไปเลยด้านบน จะทำด้านล่างประกบฝาเป็นผืน(แหลบกัน) เรียบร้อยจากด้านล่างแล้วถึงนำมาวางชิดกับผนังและใส่สลักยึด ซึ่งในพิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนาหลายหลังเป็นฝาแหลบ

          Once the roof has been built, the next step is the joists. Once the floorboards have been laid, it’s time for the wall panels. In the past, they did the bottom of the wall panels, they didn’t start at the top. The bottoms of the panels were made flat and then placed against the walls and bolted in place. Many of the wall panels in the Lanna Traditional House Museum were made this way.

          การใช้ฝาแหลบจะนิยมเป็นฝาแนวตั้งเพราะง่ายต่อการแหลบฝา หรือถ้าผู้มีฐานะ คหบดี ขุนนาง เจ้านาย ก็จะใส่เป็นฝาต๋าผ้า เป็นลูกฟักต่างๆ ขึ้นไปที่หน้าแหนบก็จะมีการแหลบหน้าแหนบเป็นต๋าผ้า เป็นตาราง และลายตะวัน (พระอาทิตย์) คือการเรียงแบบรัศมีพระอาทิตย์ แล้วก็แหนบแบบฝาแหลบก็เรียงซ้อนๆ กันลงมา ซึ่งมีตัวอย่างเกือบครบทั้งหมดมีในพิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา

          The panels were generally made upright because it was easiest to construct. If the owner of the house was an important person, like a nobleman, their wall panels would be different. Almost all of the different styles of this wall work can be seen in the Lanna Traditional House Museum.

          ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยอื่น เช่น พอเราปกเสาเรียบร้อยแล้ว สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่จะต้องใส่เป็นมงคล กันเรื่องความอัปมงคล กันผีสาง ก็คือการสร้างยันต์ เหล่านี้เป็นตัวอย่างของยันต์ที่จะใส่ในเสาเรือน 1 ช่องต่อ 1 เสา ตัวอย่างเช่น อันนี้ต้นแจ่งวันตก (ตะวันตก) ต้นถ้วนสองวันตก ต้นถ้วนสามวันตก ก็จะเอาชุดยันต์เหล่านี้เขียนลงกระดาษ ผ้า หรือไม้ ใส่ไว้บนหัวเสาของเรือนทุกต้น เพื่อความเป็นมงคล

          There were still more smaller details, such as once the pillars had been placed, what else needed to be added to protect from bad luck and from spirits. This was called the yan or the mystic symbol. These are some examples of mystic symbols placed on the pillars. The mystic symbols would be drawn on paper, cloth, or wood and hung at the top of the each of the house’s pillars.

          อีกอย่างหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบของเรือน คือประตู ประตูเรือนจะมีการกำหนด ถ้าเป็นบ้านนายจ๊าง หรือบ้านเจ้านายที่มีช้าง เลี้ยงช้าง ให้เอาความกว้างของประตูห้องนอนเท่ากับ 5 ฝ่าเท้า แต่หากเป็นชาวบ้านทั่วไปที่ไม่ใช่นายจ๊าง ให้เอาความกว้างของประตู 3 ฝ่าเท้า บางตำราก็จะบอกว่าสามฝ่าเท้า บวกกับอีกหัวแม่เท้าหนึ่ง บางตำราบอกสามฝ่าเท้าบวกกับขวางหนึ่งฝ่าเท้าบวกกับหนึ่งหัวแม่เท้า อันนี้แต่ละท้องถิ่นจะกำหนดต่างกันไป แล้วบนประตูก็จะแกะสลักไม้ไว้ด้านบนเรียกยนต์ประตูหรือหำยนต์ เหล่านี้คือองค์ประกอบของเรือนล้านนา ส่วนอื่นจะใส่ก็ได้หรือไม่ก็ได้ เช่น กาแล หางวรรณ เหล่านี้ล้วนเป็นรายละเอียดตกแต่งปลีกย่อย

          Another important part of the house is the doors, which also have rules. If the owner has elephants, the door to the bedroom should be five feet wide. But if it is a normal person who doesn’t have any elephants, the doors should be three feet wide. But different record books would have different specifications in different communities or regions. Above the doors, a carving would be placed which was the called the ‘yon pratu’ or the ‘ham yon’. These are the parts of a Lanna house. There are other parts that may or may not be added, each of which will have more specific requirements.

          เพราะฉะนั้นทั้งหมดนี้คือภาพรวมของเรือนล้านนา ซึ่งกว่าจะได้เรือนมาหนึ่งหลัง จะมีเรื่องของการกำหนดบริบททั้งสิ่งที่มองเห็นในตัวสถาปัตย์ และสิ่งที่นอกเหนือตัวสถาปัตย์

          This is an overview of Lanna houses. Behind a single house, there is an incredibly involved process of laying out each part of the house, including things seen in the architecture and things that aren’t.

 
ให้คะแนนบทความนี้
โดยการคลิกที่ดาว มากที่สุด = 5 ดาว

คะแนนทั้งหมด


คะแนน
จาก ครั้ง
5
6
4
2
3
0
2
0
1
0
เผยแพร่เมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2565 • การดู 2,533 ครั้ง
 

เมนู


 
วิดีโออื่นๆ ที่น่าสนใจ
ดูทั้งหมด