ฝาลับนาง
วิถีชีวิตของชาวล้านนาสมัยก่อน ในยามค่ำคืน ขณะที่คนอื่นๆ เรือนนอนหลับกันในเรือน หญิงสาวจะออกมานั่งทำงานด้านนอก บ้างก็ปั่นฝ้าย นั่งเย็บผ้า และรอต้อนรับชายหนุ่ม ที่มาเยี่ยมเยือนพูดคุยกัน เรียกวัฒนธรรมนี้ว่า “การแอ่วสาว” ซึ่งลูกสาวจะนั่งรอชายหนุ่มอยู่ที่เติ๋น และหากบ้านไหนมีน้องชาย ก็จะอยู่เฝ้าพี่สาว ทำหน้าที่จัดคิวชายหนุ่มที่เข้ามาพูดคุยกับพี่สาว
เมื่อถึงชายหนุ่มมานั่งที่เติ๋น ก็จะพูดคุยสัมภาษณ์เรื่องต่าง อาทิว่ามาจากบ้านไหน เมืองไหน บางทีก็เป็นคนต่างถิ่นจากหมู่บ้านอื่น เนื่องจากสมัยก่อนไม่นิยมแต่งงานกับคนในพื้นที่เดียวกัน เพราะรู้จักนิสัยใจคอกันหมดแล้ว ซึ่งแม่จะมาแอบฟังข้อมูลการสัมภาษณ์ด้วย และหากบ้านนั้นมีน้องสาวที่ยังไม่ได้แต่งงาน ก็จะใช้ประโยชน์จากการนั่งฟังข้าง “ฝาลับนาง” ที่ยื่นออกมาปิดด้านข้างของเติ๋น โดยการไปหลบหลังฝา ฟังการซักถามพูดคุยกันอย่างไร เพื่อศึกษาเรียนรู้ไว้ในภายภาคหน้า ฝาลับนาง เป็นฝาที่มีลักษณะพิเศษพบได้เฉพาะเรือนกาแลแต่พบเพียงไม่กี่แห่ง มีลักษณะสำคัญคือเป็นฝาที่ยื่นยาวกว่าส่วนที่จะกั้น 40-50 ซม. พบที่ฝาด้านยาวด้านในของเรือน มีความยาวพ้นเสายื่นเลยออกมาจากส่วนที่กั้นห้องนอนไปข้างหน้าบริเวณเติ๋น ส่วนที่ยื่นออกมานี้เลยมีนัยว่าเป็นที่กำบังหญิงสาวขณะทำงานบนเรือน
5 | |
4 | |
3 | |
2 | |
1 |