กุบ

กุบ
 

กุบ หมายถึง หมวกที่มีปีกซึ่ง ทำจากไม้ไผ่สานประกบกัน 2 ชิ้น แล้วกรุด้วยวัสดุจำพวกใบไม้ที่สวมสานด้วยไม้ไผ่ และกุบจะมี”หย่อง” คือโครงสานสำหรับสวมหัวซึ่งจะผูกติดกับกุบไว้ ซึ่งดังในภาพนี้เรียกว่า กุบใบลาน คือหมวกที่ใช้ใบลานกรุบนโครงไม้ไผ่สาน ในสมัยก่อน อาจกล่าวได้ว่ากุบ เป็นเครื่องใช้อย่างหนึ่งในชีวิตประจำวันของชาวบ้าน ทว่ายุคสมัยที่เปลี่ยนไปทำให้ความสำคัญของกุบลดน้อยลงไปด้วย หากไม่นับชาวไทใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนที่ยังใช้กุบในชีวิตประจำวัน ผู้ที่ใช้กุบในปัจจุบัน ก็คงมีแต่ชาวไร่ชาวสวนและชาวนาเท่านั้น

หากใช้คำว่ากุบร่วมกับคำอื่น ก็จะได้ความหมายใหม่ซึ่ง อาจจะใกล้เคียงกับคำเดิม เช่น

ทือกุบ หมายถึง มียศมีตำแหน่ง กุบกะแอ

หมายถึงหมวกปีกกว้าง ส่วนกลางทำเป็นยอดแหลม

กุบแข่ หมายถึง หมวกที่ไม่มีปีกหรือหมวกแบบจีน

กุบจิกฅำ หมายถึงหมวกที่มีปีก ยอดแหลม ประดับทอง และมีโครงเป็นไม้ไผ่สาน กรุด้วยกระดาษสา ทาด้วยรักหรือชาดให้หนา มียันต์ ปิดทอง ใช้เป็นเครื่องประกอบยศหรือใช้ในการออกศึก

กุบชีโว หมายถึงหมวกจีโบหรือหมวกที่ทำจากขนสัตว์ ส่วนข้างๆหมวกจะยาวลงมาปกหูเพื่อกันความหนาว แต่สามารถม้วนขึ้นได้ถ้าไม่ใช้

 

ข้อมูลจาก : สารานุกรมวัฒนธรรมภาคเหนือ เล่มที่ 1

 
กุบ
กุบ
กุบ
ให้คะแนนบทความนี้
โดยการคลิกที่ดาว มากที่สุด = 5 ดาว

คะแนนทั้งหมด


คะแนน
จาก ครั้ง
5
13
4
4
3
1
2
1
1
3
เผยแพร่เมื่อ 8 ธันวาคม 2563 • การดู 6,691 ครั้ง
 

เมนู


 
วิดีโออื่นๆ ที่น่าสนใจ
ดูทั้งหมด