ตาเเหลว เครื่องหมายบอกอาณาเขตหวงห้าม

ตาเเหลว เครื่องหมายบอกอาณาเขตหวงห้าม
 

ตาแหลว (อ่าน “ต๋าแหลว”)

ตาแหลวนี้จะใช้เป็นเครื่องหมายทางพิธีกรรม มีลักษณะใช้เป็นเครื่องหมายบอกอาณาเขตหวงห้าม เช่น ใช้ติดหน้าบ้านของคนที่ตายอย่างผิดปกติหลังทำพิธีศพเพื่อสร้างเป็นเชตหวงห้ามหรือใช้แขวนกับสายสิญจน์และหญ้าคาฟั่นไว้กลางประตูเมืองหลังพิธีสืบชาตาเมืองเพื่อป้องกันเสนียดจัญไร และใช้เสียบไม้ปักไว้ในบริเวณปลูกข้าวแรกนา เป็นต้น  

ตาแหลว หรือ ตะแหลว นั้นจะตรงกับเฉลวของไทยภาคกลางเป็นเครื่องจักสานทำด้วยตอกเส้นเล็กขัดกัน ให้ส่วนกลางเป็นตา 6 เหลี่ยม ปล่อยชายตอกออกไปคล้ายกับรัศมีแสงอาทิตย์

ตาแหลวเจ็ดชั้นนี้จะประกอบด้วยตาแหลว 2 ชุด ที่ทำขึ้นต่อเนื่องกัน โดยที่ชุดล่างจะใช้ตอกเจ็ดเส้นสานพับปลายสอดกันให้เกิดตา 6 เหลี่ยม จำนวน 7 ตา ส่วนชุดที่สอง ซึ่งติดตั้งเหนือตาแหลวแรก จะใช้ตอกจำนวน 9 เส้นสานขัดกันให้มีตา 6 เหลี่ยมจำนวน 3 ตา

 

ข้อมูล : หนังสือสารานุกรมวัฒนธรรม ภาคเหนือ เล่มที่ 5 

 
ตาเเหลว เครื่องหมายบอกอาณาเขตหวงห้าม
ตาเเหลว เครื่องหมายบอกอาณาเขตหวงห้าม
ให้คะแนนบทความนี้
โดยการคลิกที่ดาว มากที่สุด = 5 ดาว

คะแนนทั้งหมด


คะแนน
จาก ครั้ง
5
55
4
8
3
1
2
2
1
2
เผยแพร่เมื่อ 1 ธันวาคม 2563 • การดู 10,595 ครั้ง
 

เมนู


 
วิดีโออื่นๆ ที่น่าสนใจ
ดูทั้งหมด