ดอกสัก

กิจกรรมสำนัก


ทั้งหมด 471 รายการ
 
 
สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มช. ร่วมหารือภาคีเครือข่ายชุมชนอนุรักษ์เรือนโบราณล้านนาสันป่าตอง นำร่องชุมชนต้นแบบการอนุรักษ์เรือนโบราณล้านนา
สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มช. ร่วมหารือภาคีเครือข่ายชุมชนอนุรักษ์เรือนโบราณล้านนาสันป่าตอง นำร่องชุมชนต้นแบบการอนุรักษ์เรือนโบราณล้านนา

เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2565 พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มช. จัดกิจกรรมพบปะเครือข่ายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ภายใต้โครงการเรือนพื้นถิ่นล้านนา “เฮือนเก่า เฮาฮักษา” ประจำปี พ.ศ. 2565 โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์วิลาวัณย์ เศวตเศรนี ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เป็นประธานการหารือร่วมกับภาคีเครือข่ายชุมชนอนุรักษ์เรือนโบราณล้านนาสันป่าตอง พร้อมด้วยอาจารย์รุ่งโรจน์ เปี่ยมยศศักดิ์ หัวหน้าศูนย์อนุรักษ์เรือนโบราณล้านนาสันป่าตอง ผู้แทนทายาทเจ้าของเรือนโบราณล้านนาในพื้นที่ชุมชนสันป่าตอง ร่วมวางแนวทางในการบริหารจัดการและการสร้างความร่วมมือ ภายหลังจากที่ได้มีการดำเนินงานโครงการเรือนพื้นถิ่นล้านนา “เฮือนเก่า เฮาฮักษา” ประจำปี พ.ศ. 2565 เพื่อให้การดำเนินงานดังกล่าวนั้น สามารถพัฒนาและต่อยอดสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในการเป็นต้นแบบการอนุรักษ์เรือนโบราณให้กับชุมชนอื่นๆ ต่อไป พร้อมกันนี้คณะเครือข่ายฯ ยังได้เข้าเยี่ยมชมการจัดนิทรรศการภายในพิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา เพื่อนำไปปรับใช้เป็นแนวทางในการจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ภายในเรือนที่ได้ทำการอนุรักษ์ในชุมชนสันป่าตองเพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ภายในชุมชนต่อไป 
เผยแพร่เมื่อ 26 มีนาคม 2565 • การดู 396 ครั้ง
ร่วมสมทบทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุเพลิงไหม้บ้าน ให้แก่ พ่อครูสายัณห์ คำทิพย์โพธิ์ทอง (ผู้ได้รับรางวัลภูมิแผ่นดินปิ่นล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำปี พ.ศ.2559)
ร่วมสมทบทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุเพลิงไหม้บ้าน ให้แก่ พ่อครูสายัณห์ คำทิพย์โพธิ์ทอง (ผู้ได้รับรางวัลภูมิแผ่นดินปิ่นล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำปี พ.ศ.2559)

นายต่อพงษ์ เสมอใจ หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม พร้อมด้วยนางสาวฐาปนีย์ เครือระยา บุคลากรฝ่ายส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เป็นผู้แทนผู้อำนวยการสำนักฯ และผู้แทนบุคลากรสำนักฯ ร่วมสมทบทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุเพลิงไหม้บ้าน ให้แก่ พ่อครูสายัณห์ คำทิพย์โพธิ์ทอง (ผู้ได้รับรางวัลภูมิแผ่นดินปิ่นล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำปี พ.ศ.2559 สาขาศิลปะการแสดงและการขับขานพื้นบ้าน เพื่อร่วมบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น) ในวันพุธที่ 14 มีนาคม 2565 ณ บ้านป๊อก ต.สะเมิงเหนือ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่
เผยแพร่เมื่อ 26 มีนาคม 2565 • การดู 352 ครั้ง
กิจกรรม Happy Society : จิตอาสาการจัดทำหลุมปุ๋ยหมัก และถวายจตุปัจจัย ณ วัดผาลาด (ภายใต้โครงการ Happy CPAC: องค์กรแห่งความสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565)
กิจกรรม Happy Society : จิตอาสาการจัดทำหลุมปุ๋ยหมัก และถวายจตุปัจจัย ณ วัดผาลาด (ภายใต้โครงการ Happy CPAC: องค์กรแห่งความสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565)

สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์วิลาวัณย์ เศวตเศรนี ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและบุคลากรสำนักฯ ได้ดำเนินงานกิจกรรม Happy Society : จิตอาสาการจัดทำหลุมปุ๋ยหมัก และถวายจตุปัจจัย ณ วัดผาลาด (ภายใต้โครงการ Happy CPAC: องค์กรแห่งความสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565) ซึ่งเป็นกิจกรรมจิตอาสาและบริการชุมชนที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี สำหรับกิจกรรม "การจัดทำหลุมปุ๋ยหมักจากเศษใบไม้แห้ง" เป็นการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้และขยายขอบเขตพื้นที่ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและประหยัดพลังงาน ภายใต้โครงการส่งเสริมการมุ่งสู่สำนักงานสีเขียว (Green Office) ของส่วนงาน เพื่อไปบำเพ็ญประโยชน์แก่สังคมส่วนรวม ได้แก่ วัดผาลาด จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมกันนี้ผู้บริหารและบุคลากรสำนักฯ ยังได้ร่วมถวายจตุปัจจัยให้แก่พระสงฆ์ ณ วัดผาลาด ในวันที่ 18 มีนาคม 2565 อีกด้วย
เผยแพร่เมื่อ 19 มีนาคม 2565 • การดู 488 ครั้ง
การอบรมเชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อ
การอบรมเชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อ "Re-learn การทำปุ๋ยหมักจากเศษใบไม้”

สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยคณะกรรมการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมฯ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อ "Re-learn การทำปุ๋ยหมักจากเศษใบไม้” เพื่อให้ความรู้ด้านการจัดทำปุ๋ยหมักจากเศษใบไม้ภายในพิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา โดยมี นายสมศักดิ์ จีรัตน์ (หัวหน้าหน่วยวิจัยและพัฒนาอินทรีย์ชีวภาพ) ศูนย์วิจัยสาธิตและฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ เป็นวิทยากรบรรยาย ในวันอังคารที่ 15 มีนาคม 2565 ณ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มช. 
เผยแพร่เมื่อ 15 มีนาคม 2565 • การดู 514 ครั้ง
อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง
อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "การฝึกซ้อมตามแผนฉุกเฉินเพื่อป้องกันและระงับเหตุอัคคีภัยและแผ่นดินไหว ประจำปี พ.ศ.2565"

ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิลาวัณย์ เศวตเศรนี ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและบุคลากรสำนักฯ เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการการฝึกซ้อมตามแผนฉุกเฉินเพื่อป้องกันและระงับเหตุอัคคีภัยและแผ่นดินไหว ประจำปี พ.ศ.2565 เพื่อซักซ้อมและเตรียมความพร้อมต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมของแผนการจัดการความเสี่ยงและการดำเนินงานด้านความปลอดภัยของส่วนงาน โดยมีคณะวิทยากรจากสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลนครเชียงใหม่ เป็นวิทยากรบรรยาย ในวันที่ 15 มีนาคม 2565 ณ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มช. 
เผยแพร่เมื่อ 15 มีนาคม 2565 • การดู 366 ครั้ง
กิจกรรมศึกษาดูงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ ตามแนวทางเกณฑ์ CMU-EdPEx ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มช.
กิจกรรมศึกษาดูงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ ตามแนวทางเกณฑ์ CMU-EdPEx ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มช.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิลาวัณย์ เศวตเศรนี ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มช. พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและบุคลากรสำนักฯ เข้าร่วมกิจกรรมศึกษาดูงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ ตามแนวทางเกณฑ์ CMU-EdPEx ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มช. โดยมีศาสตราจารย์ ดร. ระวิวรรณ โอฬารรัตน์มณี คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและบุคลากรคณะสถาปัตยกรรม มช. ร่วมให้การต้อนรับและแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษา เมื่อวันศุกร์ที่ 4 มีนาคม 2565 ผ่านโปรแกรม Zoom Meeting
เผยแพร่เมื่อ 7 มีนาคม 2565 • การดู 368 ครั้ง
กิจกรรม Facebook Live เเอ่วทิพย์ออนไลน์ อยู่บ้านบ่าดาย ก็ได้ความรู้  ในหัวข้อ “ชุธาตุตามคติชาวล้านนา”
กิจกรรม Facebook Live เเอ่วทิพย์ออนไลน์ อยู่บ้านบ่าดาย ก็ได้ความรู้ ในหัวข้อ “ชุธาตุตามคติชาวล้านนา”

พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดกิจกรรม Facebook Live เเอ่วทิพย์ออนไลน์ อยู่บ้านบ่าดาย ก็ได้ความรู้ ในหัวข้อ “ชุธาตุตามคติชาวล้านนา” ผ่าน Facebook Page : CMU Lanna House Museum พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มช. โดยมี ผศ.เธียรชาย อักษรดิษฐ์ อาจารย์ประจำสาขาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บอกเล่าถึงเรื่องราวความเป็นมาเเละความเชื่อเรื่องพระธาตุประจำปีเกิดของชาวล้านนา เเละรองศาสตราจารย์มาณพ มานะเเซม รองผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นผู้ดำเนินรายการ ในวันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2565    รับชมย้อนหลังได้ที่ --> https://cmu.to/jSkWo
เผยแพร่เมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2565 • การดู 355 ครั้ง
ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรพระภิกษุ สามเณร เนื่องในวันมาฆบูชา ประจำปี พ.ศ.2565
ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรพระภิกษุ สามเณร เนื่องในวันมาฆบูชา ประจำปี พ.ศ.2565

นางสาวปัทมา จักษุรัตน์ เลขานุการสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เป็นผู้แทนผู้อำนวยการฯ พร้อมด้วยบุคลากรสำนักฯ เข้าร่วมทำบุญตักบาตรพระภิกษุ สามเณร เนื่องในวันมาฆบูชา ประจำปี พ.ศ.2565 ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยคณะกรรมการดำเนินงานด้านส่งเสริมศาสนามหาวิทยาลัยเชียงใหม่จัดขึ้น โดยมีศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์นิเวศน์ นันทจิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธีฯ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษาและพุทธศาสนิกชน เข้าร่วมพิธีฯ ในวันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์  2565 ณ ถนนสายวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เผยแพร่เมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2565 • การดู 475 ครั้ง
ประมวลภาพพิธีปิดโครงการ The U.S. Ambassadors Fund for Cultural Preservation (AFCP) 2019
ประมวลภาพพิธีปิดโครงการ The U.S. Ambassadors Fund for Cultural Preservation (AFCP) 2019

เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2565 ณ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มช. จัดพิธีปิดโครงการ The U.S. Ambassadors Fund for Cultural Preservation (AFCP) 2019 “Conservation of Traditional Lanna Architecture in Chiang Mai” โดยมีนายไมเคิล ฮีธ อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย  กล่าวแสดงความยินดีและขอบคุณ พร้อมด้วยนายฌอน โอนีลล์ กงสุลใหญ่สหรัฐฯ เชียงใหม่ รองศาสตราจารย์โรม จิรานุกรม รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แขกผู้มีเกียรติ และสื่อมวลชนเข้าร่วมในพิธีดังกล่าว ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิลาวัณย์ เศวตเศรนี  ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มช. และผู้อำนวยการโครงการฯ กล่าวว่า โครงการกองทุนเอกอัครราชทูตเพื่อการอนุรักษ์ทางวัฒนธรรม (AFCP) กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีการดำเนินการมาเป็นระยะเวลา 2 ปี (พ.ศ. 2562 - 2564) และได้บรรลุผลเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งโครงการกองทุนเอกอัครราชทูตเพื่อการอนุรักษ์ทางวัฒนธรรม (AFCP) กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มอบทุนสนับสนุนจำนวน 150,000 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ให้แก่สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2562 เพื่อดำเนินงานการ “อนุรักษ์สถาปัตยกรรมล้านนาโบราณในจังหวัดเชียงใหม่” ณ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาและผู้เข้าเยี่ยมชม ได้เรียนรู้และรู้จักการอนุรักษ์เรือนโบราณล้านนาจากสถานที่จริง และจากพื้นที่ดำเนินการจริง มีการเก็บรวบรวมเป็นฐานข้อมูล ประกอบด้วย ภูมิปัญญาของช่างกับการซ่อมแซมเรือนโบราณล้านนากับการอนุรักษ์ ผ่านการเผยแพร่ฐานข้อมูลในรูปแบบสื่อดิจิทัล  นับเป็นโครงการที่เป็นประโยชน์อย่างมากในการเล็งเห็นคุณค่าสนับสนุนการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมเรือนโบราณล้านนาของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตลอดทั้งเป็นการสนับสนุนงานสร้างสรรค์ด้านศิลปะและวัฒนธรรมในการบริการวิชาการ องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการนี้จะทำให้เกิดการเรียนรู้และถ่ายทอดส่งต่อให้คนรุ่นลูกหลานได้อย่างยั่งยืนสืบไป 
เผยแพร่เมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2565 • การดู 455 ครั้ง
ร่วมต้อนรับคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และคณะผู้บริหารองค์การประจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (TPBS)
ร่วมต้อนรับคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และคณะผู้บริหารองค์การประจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (TPBS)

ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิลาวัณย์ เศวตเศรนี ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ร่วมให้การต้อนรับคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และคณะผู้บริหารองค์การประจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (TPBS) ในโอกาสที่คณะผู้บริหารองค์การประจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (TPBS) ได้เข้าพูดคุยแลกเปลี่ยนหารือภาคีเชิงยุทธศาสตร์ทางวิชาการ โดยมีศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์นิเวศน์ นันทจิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวให้การตอนรับ พร้อมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ร่วมพูดคุยหารือในประเด็นการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2565 ณ  พิพิธภัณฑ์เรืนโบราณล้านนา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
เผยแพร่เมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2565 • การดู 339 ครั้ง
ให้การต้อนรับอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และทีมผู้บริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ให้การต้อนรับอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และทีมผู้บริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผุ้ช่วยศาสตราจารย์วิลาวัณย์ เศวตเศรนี ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม พร้อมด้วยบุคลากรสำนักฯ ให้การต้อนรับศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์นิเวศน์ นันทจิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และทีมผู้บริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่เข้าเยี่ยมชมสถานที่ ณ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา เพื่อเตรียมการต้อนรับคณะผู้บริหารจากThai PBS โอกาสนี้อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชีนงใหม่และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เข้าเยี่ยมชมนิทรรศการ ณ เรือนทรงอาณานิคมคิวรีเปอร์ และนิทรรศการภูมิปัญญาสล่าสร้างเรือน ที่จัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มช. ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2565  
เผยแพร่เมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2565 • การดู 355 ครั้ง
พิธีปิดโครงการ The U.S. Ambassadors Fund for Cultural Preservation (AFCP) 2019 “Conservation of Traditional Lanna Architecture in Chiang Mai”
พิธีปิดโครงการ The U.S. Ambassadors Fund for Cultural Preservation (AFCP) 2019 “Conservation of Traditional Lanna Architecture in Chiang Mai”

เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2565 ณ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มช. จัดพิธีปิดโครงการ The U.S. Ambassadors Fund for Cultural Preservation (AFCP) 2019 “Conservation of Traditional Lanna Architecture in Chiang Mai” โดยมีนายไมเคิล ฮีธ อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย  กล่าวแสดงความยินดีและขอบคุณ พร้อมด้วยนายฌอน โอนีลล์ กงสุลใหญ่สหรัฐฯ เชียงใหม่ รองศาสตราจารย์โรม จิรานุกรม รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แขกผู้มีเกียรติ และสื่อมวลชนเข้าร่วมในพิธีดังกล่าว ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิลาวัณย์ เศวตเศรนี  ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มช. และผู้อำนวยการโครงการฯ กล่าวว่า โครงการกองทุนเอกอัครราชทูตเพื่อการอนุรักษ์ทางวัฒนธรรม (AFCP) กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีการดำเนินการมาเป็นระยะเวลา 2 ปี (พ.ศ. 2562 - 2564) และได้บรรลุผลเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งโครงการกองทุนเอกอัครราชทูตเพื่อการอนุรักษ์ทางวัฒนธรรม (AFCP) กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มอบทุนสนับสนุนจำนวน 150,000 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ให้แก่สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2562 เพื่อดำเนินงานการ “อนุรักษ์สถาปัตยกรรมล้านนาโบราณในจังหวัดเชียงใหม่” ณ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาและผู้เข้าเยี่ยมชม ได้เรียนรู้และรู้จักการอนุรักษ์เรือนโบราณล้านนาจากสถานที่จริง และจากพื้นที่ดำเนินการจริง มีการเก็บรวบรวมเป็นฐานข้อมูล ประกอบด้วย ภูมิปัญญาของช่างกับการซ่อมแซมเรือนโบราณล้านนากับการอนุรักษ์ ผ่านการเผยแพร่ฐานข้อมูลในรูปแบบสื่อดิจิทัล  นับเป็นโครงการที่เป็นประโยชน์อย่างมากในการเล็งเห็นคุณค่าสนับสนุนการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมเรือนโบราณล้านนาของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตลอดทั้งเป็นการสนับสนุนงานสร้างสรรค์ด้านศิลปะและวัฒนธรรมในการบริการวิชาการ องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการนี้จะทำให้เกิดการเรียนรู้และถ่ายทอดส่งต่อให้คนรุ่นลูกหลานได้อย่างยั่งยืนสืบไป 
เผยแพร่เมื่อ 28 มกราคม 2565 • การดู 581 ครั้ง