ดินขอ คือ กระเบื้องมุงหลังคาเรือนของชาวล้านนา เป็นเครื่องปั้นดินเผา น้ำหนักเบา มีขนาดเล็ก บางเรียบ ปลายด้านหนึ่งหักงอคล้ายตะขอ ใช้สำหรับเกาะไม้ก้านฝ้าที่ยึดติดกับโครงสร้างหลังคา สำหรับแหล่งดินขอที่ผลิตในจังหวัดเชียงใหม่ เหลือเพียงแห่งเดียวคือ บ้านของพ่อครูสมาน จันทครลักษณ์ ในตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง ซึ่งในอดีตแถบตำบลแม่เหียะเป็นแหล่งผลิตดินขอและดินกี่ที่สำคัญ
อุปกรณ์และวัตถุดิบที่ใช้
กรรมวิธีการปั้น
1. นําดินเหนียวมาหมักด้วยน้ำพอประมาณ ใช้เวลา 20 ชั่วโมง
2. นํามาเข้าเครื่องนวดให้เหนียวจนได้ที่ แต่สมัยก่อนต้องใช้เท้าเหยียบบนหนังวัว เพื่อให้ดินเหนียว และมันวาว
3. นํามาปั้นกับแม่พิมพ์ที่เตรียมไว้ โดยโรยขี้เถ้าในแม่พิมพ์กันไม่ให้ดินเหนียวติดแม่พิมพ์ แล้วเอาลวดที่ใช้ตัดดินให้เหลือในแม่พิมพ์ จากนั้นใช้ไม้สามเหลี่ยมชุบน้ำแล้วให้ เรียบ นําออกจากแม่พิมพ์มาวางไว้ในที่ๆ ใช้เตรียมไว้
4. นําไปตากแดดประมาณ 2 ชั่วโมงหรือให้แข็งตัวพอประมาณ จึงจะเก็บได้
5. แต่งผิวดินให้เรียบแล้วเอามาตั้งเรียงไว้
6. นําเข้าเตาเพื่อเผา โดยใช้เตาขนาด 3 x 3.5 สูง 4 เมตร ด้านล่างมีช่องเติมเชื้อเพลิง หรือพื้นเป็นรูปวงกลม 2 รู โดยทางที่นําดินเข้า เป็นรูปสี่เหลี่ยม 1 ช่อง ที่วางดินมีช่อง กว้างประมาณ 10 เซนติเมตร มี 8 - 10 แถว
7. นําดินวางตะแคง แล้วปิดที่ช่องนําดินเข้าให้สนิท โดยต้องใช้ความร้อนสูงและสม่ำเสมอ เริ่มจากเผาพื้นไล่ความชื้นใช้ไฟอ่อนประมาณ 10-11 วัน ตลอด 24 ชั่วโมง จากนั้นจึงเร่งไฟให้เต็มที่ 30 ชั่วโมง หรือให้ดินชั้นบนของเตาแดงเหมือนถ่านจนทั่วเตาจึงหยุดไฟได้ แล้วปิดช่องที่เติมฟืนให้สนิท อบประมาณอีก 5 วัน ถึงเอาออก จากเตาได้ ใช้เวลาในกระบวนการเผาทั้งหมดประมาณ 12-14 วัน
5 | |
4 | |
3 | |
2 | |
1 |