การศึกษาที่เท่าเทียม

การศึกษาที่เท่าเทียม

หลักสูตรการเรียนรู้ การอมรมหลักสูตรระยะสั้น การทำอาหารล้านนา (ประเภทแกง) - แกงสะแล
หลักสูตรการเรียนรู้ การอมรมหลักสูตรระยะสั้น การทำอาหารล้านนา (ประเภทแกง) - แกงสะแล
• แกงสเเล วัตถุดิบในการทำน้ำพริกแกง 1. พริกแห้งเม็ดใหญ่ 5-7 เม็ด 2. กระเทียม 10 กลีบ 3. หอมแดง 5 หัว 4. ข่าหั่น/ตะไคร้หั่นอย่างละ 1/2 ช้อนโต๊ะ 5. กะปิหยาบ 1 ช้อนโต๊ะ 6. เกลือ 1/2 ช้อนชา วัตถุดิบ/ส่วนผสม 1. ซี่โครงหมู 300 กรัม 2. สะแล 2 ถ้วย 3. มะเขือเทศลูกเล็ก 10 ลูก วิธีทำ 1. นำซี่โครงมาสับเป็นชิ้นพอคำ 2. เอาน้ำใส่หม้อแกงขึ้นตั้งไฟพอน้ำเดือดใส่ซี่โครงหมูต้มจนนุ่ม 4. ใส่น้ำพริกแกง 5. ใส่สะแลต้มจนสะแลนุ่ม 6. ใส่มะเขือผ่าครึ่งปรุงรสด้วยเกลือหรือน้ำปลา สิ่งที่ควรรู้ สะแลมี 2 แบบคือสะแลป้อมกับสะแลยาว สะแลยาวเวลาแกง จะมีเหมือกเหนียวๆ คนมักนิยแกงสะแลป้อมมากกว่า ประโยชน์ของสะแล ในสะแลจะมีเบต้าแคโรทีนสูงที่สามารถต่อต้านมะเร็งได้ เป็นยาอายุวัฒนะช่วยขับถ่ายได้ดี ข้อมูล / สุพันธ์ ฉิมดี กิจกรรมอบรมหลักสูตรระยะสั้นด้านหัตถศิลป์ และวัฒนธรรมล้านนาสร้างสรรค์ ภายใต้พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนามีชีวิต แหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมและวิถีชีวิตล้านนาอย่างสร้างสรรค์ อบรมหลักสูตรระยะสั้นอาหารล้านนา(ประเภทแกง) ปี พ.ศ. 2563 โดย สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การทำต้นผึ้งและต้นเทียน เครื่องสักการะแบบล้านนา การทำต้นผึ้งและต้นเทียน เครื่องสักการะแบบล้านนา
การทำต้นผึ้งและต้นเทียน เครื่องสักการะแบบล้านนา
• อุปกรณ์ : มีด กรรไกร ไม้หย่อง ค้อน มีดสแตนเลส ใช้มีดเหล็กไม่ได้เพราะหยวกเวลาโดนมีดเหล็กจะดำ สำหรับไม้หย่อง ก็จะใช้ไม้จิ้มฟันทั่วไป นำมาแช่น้ำให้เปื่อยเสียก่อน แล้วมาทุบ หากเป็นโบราณก็จะเหลาไม้เอาเอง หรือจะใช้ลวดเส้นใหญ่ก็ได้ สำหรับวัสดุจากธรรมชาติที่จะมาใช้อีกคือกาบกล้วย ต้นกล้วย ใบมะพร้าวสำหรับทำกลีบเลี้ยงดอกผึ้ง ไม้เสียบลูกชิ้นสำหรับทำก้านของดอกผึ้ง เริ่มทำต้นก่อน นำเอาแกนของต้นกล้วยมาใช้ แล้วนำกาบกล้วยที่เป็นเส้นมาพันเข้ากับแกนต้นกล้วยที่เตรียมไว้ พันให้แน่น แล้วใช้ไม้หย่องมาปักไว้เพื่อยึดกาบกล้วยให้ติดแล้วใช้ค้อนทุบช่วย จากนั้นใช้มีดเฉือนให้กาบกล้วยที่พันไว้เรียบเสมอกัน จะพันกาบกล้วยขึ้นไป ทั้งหมดสามชั้นต่อกันขึ้นไป ชั้นที่สามจะวัดโดยใช้กำปั้นเป็นตัววัดสำหรับความห่างของชั้นที่สามกับชั้นที่สองจากล่าง แล้วพันแบบเดียวกัน เสร็จแล้วใช้ปลายมีดเฉือนสำหรับตกแต่งในแต่ละชั้นของการม้วนให้เรียบเสมอกันให้สวยงาม ขั้นตอนการทำดอกผึ้ง แผ่นขี้ผึ้งสามสี สีเหลือง สีส้ม สีแดง ก่อนที่จะนำมาตัดก็จะนำแผ่นขี้ผึ้งไปตากแดดไว้สักพักให้อ่อนนุ่ม ปั้นได้ง่าย แล้วนำมาตัดให้เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดแผ่นมีสามแผ่นสามระดับ ใหญ่ กลาง และเล็ก ลดหลั่นเป็นชั้นขึ้นไป ตัดรูปสามเหลี่ยมตรงกึ่งกลางของแผ่นสี่เหลี่ยมจัตุรัสในแต่ละด้าน(4 ด้าน) ออกมาคล้ายรูปดาวกระจาย และทำแบบเดียวกันทั้งสามแผ่น จากนั้นใช้มือดึง และรูดกลีบแต่ละอันให้ยาวเรียว และมีปลายแหลม ตกแต่งให้มีลักษณะคล้ายกลีบดอกไม้ และบิดให้เกิดมิติ ทำแบบเดียวกันสองแผ่น ส่วนชั้นที่สามจะทำอีกลักษณะหนึ่งคือดึงเป็นปลายแหลมแล้วดันกลีบตั้งขึ้น จากนั้นใช้แผ่นขี้ผึ้งสีส้ม ตัดเป็นวงกลม และปั้นให้เป็นวงกลมขนาดเล็ก เสร็จแล้วนำมาติดเข้าที่กึ่งกลางของกลีบดอกที่เล็กที่สุดจากนั้นใช้ขี้ผึ้งสีแดง ทำเป็นเกสรดอกไม้ไว้ที่จุดตรงกลาง เสร็จแล้วนำทั้งสามกลีบมาซ้อนกัน ในลักษณะไขว้กัน ให้กลีบดอกสับหว่างกันไปเกิดมิติเป็นดอกผึ้ง กลีบเลี้ยง นำใบมะพร้าวมาตัดเป็นเส้น ฉีกออกจากก้านเป็นเส้น จำนวน 3 เส้น ตัดให้ความยาว 2 คืบ เท่ากันทั้งสามเส้น พับงอลง 3 เส้น ใช้เส้นที่ 2 ครอบลงที่เส้นที่ 1 ใช้ปลายเส้นที่ 3 ครอบเส้นที่ 2 แล้วสอดทะลุไปในเส้นที่ 1 เป็นลักษณะเกิดช่องสามเหลี่ยมขึ้น เสร็จแล้วดึงเข้าหากันทั้งสามเส้น จะเกิดเส้นซ้ายมือ เส้นขวามือ และเส้นตรงกลาง นำเส้นตรงกลาง 1 เส้น ดึงเข้าหาตัวเอง แล้วนำเส้นขวามือทับซ้อนลงไปและนำเส้นซ้ายมือสอดลงช่องที่อยู่ตรงกลาง จากนั้นดึง เกิดรูปสามเหลี่ยมนูน จากนั้นตัดให้เกิดปลายแหลมทุกเส้น และนำเอาดอกผึ้งที่ทำไว้วางทับลงไป ก้านดอกผึ้ง มีลักษณะเหมือนก้างปลา ใช้ใบมะพร้าว 2 เส้น ตัดปลายให้เท่ากัน เอาใบมะพร้าว 2 เส้นที่เตรียมไว้ ครอบลงบนไม้เสียบ ให้ไม้เสียบอยู่ตรงกลาง จะมีใบมะพร้าวขึ้นด้านบน และลงด้านล่าง จากนั้นบิดให้สลับกันไปมา ตรงรอยต่อก็พับเก็บเข้าไป และบิดสลับกันไปมาจนสิ้นสุด สำหรับมือก็จะจับสลับกันไปมา โดยใช้ทั้งสองมือในการสาน วิธีการเก็บ นำปลายใบมะพร้าวพันกับไม้เสียบม้วนลงเก็บปลายเหมือนการมัด เสร็จหมดแล้วนำส่วนประกอบทั้งหมดมาประกอบกัน กิจกรรมอบรมหลักสูตรระยะสั้นด้านหัตถศิลป์ และวัฒนธรรมล้านนาสร้างสรรค์ ภายใต้พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนามีชีวิต แหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมและวิถีชีวิตล้านนาอย่างสร้างสรรค์ อบรมหลักสูตรระยะสั้นการทำเทียนในพิธีกรรม ในวันที่ 30-31 กรกฏาคม และ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2563 โดย สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดทำและเผยแพร่โดย พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
หลักสูตรการเรียนรู้ การอมรมหลักสูตรระยะสั้น การทำอาหารล้านนา (ประเภทแกง) - แกงแคใส่จิ๊นเกลือ
หลักสูตรการเรียนรู้ การอมรมหลักสูตรระยะสั้น การทำอาหารล้านนา (ประเภทแกง) - แกงแคใส่จิ๊นเกลือ
• แกงแคจิ้นเกลือ(เนื้อหมูแห้ง) วัตถุดิบในการทำน้ำพริกแกง 1. พริกแห้งเม็ดใหญ่ 5-7 เม็ด 2. กระเทียม 10 กลีบ 3. หอมแดง 5 หัว 4. ข่าหั่น/ตะไคร้หั่นอย่างละ 1/2 ช้อนโต๊ะ 5. กะปิหยาบ 1 ช้อนโต๊ะ 6. เกลือ 1/2 ช้อนชา วัตถุดิบ/ส่วนผสม ผักที่จะใช้ในแกงแค ตำลึง/ผักชะอม/ใบชะพูล/ถั่วฝักยาว/ผักชีฝรั่ง/มะเขือพวง/ถั่วพู/ดอกแค/ผักเผ็ด/ใบพญายอ ฯลฯ วิธีทำ 1. นำจิ้นเกลือมาหั่นเป็นชิ้นพอคำ 2. นำผักทุกอย่างมาเด็ด หรือหั่น ล้างน้ำ พักไว้ 3. เอาน้ำใส่หม้อขึ้นตั้งไฟพอน้ำเดือดใส่จิ้นเกลือต้มจนจิ้นนุ่ม 4. ใส่น้ำพริกแกง ตามด้วยผักที่สุกช้าก่อนแล้วใส่ผักที่เหลือ 5. ปรุงรสด้วยเกลือหรือน้ำปลา สิ่งที่ควรรู้ แกงแคเป็นแกงที่นิยมทานในช่วงเปลี่ยนฤดูพืชผักสมุนไพร ที่อยู่ในแกง สามารถป้องกันไข้หวัดได้ นอกจากนั้นแต่ละฤดูพืชผักที่นำมา ใส่ในแกงแคที่หมุนเวียนเปลี่ยนไปตามฤดูได่เช่นฤดูหนาวเราก็จะมี ผักขี้หูด มะแปบ(ถั่วแปบ) ดอกลิงแลว ฤดูร้อนก็จะมีดอกข่า ดอกหมากปู้(หมากผู้หมากเมีย) ฤดูฝนก็จะมีเห็ดลมป่า เป็นต้น ข้อมูล / สุพันธ์ ฉิมดี กิจกรรมอบรมหลักสูตรระยะสั้นด้านหัตถศิลป์ และวัฒนธรรมล้านนาสร้างสรรค์ ภายใต้พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนามีชีวิต แหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมและวิถีชีวิตล้านนาอย่างสร้างสรรค์ อบรมหลักสูตรระยะสั้นอาหารล้านนา(ประเภทแกง) ปี พ.ศ. 2563 โดย สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่