กาแล
เป็นไม้แกะสลักประดับอยู่ส่วนบน เหนือสุดของจั่วหลังคา เรือนล้านนาที่มีการประดับด้วยกาแล จึงถูกเรียกว่า “เรือนกาแล” ลักษณะของเรือนกาแล คือเรือนไม้ของชาวไทยวน นิยมสร้างด้วยไม้จริงมีพื้นที่ตัวเรือน เติ๋น ชาน ครัวไฟ ตัวเรือนยกพื้นใต้ถุนสูง มีทั้งแบบจั่วเดียว และจั่วแฝด ในอดีตที่ผ่านมามีผู้ศึกษาความเป็นมา และรูปแบบของกาแลไว้หลายประเด็น พอจะสรุปได้ดังนี้[1]
จากข้อสันนิษฐานหลายประเด็นต่างก็ให้เหตุผลที่ต่างกัน ซึ่งอนุมานได้เป็น 2 กลุ่มคือ เชื่อในเรื่องสัญลักษณ์ และการใช้งานด้านโครงสร้าง หากการอ้างว่าพม่าบังคับให้ทําก็ดูไม่สมเหตุสมผล เพราะยังไม่มีหลักฐานว่าเรือนของพม่ามีกาแลหรือไม่ และเมื่อล้านนาเป็นเอกเทศไม่ได้อยู่ในการควบคุมของพม่าแล้ว ก็ไม่จำเป็นที่ต้องสร้างกาแลติดไว้บนเรือนอีกต่อไป ส่วนการอ้างว่าเป็นสัญลักษณ์ของเขากระบือและกันนกเกาะหลังคานั้น น่าจะเป็นการประจวบเหมาะมากกว่า ดังนั้นเหตุผลในด้านโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมจึงมีความเป็นไปได้มากที่สุด เพราะก่อนที่จะปลูกสร้างเรือนไม้จริงขึ้นมา ชาวล้านนาอยู่อาศัยในเรือนไม้บั่วมาก่อน ซึ่งการประกอบชิ้นส่วนโครงสร้างของไม้ไผ่ใช้วิธีการมัด ยึดติด และเจาะรูใส่สลัก การทำป้านลม(ปั้นลม) ปิดด้านหน้าของหลังคาก็ต้องทำไม้ยาวยื่นออกมาไขว้กันบนยอดจั่วหลังคา เพื่อให้ยึดติดกันได้แน่นและแข็งแรง เมื่อสังคมเจริญขึ้นจนมีเครื่องมือที่สามารถตัดเลื่อยไม้จริงให้มีขนาดเหมาะสมกับการสร้างเรือนแล้ว จึงเปลี่ยนจากไม้ไผ่มาใช้ไม้จริงจำพวก ไม้สัก ไม้เต็ง ไม้เหียง ไม้แดง มาสร้างเรือนในรูปทรงเดิม ลักษณะของไม้ไผ่ไขว้กันบนยอดหลังคาที่ทำขึ้นเพื่อให้หลังคาแข็งแรง กลายเป็น “กาแล” ที่ทำมาจากไม้จริงแกะสลักประดับหลังคาแทน
การมีป้านลมไขว้กันแบบนี้ยังพบได้จากเรือนของชาวไทดำ และไทขาว(ไทด่อน) ทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม ซึ่งเรียกกันว่า “เขากุด”[7] ทั้งนี้ยังพบเรือนของคนในอินเดีย(ในรัฐอัสสัม และนาคา) พม่า (ในรัฐไทใหญ่ กะฉิ่น) ลาว ญี่ปุ่น เรือนลาวครั่ง บ้านทุ่งนาตาปิ่น ตําบลด่านช้าง อําเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี บ้านของชาวไทยวนที่อําเภอเมืองราชบุรี และบ้านของชาวเขาอีกหลายเผ่าก็ปรากฏหลักฐานว่ามีกาแล ซึ่งพอสรุปได้ว่าไม้ไขว้กันนี้น่าจะเป็นลักษณะร่วมกันของโครงสร้างมากกว่าการเป็นเอกลักษณ์ทางความเชื่อของแต่ละแห่ง[8]
[1] มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์. (2542). สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 1. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรม
ไทย ธนาคารไทยพาณิชย์. หน้า 236.
[2]กรมยุทธโยธาทหารบก บรรณาธิการ. (2514). เรือนไทยโบราณทางภาคเหนือ เรือนไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรมยุทธโยธาทหารบกหน้า. หน้า 2.
[3]เสนอ นิลเดช. (2521). เรือนไทยโบราณทางภาคเหนือ. ศิลปะลานนาไทย. ที่ระลึกในงานฌาปนกิจ นายจารึก พงศ์พิพัฒน์ นางทิพย์ พงศ์พิพัฒน์ ณ
วัดเทพศิรินทร์ กรุงเทพฯ. หน้า 174.
[4] ไกรศรี นิมมานเหมินท์. (2521). เรือนแบบลานนาไทย, ศิลปะลานนาไทย. กรุงเทพฯ : ม.ป.ท.. หน้า 155-156.
[5] เฉลียว ปิยะชน. (2537). เรือนกาแล (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่ : สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยชัยงใหม่. หน้า 151.
[6] อนุสรณ์ สิทธิราษฎร์. (2529). กะแลหรือกาแลกันแน่. วารสารศิลปวัฒนธรรม, ปีที่ 7(ฉบับที่ 11), หน้า 44-45.
[7] ฐาปนีย์ เครือระยา. (2560). การสร้างถิ่นฐาน บ้าน และเรือนคนไทดำและไทขาวในเวียดนาม. วารสารข่วงผญา : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ สืบสานองค์ความรู้ของชุมชน. ปี พ.ศ. 2560(ฉบับที่ 12), หน้า 142-143.
[8] มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย. (2542). สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 1. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย. หน้า 236.
5 | |
4 | |
3 | |
2 | |
1 |