“ต้นเขือง” (ต้นเต่าร้าง)
เต่าร้าง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Caryota urens) เป็นพืชในวงศ์ Palmae เป็นปาล์มต้นเดี่ยว ขนาดใหญ่ ไม่มีหนาม ปล้องบนลำต้นยาว แผ่นใบเป็นร่องรูปตัว V ใบประกอบแบบขนนก ๒ ชั้น ก้านใบยาวขนาดใหญ่ ออกดอกแล้วตาย ดอกช่อแยกเพศ ผลสุกสีแดง พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ศรีลังกา อินเดีย ตอนใต้ของจีน ไทยและเวียดนาม
เนื้อไม้ ใช้ประโยชน์ในการก่อสร้าง และทำเครื่องมือทางการเกษตร เป็นไม้ประดับ ช่อดอกปาดเอาน้ำหวานมาผลิตน้ำตาลได้ ใบใช้มุงหลังคา ทำเชือก ยอดอ่อนต้มรับประทานได้ ทางภาคใต้นำยอดนำมาต้มกะทิกับกุ้ง ขนที่ผลเมื่อถูกผิวหนัง ทำให้เกิดผื่นแดงและคัน
ด้านความเชื่อแบบล้านนาจะนำตุงกระดาษมามัดกับก้านเขือง ปักบนเจดีย์ทรายในวันเข้าวัดทำบุญในวันมหาสงกรานต์ ตามประเพณีความเชื่อแบบล้านนา
ประโยชน์ เป็นไม้ประดับ
ด้านอาหาร รสชาติของยอดเต่าร้างจะคล้ายกับยอดมะพร้าว สามารถนํามาต้มจิ้มน้ําพริก หรือแกงได้ชาวบ้านนิยมนํามาใช้แทนยอดมะพร้าว
ข้อควรระวัง เปลือกผลทำให้ระคายเคือง ลําต้นของต้นเต่าร้างจะมีขนและพิษคัน ถ้าโดนมือจะทําให้คันมาก บางคนมีอาการแพ้ชาวบ้านจะเอาส่วนที่มีขนออกให้หมดก่อนจึงจะนํามารับประทานได้
สรรพคุณ หัวและราก มีรสหวานเย็นขม ดับพิษที่ตับ ปอด และหัวใจพิการได้ดี
อ้างอิงจาก : https://www.m-culture.go.th/uthaithani/ewt_news.php?nid=232
5 | |
4 | |
3 | |
2 | |
1 |