ยุ้งข้าวสารภี

ยุ้งข้าวสารภี
 

ยุ้งข้าวหรือหลองข้าวหลังนี้ สร้างประมาณปี พศ.๒๔๕๐ เจ้าของเดิมคือ พ่อโต ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๐๙ พ่อเมืองใจ ทองคำมา บ้านสันกลาง อำเภอสารภี ได้ซื้อและทำการปลูกสร้างในแบบเดิม ยุ้งข้าวสารภี มีวิธีทำโครงสร้างแบบโบราณ เสาไม้กลมจำนวน ๘ ต้น ยกใต้ถุนสูงเอาไว้เก็บอุปกรณ์เครื่องมือทางการเกษตร มีระเบียงทางเดินโดยรอบห้อง ที่ใช้เก็บข้าวเปลือก โครงสร้างหลังคาใช้วิธีเจาะเพื่อเข้าเดือยปลายเสา หลังคาเป็นทรงจั่วลาดต่ำ มุงด้วยกระเบื้องดินเผาปลายตัด

ในปี พ.ศ.๒๕๐๘ Professor Dr. Hans-Jurgen Langholz แห่งมหาวิทยาลัย Georg-August-Universität Göttingen สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ได้เดินทางมาประเทศไทยเป็นครั้งแรก เพื่อทำงานภายใต้โครงการ Thai - German Dairy Project และภายหลังเกษียนอายุแล้ว ก็ยังเดินทางมาสอนในฐานะอาจารย์พิเศษที่ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทุกปี ได้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตชาวเมืองเชียงใหม่ ได้เห็นการลดลงของอาคารโรงเรือนแบบเก่า ที่แสดงถึงรากฐานการดำเนินชีวิตของเกษตรกร โดยเฉพาะหลองข้าวซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ที่เด่นชัดของสังคมเกษตรกรรมในภาคเหนือ

ในปี พ.ศ.๒๕๕๑ Professor Dr Hans-Jurgen Langholz และภรรยา Dr. Agnes Langholz ได้มอบทุนทรัพย์เพื่อซื้อหลองข้าวหลังนี้และนำมาปลูกสร้างตามลักษณะเดิม ที่สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 
รูปภาพ
ยุ้งข้าวสารภี
 

แบบสถาปัตยกรรม

 

ดาวน์โหลดไฟล์ PDF

 
 
เผยแพร่เมื่อ 16 ตุลาคม 2562 • การดู 9,189 ครั้ง