กวาว (ดอกทองกวาว)

 
 

ปริศนาคำทายล้านนา “หัวดำ หางแดง ตกมาสะแคงหล้องหง้อง” คืออะหยัง ?

 

เฉลยเจ้าา ! นั่นคือ กวาว

อ่านว่า”กว๋าว”

กวาว คือ ทองกวาว เป็นพืชในวงศ์ LEGUMINISAE สกุล Butea ที่รู้จักกันทั่วไปมีอยู่ ๒ ชนิด คือกวาวต้น และ กวาวเครือ ซึ่งเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ต้นสูงประมาณ ๘ - ๑๕ เมตร ลำต้นมักจะคดงอและแตกกิ่งต่ำเปลือกสีเทาคล้ำ แตกระแหงเป็นร่องตื้นๆ “ใบ”เป็นใบประกอบซึ่งออกตรงจุดปลายก้านเดียวกัน ๓ ใบ ติดเวียนสลับตามลำต้นและกิ่งก้าน มีหนาแน่นบริเวณปลายกิ่ง รูปใบย่อยมีลักษณะป้อมมนเกือบกลม โคนเบี้ยว ปลายมน ลักษณะคล้ายรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน

“ดอก” ออกเป็นช่อตามกิ่งก้านและปลายกิ่งช่อหนึ่งยาวประมาณ ๒ - ๓ ฟุต ส่วนฐานรองดอกเป็นรูปถ้วยดอกสีแสดหรือสีเหลือง(ชนิดดอกสีเหลืองจะหายาก) และจะผลิดอกปีละครั้งราวเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ “ผล” เป็นฝักแบนกว้างประมาณ ๓.๕ เซนติเมตร ยาวได้ถึง ๑๔ เซนติเมตร มีขนปกคลุม ภายในมีเมล็ดแบนๆ เม็ดเดียวเท่านั้น

ประโยชน์ของทองกวาวชนิดนี้ บางท่านใช้ดอกรับประทานเป็นผัก บ้างก็นำไปตากแห้งแล้วต้มให้หมูกินอีกด้วย มีการบันทึกในทางการแพทย์ว่าเป็นยาแก้ถอนพิษไข้ เป็นยาขับปัสสวะ และผสมยาหยอดตาแก้ตาเจ็บ ตาฟาง

(ข้อมูล: สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่มที่ ๑)

 
ให้คะแนนบทความนี้
โดยการคลิกที่ดาว มากที่สุด = 5 ดาว

คะแนนทั้งหมด


คะแนน
จาก ครั้ง
5
10
4
0
3
0
2
0
1
0
เผยแพร่เมื่อ 22 มกราคม 2563 • การดู 3,982 ครั้ง
 

เมนู


 
วิดีโออื่นๆ ที่น่าสนใจ
ดูทั้งหมด