ขั้นตอนการทำสะโป้ก

 
 

“ สะโป้ก ”

ในดินแดนล้านนา สะโป้ก เป็นเครื่องเล่นอย่างหนึ่งทำให้เกิดเสียงดังอย่างเสียงประทัด ในประเพณีสงกรานต์ล้านนา ช่วงเช้ามืดของวันสังขานต์ล่อง จะนิยมจุดสะโป้ก โดยเชื่อว่าเพื่อเป็นการไล่ปู่ย่าสังขานต์ หรือจุดเพื่อเป็นสัญญาณวันขึ้นปีใหม่ ตามคติความเชื่อของคนล้านนา สะโป้กทำด้วยไม้ไผ่ลำใหญ่อย่างหนา เช่น ไม้ไผ่สีสุก หรือไม้ไผ่ซาง เป็นต้น ตัดลำให้ยาวประมาณ 150 เซนติเมตร ทะลุข้อปล้องข้างในกระบอกออก ให้เหลือไว้เพียงข้อล่างสุดของกระบอก เจาะรูเหนือข้อขึ้นมา โดยความสูงจากปล้องถึงรูให้วัดจากความกว้างของปลายกระบอก(ประมาณ2-3นิ้ว) ส่วนต้นกำเนิดของเสียงเกิดจากแก๊สก้อน(อะซิทีลีน) หรือแก๊สบ่มผลไม้ ที่หย่อนลงไปในกระบอก เติมน้ำเปล่าเพื่อให้เกิดปฏิกิริยาเคมี ทำให้กลายเป็นก๊าซที่สามารถติดไฟได้ อยู่ภายในกระบอกหรือบ้องสะโป้ก จากนั้นใช้ไฟจุดตรงรูที่เจาะไว้ เชื้อเพลิงจะติดไฟอย่างรวดเร็วในพื้นที่จำกัด ทำให้เกิดแรงอัดระเบิดเสียงดังขึ้น สามารถจุดได้หลายครั้งจนไอเชื้อเพลิงนั้นหมด (ไฟที่ใช้จุดต้องมีเปลว เช่น เทียนควรต่อก้านไฟชนวนให้ยาว และนำลวดพันรอบไม้ไผ่ให้แน่นหนา เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจากสะโป้กแตกได้)

*** คำเตือน*** การละเล่นนี้หากเล่นโดยประมาท ขาดความระมัดระวัง หรือให้เด็กเล่นกันโดยลำพัง อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ เช่น กระบอกไม้อาจแตก ไฟไหม้ เสียงดังเป็นอันตรายต่อหู หรือทำให้เกิดความเดือนร้อนรำคาญของเพื่อนบ้านได้

 
ให้คะแนนบทความนี้
โดยการคลิกที่ดาว มากที่สุด = 5 ดาว

คะแนนทั้งหมด


คะแนน
จาก ครั้ง
5
18
4
2
3
1
2
0
1
1
เผยแพร่เมื่อ 12 เมษายน 2563 • การดู 11,538 ครั้ง
 

เมนู


 
วิดีโออื่นๆ ที่น่าสนใจ
ดูทั้งหมด