ศรีมหาโพธิ์

ศรีมหาโพธิ์
 

ศรีมหาโพธิ์ ที่ชาวล้านนาเรียกว่า "ต้นสรี" หรือ "ต้นสะหรี" โดยทั่วไป หมายถึง ต้นไม้ที่เป็นโพธิฤกษ์ คือ ต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าเสด็จประทับอาศัยร่มเงาในคืนที่ทรงบำเพ็ญเพียร ก่อนการตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ชาวล้านนาในฐานะเป็นพุทธศาสนิกชนจึงมีวิธีปฏิบัติต่อต้นศรีมหาโพธิ์ด้วยความเคารพศรัทธา มีการดูแลปัดกวาดบริเวณลานโพธิ์ให้สะอาดสะอ้านเสมอ บางเเห่งตั้งศาลเเละจัดเครื่องสักการะบูชาถวาย ขณะเดียวกันก็มีข้อห้ามมิให้ ตัดทำลายกิ่งก้านหรือต้นศรีมหาโพธิ์ นอกจากนี้ยังมีประเพณี พิธีกรรมเเละความเชื่อตามมาอีกหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นประเพณีทานไม้ค้ำ ประเพณีบวชต้นศรีมหาโพธิ์การบรรจุต้นศรีมหาโพธิ์ไว้ในเจดีย์เเละความเชื่ออื่น

ข้อห้ามในการตัดทำลาย 

   ข้อปฏิบัติที่ยึดถือกันมาตั้งเเต่โบราณกาล อย่างหนึ่ง คือ ข้อห้ามมิให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้ ถ้าฝืนจะเกิดอัปมงคลที่เรียกว่า "ขึด" ข้อห้ามข้อหนึ่งโบราณว่า ห้าม"รานสะหรี" ในคัมภีร์ที่ชื่อ "ธรรมดาจารีต" อธิบายว่า "รานสะหรี" คือว่า รานไม้เสื้อบ้าน เสื้อเมือง ไม้อารักษ์ ไม้ที่ฅนยั้งร่ม ไม้มิ่งเมือง เเละไม้สรีมหาโพธิ์ หลอนตัดเเละราน จักฉิบหายเเล" หมายความว่า รานสะหรี ได้เเก่ การตัดไม้อารักษ์บ้านเมือง ไม้ที่คนทั่วไปอาศัยร่มเงา ไม้ประจำเมืองเเละไม้ศรีมหาโพธิ์ หากตัดฟันจะพินาศฉิบหาย ส่วนคัมภีร์ชื่อ "พิษณุถามนางธรณี" กล่าวว่า "ไม้ใหญ่อันเป็นสรีเเก่บ้านเเก่วัด บ่ควรดีปล้ำ ไม้สรีมหาโพธิ์ก็บ่ควรดีปล้ำ"

คือ ไม้ใหญ่อันเป็นศรีเเก่บ้านเมืองเเละวัดก็ดี หรือไม้ศรีมหาโพธิ์ก็ดี ล้วนไม่ควรตัดทำลายทั้งสิ้น เเต่ถ้าหาก มีความจำเป็นจะต้องตัด ผู้ที่ตัดจะต้องทำพิธีขออนุญาตจากรุกขเทวดาที่คอยรักษาต้นศรีมหาโพธิ์ก่อน มิเช่นนั้น เชื่อกันว่าจะเกิดมหันตภัยต่อผู้ตัดเเละครอบครัวตลอดจนชุมชนเเละบ้านเมืองในไม่ช้า 

 

ข้อมูลจาก : หนังสือไม้เมืองเหนือ ความเชื่อโบราณ

 
ศรีมหาโพธิ์
ศรีมหาโพธิ์
ให้คะแนนบทความนี้
โดยการคลิกที่ดาว มากที่สุด = 5 ดาว

คะแนนทั้งหมด


คะแนน
จาก ครั้ง
5
6
4
2
3
2
2
0
1
0
เผยแพร่เมื่อ 15 ตุลาคม 2563 • การดู 2,955 ครั้ง
 

เมนู


 
วิดีโออื่นๆ ที่น่าสนใจ
ดูทั้งหมด