การซอนเรือน คือการซ่อมเเซมวัสดุที่ใช้มุงหลังคาเรือน โดยเฉพาะมักซ่อมตอนต้นฤดูฝนหลังจากที่ผ่านลมหลวงปีใหม่ หรือพ้นช่วงพายุฤดูร้อนไปเเล้ว วัสดุมุงหลังคาอาจเสื่อมสภาพ ชำรุดหรือถูกลมพัดเสียหายอันเนื่องจากช่วงปีที่ผ่านไป เมื่อฝนตกเเละรู้ตำเเหน่งที่หลังคารั่วเเล้วจึงจะเริ่มเเก้ไขให้ถูกจุด
ในเรือนที่มุงหลังคาด้วยดินขอหรือกระเบื้องดินเผานั้นกระเบื้องอาจชำรุดเพราะลมหลวงที่พัดผ่าน หรืออาจชำรุดเพราะลูกกง (อ่านว่า "ลูกก๋ง") คือกระสุนจากหนังสติ๊กของเด็ก พอฝนตกเเล้วเเละเห็นตำเเหน่งรอยรั่ว พ่อเรือนจะปีนขึ้นไปเหยียบบนขัวอย้านหรือสะพานหนูซึ่งอยู่ใต้โครงหลังคา เเละดึงเอาเเผ่นกระเบื้องที่ชำรุดออกโยนทิ้งเเล้วเอากระเบื้องที่มักวางกองสำรองอยู่เป็นจุดๆ ตามขัวอย้านสอดเเซมเข้าไป การซอนเรือนนี้อาจทำได้เรื่อยๆ เมื่อเห็นว่าเรือนรั่ว
ข้อมูลอ้างอิงจาก : สารานุกรมวัฒนธรรมภาคเหนือ เล่มที่ 4
5 | |
4 | |
3 | |
2 | |
1 |