เอื้องเผิ้ง หรือ เอื้องผึ้ง เป็นกล้วยไม้ที่เกาะอาศัยอยู่บนต้นไม้ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Dendrobium lindleyi Steud- Syn. : aggregatum Roxb. ลำลูกกล้วยเบียดกันแน่นรูป ลักษณะแบบกล้วยยาวราว 2-3 นิ้ว ลำลูกกล้วยหนุ่มจะอวบอ้วน พอลำแก่ๆขึ้นจะค่อยๆ มีรอยย่น แต่ละลำมีเพียง 1 ใบ ใบสีเขียวเข้ม ยาวรีประมาณ 1 นิ้ว ช่อดอกออกด้านข้างลำลูกกล้วย ยาวประมาณ 7 นิ้ว มีดอก 7-20 ดอก หรือมากกว่านี้ ดอกสีเหลืองอ่อนเมื่อแรกบานแล้วสีจะค่อยๆ เข้มขึ้น ปากสีเหลืองทอง กลีบนอกรูปไข่ตั้ง กลีบใบรูปไข่เกือบกลมละกว้างกว่ากลีบนอกเท่าหนึ่ง ปากยาวรีไปทางขวาง ขอบแผ่น ปากจักเป็นซี่ละเอียด ดอกบอบบางและบานไม่นานนัก
พบขึ้นทุกภาคยกเว้นภาคใต้ มักพบตามป่าผลัดใบ ขึ้นตามกิ่งไม้ที่แดดส่องถึง ออกดอกราวเดือนมีนาคม – พฤษภาคม
ดอกเอื้องชนิดนี้ เป็นที่นิยมของเหล่าช่างฟ้อนชาวล้านนาทั้งหลายที่จะนำไปเกี้ยวมวยผมในการฟ้อนเนื่องในการเฉลิมฉลองสมโภชต่างๆ
ข้อมูลจาก : สารานุกรมวัฒนธรรมภาคเหนือ เล่มที่ 15
5 | |
4 | |
3 | |
2 | |
1 |