พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มช.
เรือนโบราณล้านนา
กิจกรรมในพิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑ์มีชีวิต
หลักสูตรระยะสั้นปี 2563
สาระความรู้วิถีชีวิตล้านนา
อาหารล้านนา
ต้นไม้ในพิพิธภัณฑ์
เฮือนเก่าเฮาฮักษา'65
AFCP 2019 การอนุรักษ์สถาปัตยกรรมล้านนาโบราณในเชียงใหม่
การปรับปรุงซ่อมแซมเรือนโบราณล้านนา เฟสที่ 1
การปรับปรุงซ่อมแซมเรือนโบราณล้านนา เฟสที่ 2
เกร็ดความรู้ภูมิปัญญาเชิงช่างกับการอนุรักษ์ (สล่าล้านนา)
การเสวนา และการอบรมเชิงปฏิบัติการ (workshop)
นิทรรศการภูมิปัญญาสล่าสร้างเรือน
วีดิทัศน์ “ถอดบทเรียนการซ่อมแซมสู่แม่แบบการอนุรักษ์เรือนโบราณล้านนา"
ข่าวสารภายในโครงการ
ติดต่อเรา
EN
พิธีทำบุญ และพิธีเปิดจุดบริการข้อมูลฯ และจุดบริการเครื่องดื่ม พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดพิธีทำบุญ และพิธีเปิดจุดบริการข้อมูลและจุดบริการเครื่องดื่ม พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวันที่ 15 กันยายน 2558 เพื่อความเป็นสิริมงคลและประชาสัมพันธ์การให้บริการของพิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพ.ศุภชัย เชื้อรัตนพงษ์ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการสภามหาวิทยาลัย ในฐานะผู้แทนอธิการบดี เป็นประธานในพิธีเปิดงานดังกล่าว ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิลาวัณย์ เศวตเศรนี ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวรายงานว่า ในระยะเวลาของการบริหาร นับจากวันที่ 1 พฤศจิกายน 2553 หนึ่งในพันธกิจของสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม นอกเหนือจากพันธกิจหลักในด้านการทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี และการบริการชุมชน คือ การทำให้พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนาฯ มีชีวิตและเป็นแหล่งความรู้ด้านสถาปัตยกรรมล้านนา และการจัดแสดงวิถีชีวิตที่เรียบง่ายของชาวล้านนา รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการรองรับกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม และประเพณี ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย และประชาชนชาวเชียงใหม่ โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงาน ธุรกิจ ห้างร้าน รวมถึงบุคคลผู้มีวิสัยทัศน์และจิตอนุรักษ์ ด้วยดีเสมอมา ซึ่งในปัจจุบันมีจำนวนเรือนโบราณ 8 เรือน และยุ้งข้าว จำนวน 3 หลัง ได้แก่ เรือนชาวเวียงเชียงใหม่ (พญาปงลังกา) เรือนกาแล (พญาวงศ์) เรือนไทลื้อ (อุ๊ยตุด) เรือนกาแล (อุ๊ยผัด) เรือนพื้นถิ่นอำเภอแม่แตง เรือนพื้นบ้านล้านนา (อุ๊ยแก้ว) เรือนทรงปั้นหยา (อนุสารสุนทร) เรือนรูปทรงอาณานิคม (ลุงคิว) และยุ้งข้าว ในปีนี้ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนาฯ ได้จัดพื้นที่ให้มี “จุดบริการข้อมูล และจุดบริการเครื่องดื่ม” ไว้รองรับผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์และให้บริการข้อมูลการเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ฯในเบื้องต้น รวมทั้งเป็นจุดพักผ่อน และจัดจำหน่ายของที่ระลึก โดยด้านในของจุดบริการข้อมูล (Information Point) สำหรับจำหน่ายบัตรเพื่อเข้าชม การรับชมวีดิทัศน์แนะนำพิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนาฯ การบริการข้อมูลด้านสถาปัตยกรรมเรือนโบราณล้านนา บริการจำหน่ายหนังสือด้านศิลปวัฒนธรรม ของที่ระลึก และงานฝีมือ ของพิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนาฯ รวมทั้งจุดบริการเครื่องดื่ม (Refreshment Point) ไว้ให้บริการ สำหรับผู้ที่สนใจเข้ามาเยี่ยมชม พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนาฯ นั้น สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ ณ จุดบริการข้อมูล และจุดบริการเครื่องดื่ม พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา ซึ่งเปิดให้บริการ ในวันจันทร์-วันศุกร์ ระหว่างเวลา08.30 -16.30น. วันเสาร์-วันอาทิตย์ ระหว่างเวลา 09.00 -16.30 น. และปิดทำการทุกวันหยุดนักขัตฤกษ์ สอบถามรายละเอียด ได้ที่ โทร 053-943625-6
ให้คะแนนบทความนี้
โดยการคลิกที่ดาว มากที่สุด = 5 ดาว
คะแนนทั้งหมด
คะแนน
จาก
ครั้ง
5
0
4
0
3
0
2
0
1
0
เผยแพร่เมื่อ 15 กันยายน 2558 • การดู 1,049 ครั้ง
เมนู
เรือนโบราณล้านนา
กิจกรรมในพิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑ์มีชีวิต
เฮือนเก่าเฮาฮักษา'65
หลักสูตรระยะสั้นปี 2563
สาระความรู้วิถีชีวิตล้านนา
อาหารล้านนา
ภูมิปัญญาเชิงช่างกับการอนุรักษ์ (AFCP) 2019
- การปรับปรุงซ่อมแซมเรือนโบราณล้านนา เฟสที่ 1
- การปรับปรุงซ่อมแซมเรือนโบราณล้านนา เฟสที่ 2
- เกร็ดความรู้ภูมิปัญญาเชิงช่างกับการอนุรักษ์ (สล่าล้านนา)
- การเสวนา และการอบรมเชิงปฏิบัติการ (workshop)
- นิทรรศการภูมิปัญญาสล่าสร้างเรือน
- วีดิทัศน์ “ถอดบทเรียนการซ่อมแซมสู่แม่แบบการอนุรักษ์เรือนโบราณล้านนา"
- ข่าวสารภายในโครงการ
ต้นไม้ในพิพิธภัณฑ์
วิดีโออื่นๆ ที่น่าสนใจ
โรงเรียนนานาชาติอเมริกันแปซิฟิก เข้าทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้สถาปัตยกรรมล้านนา
ปลาช่อน ปลาดุกกิโล - 25 มิถุนายน 2562
ขอแสดงความยินดีกับ 3 หน่วยงานของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ได้รับการรับรองสำนักงานสีเขียว GREEN OFFICE ระดับดีเยี่ยม (ทอง) จากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ดูทั้งหมด
บทความเป็นประโยชน์ต่อท่าน
×
ให้คะแนนบทความนี้โดยการคลิกที่รูปดาว
มากที่สุด = 5 ดาว