หลังฅา
หลังฅา เป็นส่วนประกอบที่มาหุ้มโครงสร้างส่วนบนของเรือน ทำหน้าที่กันลมฝนและแดด โดยปกติหลังคาเรือนพักอาศัยจะเป็นทรงจั่ว โดยเฉพาะสันหลังคาของเรือนกาแล จะมีความลาดเอียงเป็นแนวตรง ไม่อ่อนโค้ง หลังคาเรือนกาแลไม่มีหลังคากันสาดที่เสริมล่างต่อหลังคาอีกชั้นหนึ่ง จึงนิยมทำหลังคาคลุมต่ำลงมามากกว่าเรือนฝาปะกน ทั้งหมดนี้จึงทำให้ลักษณะของหลังคาครอบคลุมต่ำและชิดตัวเรือน ทั้งนี้หลังคาก็ยังสูงกว่าชานประมาณ 1.75 เซนติเมตร ซึ่งสูงพอที่คนจะเดินลอดได้อย่างสบาย บริเวณส่วนล่างของแหนบจะมีแผงหลังคาเล็กๆ มีความยาวเท่ากับความยาวของฐานแหนบ เป็นส่วนปิดบังลมแดและฝนให้ส่วนบนของฝาด้านสะกัด ส่วนนี้เรียกตามภาษาภาคกลางว่าไขราปีกนา ส่วนของหลังคาที่ยื่นเลยแหนบออกมาเรียกว่าไขราหน้าจั่ว และส่วนล่างของหลังคาที่ระดับแปหัวเสามาคลุมตัวเรือนเรียกว่าไขรากันสาด การเชื่อมต่อของไขราปีกนาและไขรากันสาดของเรือนกาแล มี 3 ลักษณะ คือ 1.ไขราปีกนกแยกเป็นอิสระไม่ต่อชนกับไขรากันสาด โดยใช้โครงสร้างที่เรียกว่ากลอนก้อย และยางดังกล่าวแล้วมารับน้ำหนัก 2.ไขราปีกนาและไขรากันสาดมีชายคาในระดับเดียวกันและเชื่อมต่อกัน
3.ส่วนชายคาของไขราปีกนกยื่นยาวมาคลุมตัวเรือนด้านสกัดมาก ทำให้ส่วนของไขรากันสาดต้องยื่นยาวออกมาด้วย ลักษณะดังกล่าว หากเป็นเรือนแฝดก็จะยาวติดต่อกันทั้ง 2 หลัง เป็นแนวเดียวกันดูสวยงาม โครงสร้างของหลังคาแบบที่ 2 และ 3 นี้ ใช้ไม้จักเข้รับน้ำหนักบริเวณรอยเชื่อมต่อของไขราปีกนกและไขรากันสาด
ภาพหลองข้าวป่าซาง (นันทขว้าง)
ข้อมูลจากสารานุกรมวัฒนธรรมภาคเหนือ เล่มที่ 14
5 | |
4 | |
3 | |
2 | |
1 |