วิถีผ้าทอไทยลื้อท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก

วิถีผ้าทอไทยลื้อท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก
 

           ปัจจุบันสังคมโลกเปลี่ยนแปลงไปทั้งระบบเศรษฐกิจ  สังคมวัฒนธรรม  และกระแสโลกาภิวัตน์  วิถีชีวิตของมนุษย์จึงเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย  อาทิเช่น  การแต่งกาย  อาหาร การดำรงชีวิต  จะสังเกตเห็นว่า  ในสมัยโบราณการดำรงชีวิตของผู้คนจะมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย  งดงาม  ใช้ชีวิตโดยเคารพในธรรมชาติ  ปรับตัวอยู่กับธรรมชาติได้อย่างมีความสุข  ความสุขของคนสมัยนั้นสามารถหามาได้ง่ายๆกับชีวิตรอบตัว  ชีวิตไม่จำเป็นต้องดิ้นรนตามความต้องการที่มีมากเกินความจำเป็นดังเช่นสมัยปัจจุบัน

           วิถีชีวิตของคนชนบทในสมัยโบราณมักเกี่ยวข้องกับธรรมชาติและเกษตรกรรม  ฤดูฝนจะมีการหว่านกล้าดำนาในช่วงเดือนเก้า(เหนือ) เดือนสิบ(เหนือ)  หรือช่วงเข้าพรรษา  ในระหว่างการปลูกดำนา ก็จะมีการหาปู หาปลา เพื่อเลี้ยงชีพ  พ่อบ้านที่ว่างจากการทำงานก็จะไปเป็นพรานล่าสัตว์  ส่วนแม่บ้านจะปลูกฝ้ายในเดือนแปด  เดือนเก้า  และเก็บเอายวงฝ้ายมาอีดและปั่นเป็นเส้นฝ้าย  ซึ่งมีการนำศิลปะการแสดงมาร่วมกับการทำงานเพื่อให้การทำงานสนุกสนานไม่น่าเบื่อ เกิดวรรณกรรมล้านนาขึ้นหลากหลายเรื่องราว  อาทิเช่น จ๊อยจีบสาว  ฟ้อนสาวไหม  เพลงปั่นฝ้าย  เป็นต้น

 

ทัศนีย์  กาตะโล

ครูโรงเรียนสะเมิงพิทยาคม อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่

 
ไฟล์เอกสารที่เกี่ยวข้อง วิถีผ้าทอไทยลื้อท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก.pdf

วิถีผ้าทอไทยลื้อท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก
วิถีผ้าทอไทยลื้อท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก
วิถีผ้าทอไทยลื้อท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก
วิถีผ้าทอไทยลื้อท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก
ให้คะแนนบทความนี้
โดยการคลิกที่ดาว มากที่สุด = 5 ดาว

คะแนนทั้งหมด


คะแนน
จาก ครั้ง
5
8
4
1
3
0
2
0
1
0
เผยแพร่เมื่อ 22 เมษายน 2563 • การดู 2,558 ครั้ง
 

เมนู


 
วิดีโออื่นๆ ที่น่าสนใจ
ดูทั้งหมด