การแพทย์แผนปัจจุบัน เป็นระบบการดูแลรักษาสุขภาพ ที่มีมาตรฐาน มีจุดเด่นคือการใช้ เทคโนโลยีในการหาสาเหตุแห่งโรค และอาการ แบ่งระบบที่ชัดเจน เช่น ระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร แพทย์มีความรู้ทั่วไปและความรู้ความชำนาญเฉพาะทางตามระบบ มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ ได้การยอมรับ เป็น ระบบที่พัฒนาต่อเนื่อง มีเหตุผล อธิบายชัดเจน ต่อยอดหรือทำการศึกษาซ้ำ และนักวิจัยคนอื่นสามารถพัฒนาต่อไปได้ ส่วนการแพทย์ล้านนา การแพทย์อาข่า เมี่ยน ม้ง เย้า และอื่นๆ (ทั้งสิ้นประมาณ ๔๐ ชนเผ่า) เป็นการแพทย์ประสบการณ์ อ้างอิงธรรมชาติ ถ่ายทอดจากปากต่อปาก องค์ความรู้ในการรักษาอยู่ที่เฉพาะตัวหมอหรือผู้ที่รับถ่ายทอด ไม่มีตำราเป็นทางการ มีเอกสารอ้างอิงหรือพับสา ใบลานและสมุดบันทึก ใช้หลักของศาสนาพุทธและองค์รวมในการดูแลเยียวยาร่างกายเอง เห็นว่ามนุษย์แตกต่างในเรื่องของธาตุ เมื่อปกติต้องบำรุงร่างกายให้แข็งแรงก่อน โรคจึงจะหายหรือรักษาได้ โบราณใช้หลักการแพทย์ เช่นการปล่อยปลิง การถอนพิษด้วยยาสมุนไพร และการถอนพิษด้วยการขับถ่าย แม้ความเจริญทางการแพทย์แผนปัจจุบันล้ำหน้ากว่าการแพทย์แผนโบราณ แต่ปัจจุบัน มนุษย์กลับมาแสวงหาการใช้ธรรมบำบัด หรือใช้สมุนไพรบำบัด เนื่องจากเกรงอันตรายจากสารเคมี และอาการข้างเคียงของยา แต่การนำองค์ความรู้ด้านการแพทย์ล้านนามาใช้ ต้องผ่านการศึกษาด้านองค์ความรู้ในใบลาน พับสาและเอกสารโบราณ ความเข้าใจในเวชกรรม หลักการตั้งตำรับยาซึ่งต้องเข้าใจตัวยาแต่ละชนิด คัดเลือก ปรับใช้ให้สามารถประยุกต์กับยุคสมัยจึงจะสามารถพัฒนาต่อยอดจากฐานรากได้
เภสัชกรหญิง รศ.ดร. พาณี ศิริสะอาด
5 | |
4 | |
3 | |
2 | |
1 |