“หำยนต์” หรือ “หัมยนต์” เป็นแผ่นไม้แกะสลักที่มีขนาดเท่ากับความกว้างของประตู วางอยู่เหนือกรอบประตูห้องนอนของเรือนล้านนา ซึ่งคำว่า “หำยนต์” หากเขียน “หำยน” ตามที่พบทั่วไปนั้น มักได้รับคําอธิบายว่าเป็นคําซึ่งประกอบด้วย หำ และ ยนต์ บางคนเรียก หำโยน หรือห้ามโยน ก็มี โดยที่มาของหำยนต์ พอจะสรุปได้ 2 ประเด็น คือ
“หำยนต์” ตามทัศนคติของล้านนา มีไว้เพื่อทําหน้าที่เป็นยันต์อันศักดิ์สิทธิ์ที่ป้องกัน และขับไล่ภยันตรายต่างๆ จากภายนอกมิให้ผ่านประตูเข้าไปในตัวเรือน หรือห้องนอน ป้องกันอันตรายให้แก่ผู้ที่หลับนอนภายในห้องนั้น ดังนั้นหำยนต์จึงมีหน้าที่เหมือนยันต์โดยมีพลังจากเพศชายผู้เป็นเจ้าของเรือนคอยปกป้องสมาชิกในครัวเรือนทุกคน ทั้งนี้ขนาดความกว้างของหำยนต์วัดจากความยาวของเท้าผู้ชายที่เป็นหัวหน้าครอบครัวนั้นๆ ซึ่งชาวล้านนาเชื่อว่าเท้าเป็นสิ่งที่ต่ำสุดจึงเป็นสิ่งที่ไม่เป็นมงคล แต่การใช้เท้าวัดประตูจะช่วย “ข่ม” ความไม่ดี สิ่งชั่วร้าย รวมถึงผู้คนที่มีจิตอกุศลไม่ให้เข้ามาในห้องนอนได้ หากล่วงล้ำเข้าไปในห้องนอนโดยไม่ได้รับการอนุญาตจากเจ้าของเรือน ถือว่าเป็นการกระทำ “ผิดผี” จำเป็นต้องทำการขอขมาลาโทษ
ความยาวของหำยนต์หรือความกว้างของประตูเรือน ถูกกําหนดโดยการวัดความยาวเท้าของเจ้าของบ้าน เช่น ยาว เป็น 3 หรือ 4 เท่า เชื่อกันว่าหำยนต์สามารถให้คุณแก่ผู้เข้าใจปฏิบัติ หรือแสดงคารวะอย่างถูกต้อง และในทางกลับกันก็อาจให้โทษได้ด้วย ดังนั้นในการประดิษฐ์หำยนต์จึงมีขั้นตอนหรือพิธีกรรมเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่บ้านเรือน และผู้อยู่อาศัย หำยนต์จะทําขึ้นพร้อมกับการสร้างบ้านใหม่ เจ้าของบ้านจะกําหนดให้ความกว้างของประตูและความยาวของแผ่นไม้นั้นเท่ากัน โดยใช้ความยาวของเท้าเป็นมาตรวัด เช่น “บุคคลที่เป็นนายช้าง ให้ทําประตูกว้าง 5 ช่วงเท้า คนที่เป็นนายม้า พ่อค้า และไพร่น้อย ให้ทําประตู กว้าง 3 ช่วงเท้ากับอีก 3 ช่วงหัวแม่มือ” เมื่อหาแผ่นไม้ ที่จะทําหำยนต์ได้แล้ว ก็จะนําแผ่นไม้นั้นมาทําพิธี “ถอน” เสียก่อน โดยให้อาจารย์ผู้มีวิชาหรือพระเถระรดน้ำมนต์ลงบนไม้ ซึ่งบางท่านกล่าวว่าเมื่อ “ถอน” แล้วจะต้องนําแผ่นไม้ไปผูกกับเสาเอกของบ้านด้วย ลวดลายที่แกะสลักบนหำยนต์นั้น จะเป็นไปตามที่ช่างและเจ้าของบ้านจะร่วมกันกําหนด เมื่อสร้างบ้านนั้นเสร็จแล้วจึงจะนําหำยนต์ไปติดไว้เหนือประตู ห้องนอนดังกล่าว ซึ่งก่อนจะติดหำยนต์เข้าที่จะต้องทําพิธียกขันตั้งหลวงเสียก่อน ในพิธีนั้นจะต้องมีเครื่องคารวะอันประกอบไปด้วย ดอกไม้ ธูปเทียน หมาก พลู ผ้าขาวผ้าแดง สุรา และอาหารคาวหวานตามอัตรา และให้ปู่อาจารย์เป็นผู้ประกอบพิธีอัญเชิญเทวดาอารักษ์ให้มาปกป้องบ้านเรือน และผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้น หากมีการขายเรือนที่มีหำยนต์เหล่านี้ก่อนย้ายเข้าหรือรื้อถอน เจ้าของคนใหม่จะต้องตีหำยนต์แรงๆ (ภาษาล้านนาคําว่า บุบ แปลว่าทุบตี) เพื่อทําลายความขลัง การทุบตี “หำยน” เปรียบเสมือนการตีลูกอัณฑะวัวหรือควายในการทําหมันในสมัยก่อน ซึ่งเป็นการทําให้หมดสมรรถภาพ การหมดความศักดิ์สิทธิ์ของหำยนต์ก็เฉกเช่นกัน เช่นเดียวกับรูปของเรือนที่ว่าพม่าบังคับให้ทําคล้ายโลงศพ มีผู้กล่าวว่า “หำยน” เป็นอัณฑะของคนพม่าที่ติดไว้เหนือประตู เมื่อเจ้าของบ้านหรือผู้คนในบ้านเดินเข้าออก ต้องลอดใต้อัณฑะ ซึ่งเป็นการข่มทําลายจิตใจมิให้กระด้างกระเดื่องต่อพม่า
ไม้ที่ใช้แกะหำยนต์ส่วนใหญ่นิยมใช้ไม้สัก เพราะมีเนื้อแข็งปานกลาง ง่ายต่อการขึ้นรูป การแกะสลักหำยนต์เริ่มต้นจากช่างแกะสลักจัดเตรียมขันตั้งไหว้ครู และบอกกล่าวแก่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ รวมถึงในระหว่างที่แกะสลักนั้นต้องท่องคาถา “อิติปิโส........” 108 จบ หรือท่องคาถา 5 พระองค์ “นะ โม พุท ธา ยะ” ตลอดระยะเวลาในการแกะหำยนต์ เพื่อเสริมสร้างสิริมงคล เมื่อเสร็จแล้วก็ประพรมน้ำส้มป่อย เพื่อชะล้างสิ่งไม่ดีออกไป ในอดีตลวดลายหำยนต์มี 4 ลาย ประกอบด้วย
หำยนต์ มีลักษณะโครงสร้างเป็นแผ่นไม้รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ประกอบด้วยกลีบไม้จริงตีประกบเป็นโครงสร้างยึดไว้ ทำให้มีช่องว่างระหว่างไม้คั่นขนาดต่างกัน 2 ช่อง ชาวล้านนาเรียกส่วนบนที่มีขนาดเล็กว่า “ตัวผู้” ส่วน “ตัวเมีย” ขนาดใหญ่อยู่ด้านล่าง หากเป็นหำยนต์แบบโบราณมีไม้ยื่นออกมาด้านข้างเพื่อสอดเข้าไปในช่องเหนือบานประตู เนื่องด้วยการประกอบไม้ของเรือนล้านนาโบราณจะใช้ลิ่ม เดือย และสลัก แทนการใช้ตะปู
รูปทรงหำยนต์แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
รูปแบบของหำยนต์จำแนกโดยศึกษาจากเทคนิควิธีการทำหำยนต์ มี 3 วิธีการ คือ
1. การแกะสลัก เริ่มจากการร่างโครงลวดลายโดยใช้สิ่วตอกลงไปบนไม้ เป็นการคัดลายให้พอทราบว่าส่วนใดเป็นลาย ส่วนใดเป็นพื้น จากนั้นก็ใช้สิ่งขุดพื้นตามความต้องการแล้วแกะตัวลายหรือโกลนลายด้วยการใช้สิ่วแบบต่างๆ ตามความโค้งของลวดลาย เทคนิคการแกะสลักแบบนี้พบในเรือนล้านนาแบบโบราณ หรือเรือนกาแล
2. การฉลุลาย เป็นหำยนต์ที่ไม่มีพื้นหลัง ด้วยการเจาะพื้นหลังให้โปร่ง เทคนิคนี้นิยมมากในช่วง ต้นพุทธศตวรรษที่ 25 เป็นต้นมา ซึ่งได้รับอิทธิพลจากเรือนไม้ฉลุในยุคอาณานิคม หรือเรือนขนมปังขิงของยุโรป ที่มาพร้อมกับรสนิยมตามแบบตะวันตกของพ่อค้าไม้ชาวไทใหญ่ และชาวอังกฤษที่มาอยู่ในล้านนา โดยลวดลายฉลุมักเป็นลายเครือเถาที่ได้รับการผสมผสานระหว่างลายล้านนานาและลายตะวันตก
3. การแกะสลักและฉลุลาย เป็นการผสมผสานทั้งสองเทคนิคเข้าด้วยกัน โดยฉลุไม้ให้เป็นโครงลวดลายก่อน แล้วจากนั้นจึงแกะสลักไม้ให้มีมิติมากยิ่งขึ้น
ลวดลาย
ลวดลายหำยนต์ เกิดจากการแกะสลักไม้เป็นรูปร่างต่างๆ ตามจินตนาการของช่าง ที่ออกแบบผูกลายให้สัมพันธ์กัน และนิยมทำลวดลายสมมาตรเท่ากันทั้งซ้ายและขวา โดยมีตัวลายขนาดใหญ่เป็นจุดนำสายตาอยู่ตรงศูนย์กลางแผ่นไม้หำยนต์ จากการศึกษาลวดลายหำยนต์โบราณ สามารถจำแนกลายออกเป็น 5 กลุ่ม ประกอบด้วย
ลวดลายมงคล 108 และลายมงคลในพุทธศาสนา เช่น ลายประแจจีน ลายหม้อบูรณฆฏะ ลายสวัสดิกะ
ข้อมูลโดย คุณฐาปนีย์ เครือระยา
โครงการศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.(2529). หำยนต์. จดหมายข่าวล้านนาคดีศึกษา, ปีที่ 1 (ฉบับที่ 2), ประจำเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2529, หน้า 48.
เฉลียว ปิยะชน. (2532). เรือนกาแล (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่ : สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. หน้า 151
เรือนแบบลานนาไทย.(2521). อนุสรณ์งานฌาปนกิจศพนายบุญปั๋น พงษ์ประดิษฐ์ วันที่ 14 พฤษภาคม 2521. เชียงใหม่ : เจริญการค้า เชียงใหม่. หน้า 42.
มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์. (2542). สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 14. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.หน้า 7545.
สัมภาษณ์พ่อครูวีระชัย มณีวรรณ อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 15 พฤษภาคม 2558.
ฐาปนีย์ เครือระยา. (2558). ลวดลายหำยนต์ล้านนาล้านนา. เชียงใหม่ : สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. หน้า 5.
5 | |
4 | |
3 | |
2 | |
1 |