U.S. Ambassadors Fund for Cultural Preservation (AFCP) 2019

ล้อ เกวียน

 
ล้อ เกวียน
 

ในภาษาล้านนามีคำที่ใช้เรียกยานพาหนะ ดังที่ภาษาไทยกลางเรียกว่า "เกวียน" นั้นถึงสองคำ คือเรียกว่า ล้อ และ เกวียนอย่างเช่น "อย่าไพเทิกทางล้อ อย่าไพป้อทางเกวียน ล้อเพิ่นจักเวียน เกวียนเพิ่นจักหล้ม" แต่โดยทั่วไปแล้วมักเรียกว่าล้อ มากกว่าเรียกว่าเกวียน และเรียกวงล้อว่า แหว้นล้อ หรือ
เหวิ้นล้อ โดยมิได้เรียกว่า "ล้อ" เฉยๆ และเรียกวงล้อของรถยนต์เป็นต้น ว่า เเหว้นล้อ 
ส่วนวงล้อของเกวียนซึ่งมีขนาดการที่เรียกว่า ล้อ น่าเป็นการเรียกชื่อดามวงล้อที่มีรูปกลม โดยที่ล้อหรือเกวียนซึ่งใช้ในด้านนาระยะหลังนี้ มีผู้กล่าวว่าเป็นแบบที่รับมาจากเมืองเมาะตะมะ  แต่ก็มีร่องรอยว่ามีการใช้เกวียนในล้านนามาตั้งแต่โบราณ อย่างเช่น ล้อ "ตะลุมพุก"โดยที่วงล้อได้จากการตัดหั่นท่อนไม้ตามขวาง เจาะรูตรงกลางใส่แกนเพลาตรงกลาง มี ๒ ล้อ มีไม้คานต่อออกจากแกน
เพลาสำหรับดึงลาก ล้อชนิดนี้แต่เดิมคงใช้บรรทุกของหนักอย่างขนปืนใหญ่ไปออกศึกสงครามในศิลาจารึกหลักหนึ่งกล่าวถึงดำแหน่งข้าราชการสมัยนั้น มีตำแหน่งหนึ่ง คือ "พวกงัดหล่ม"เข้าใจว่าเป็นตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มคนที่มีหน้าที่ใช้ไม้งัดล้อที่ตกหลุมติดหล่ม ต่อมามีการใช้ล้อตะลุมพุก ในการลากไม้ปราสาทศพพระภิกษุผู้ใหญ่ กษัตริย์ และราชวงศ์ล้อเกวียน เป็นล้อที่ใช้สัตว์เทียมในการชักลาก มีใช้กันทั่วโลก แต่สำหรับในเอเชียอย่างประเทศไทย จะใช้วัวและควายเทียมเกวียน โดยมักใช้ควายเทียมเกวียนเมื่อมีการบรรทุกหนัก หรือทางขึ้นเนินสูง เพราะควายมีกำลังดีกว่าวัว
แต่ถ้าเทียมเกวียนไปทางไกลและมีแดดจัดก็จะใช้วัวเทียมเพราะวัวทนแดดดีกว่าควาย แต่ส่วนมากใช้วัวเทียม จึงนิยมเรียกเกวียนว่า ล้องัวส่วนประกอบต่าง ๆ ของล้อเกวียน ส่วนประกอบหลักของเกวียน ได้แก่ ส่วนที่เป็นล้อและ ตัวเรือน โดยในส่วนที่เป็นล้อนั้นจะมี คุม เหล็กปลอกคุม สื้-ซี่ไม้ฝักขาม และ เหล็กตื่น ในส่วนอื่น ๆ นั้นจะประกอบด้วยเหล็กแกน (อ่าน "เหล็กแก๋น") หมอน หรือ กะหลก ไม้
ดันคอ ไม้ขอแพะ สายอก ไม้คันชัก (อ่าน "ไม้กันจั๊ก") หีบเรือนล้อ (อ่าน "เฮือนล้อ" ไม้กงคิ้ว (อ่าน "ไม้ก๋งกิ๊ว")ตาดหน้า ตาดหลัง ไม้ค้ำ (อ่าน "ไม้ก็") และ ไม้ห้ามล้อ

 

ข้อมูลจากสารานุกรมวัฒนธรรมภาคเหนือ

 
ล้อ เกวียน
ล้อ เกวียน
ล้อ เกวียน
ล้อ เกวียน
เผยแพร่เมื่อ 23 March 2022 • การดู 6,953 ครั้ง