U.S. Ambassadors Fund for Cultural Preservation (AFCP) 2019

ลมหายใจของการอนุรักษ์ เรือนโบราณสันป่าตอง 1 (เบิร์ด นพพงค์ วียะศรี) - The Breath of Conservation Sanpatong Folk House 1, Bird Noppong Veeyasri

 
 
 

นายนพพงค์ วียะศรี หรือเบิร์ด ซึ่งเป็นทายาทรุ่นที่ 4 ของบ้านหลังนี้ โดยบ้านหลังนี้เริ่มก่อสร้างจริงเมื่อปี 2498 โดยมีอายุ 64 ปีผ่านมาแล้ว เรือนหลังนี้บูรณะครั้งแรก ปี 2536 ซึ่งเมื่อก่อนนั้นฐานต่อม่อจะต่ำมาก สูงประมาณ 1 ฟุตเท่านั้น ซึ่งเกิดการร้าว และปลวกกัดกินพื้น พ่อกับแม่จึงเริ่มเห็นจากความต่ำเลยยกสูง ให้สูงกว่าเดิม พร้อมกับทาสีใหม่ ตั้งแต่ปี 2536

          I’m Noppong Veeyasri, but you can call be Bird. I am the fourth generation heir of this house, which started construction in 1955 (Buddhist era 2498), making it 64 years old. This house was repaired for the first time in 1993 (Buddhist era 2536). Before that the foundation post was very short, only about 1 foot tall, due to cracks and termites. My parents decided to make it even taller than before and gave it a new coat of paint.

          ที่เริ่มบูรณะครั้งแรกเนื่องมาจากสมาชิกในครอบครัวเริ่มมากขึ้น ครอบครัวเริ่มใหญ่ขึ้น จากเดิมที่อยู่กันแค่ 5 คน ณ ปัจจุบันมีทั้งหมด 8 คน แล้วบ้านไม่เป็นสัดส่วน ผุพัง คิดจะก่อเติมตรงไหนก็ทำ เก็บข้าวของไม่เป็นระเบียบ โดยเฉพาะด้านล่างซึ่งเป็นใต้ถุนโล่ง รกรุงรังมาก เวลาฝนตกลมก็จะพัดฝนสาดเข้ามาครึ่งตัวบ้าน น้ำก็ไหลเข้าที่นอน มันผุพังมาก

          The first repairs were due to the fact that there were also more members in the family, so the family was becoming bigger. Whereas before there were only 5 people, now there are 8. The house also wasn’t proportional and was in disrepair. Wherever they had wanted to add on to the house, they did. They hadn’t stored things in an organized manner, especially in the space below the house, which was incredibly messy. Whenever it rained, the wind would blow the rain into the house and the water could reach the bedrooms, so it was really falling apart.

          อนาคตข้างหน้าหากลูกหลานโตขึ้น เขาก็จะไม่มีที่อยู่อาศัยที่ดี อยากทำให้ทุกคนมาอยู่ด้วยกัน มีสถานที่ทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัวอย่างมีความสุข ก็เลยคิดถึงการปรับบ้านขึ้นใหม่ โดยยังรักษาโครงสร้างเดิมไว้

          In the future, when the children are grown, the house wouldn’t have been in a good shape for them. We wanted everyone to live together and to have a place for family activities. That is why we decided to renovate the house, while maintaining the original structure.

          ที่อยากจะให้คงอยู่ไว้ เนื่องจากตนเองเป็นคนรักไม้มานานแล้ว อาจจะเพราะได้อยู่ที่นี่มาตั้งแต่เกิด ไม้จะมีกลิ่นอายของมัน มีลวดลายที่มีเสน่ห์ ด้วยความชอบและได้มาอยู่ที่บ้านหลังนี้ มันคลาสสิค รีสอร์ตที่เห็นในปัจจุบันก็เริ่มทำ แต่ไม่ได้ใช้ไม้เดิม แปะไม้ไปมาสีก็ไม่ได้ไม่กลืนกัน การสร้างใหม่จะมีตำหนิ เสาก็ไม่เรียบมีรอยไม้ต่อไปมา ไม้คนละสี ไม่เนียนตาเท่าไหร่ และปัจจุบันบ้านไม้แต่ละหลังก็หายไป แต่เรารู้สึกว่าบ้านของเรามีคุณค่ามากขึ้น เพราะว่ามันเหมือนของหายากแล้ว ขนาดการซื้อไม้มือสองก็มีราคาแพง เช่น ไม้แป้นแค่แผ่นเดียวก็ศอกละ 500 บาทไปแล้ว ไม้หน้าหกก็ศอกละ 200 บาท ซื้อไม้แค่ 2 เมตรก็ราคา 1,000 บาทแล้ว แต่อันนี้เราทำทั้งหลัง จึงไม่อยากให้เสียไป เพราะเราจะหาใหม่แบบนี้ไม่ได้อีกแล้ว

          The reason we wanted to maintain the structure is because I have always loved woodwork. Maybe it’s because I’ve lived here since I was born. The wood has a particular smell and a beautiful grain. If you just add wood, the colors won’t go together. The new structure would have flaws. The pillars won’t be neat. The wood will be two different colors, which won’t look good. Today, all of the old wood houses are disappearing, but I feel that our house has increased in value because it’s hard to find this kind of house anymore. Even buying secondhand wood is expensive. A single wooden board can be 500 baht per sok. A six-inch board is 200 baht per sok. Buying two meters of wood is already 1000 baht. But this is a whole house, so we definitely don’t want to lose it because we won’t be able to find anything like this again.

          ปลูกฝังทุกคนว่าเรามีบ้านของดี ของที่มีมูลค่าอยู่กับเราแล้ว ช่วยกันเก็บและอนุรักษ์ไว้ดีกว่า ชั้นบนของบ้านจะเหมือนเดิม ลายไม้ต่างๆ เหมือนเดิม แต่เด็กเล็กที่มักจะไม่รู้ว่าต้องรักษาก็ให้อยู่ด้านล่าง ให้คนเฒ่าคนแก่อยู่ด้านบนบ้าน หากวันข้างหน้าท่านขึ้นมาบนบ้านไม่ไหวก็ค่อยให้ลงไปอยู่ด้านล่าง แต่ด้านบนบ้านก็จะให้เป็นเหมือนเดิม เวลาใครมาเยี่ยมดูบ้านก็ให้ขึ้นมาดูได้ ว่าเมื่อก่อนบ้านเป็นแบบนี้ที่เป็นโครงไม้จริงๆ เป็นแบบนี้ ได้มารับรู้ และศึกษาจริงๆ ว่าวิถีของคนสมัยก่อนที่มาสร้างบ้านให้เรา เขาทำกันแบบไหน

          We teach everyone in the family that we have a great house that brings a lot of value to our family. We all work together to maintain it. The upper floor is the same as it always been. The wood is the same. The younger children who don’t yet understand the importance of conservation stay on the lower floor. The upper floor we want to keep in its original state. When people visit the house, we can invite them up to the upper floor to see what houses were like in the past. They can learn more about the lives of people in the past who were the people that made this house.

          ฝากถึงคนรุ่นใหม่ หรือคนรุ่นเก่า ที่มีบ้านโบราณ เราสามารถอยู่ร่วมได้ระหว่างบ้านโบราณ และบ้านของคนรุ่นใหม่ เพียงแค่เราเปลี่ยนความคิด ที่ว่าบ้านโบราณใต้ถุนนั้นโล่งอยู่แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ด้านบน ฉะนั้นด้านล่างเราสามารถปรับสร้างเพิ่มเติมได้ กว้างและประหยัดกว่าการทำบ้านใหม่ด้วยซ้ำ

          I want to express to anybody that has a traditional house that it’s possible for traditional houses and modern houses to come together. Once you realize that the space underneath a traditional house is empty, you can actually modify that space to make it larger and livable, which is actually cheaper than just building a whole new house.

          เราก็จะได้อยู่กับความทรงจำที่เคยเป็นมา และได้อยู่กับบ้านใหม่ด้านล่างที่เป็นสัดเป็นส่วน อีกทั้งเราจะได้บ้านที่มีคุณค่า ได้อยู่ร่วมกันอย่างสบายใจและมีความสุข เพราะว่ามันหาบ้านโบราณไม่ได้แล้วจริงๆ เมื่อบ้านโบราณอื่นหายไป บ้านเราก็จะยิ่งโดดเด่นและมีคุณค่ามากขึ้น มีแต่คนตามหา ซึ่งเป็นบ้านที่ทั้งมีราคา และทำขึ้นมายากมากๆ กว่าจะประกอบขึ้นมาเป็นแบบนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ฉะนั้นเรามีแล้วอยากจะให้รักษาไว้ดีกว่า รีโนเวท แต่งเติมเอาจะดีกว่า

          We get to live with memories of the past and a modern living arrangement underneath. We get a valuable house to live together in comfort and happiness. Because you can’t find traditional houses anymore. When other traditional houses have disappeared, our house will be even more remarkable. People seek out our house. It has great value and was built with great care and effort. It wasn’t easy to build a house like this in the past. So now that we have it, we want to conserve it rather than renovate it.

 
เผยแพร่เมื่อ 4 February 2022 • การดู 1,521 ครั้ง