28 มกราคม 2564
3k
Share on
 

ส้มป่อยกับพิธีกรรมชำระสิ่งอัปมงคล

 

ส้มป่อย
“ส้มป่อย” ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Acacia concinna (Wild.) D.C. ในวงศ์ LEGUMINOSAE – MIMOSOIDEAE ชาวล้านนาใช้ฝักแห้งในพิธีกรรมชำระสิ่งอัปมงคล ในวรรณกรรมชาดกเรื่อง “พรหมจักร” กล่าวถึงเรื่องของส้มป่อย ตอนที่ควายทรพีต่อสู้กับควายทรพา ผู้เป็นพ่อนั้น ควายทรพีใช้เขาขวิดซุ้มเถาส้มป่อยที่เปียกอยู่ น้ำส้มป่อยได้ตกลงชะโลมตัวควายทรพีจนเปียกชุ่ม และเมื่อต่อสู้กัน ควายทรพาเป็นฝ่ายพ่ายแพ้และถูกขวิดตายในที่สุด เรื่องนี้เป็นเหตุหนึ่งของความเชื่อในอานุภาพของน้ำส้มป่อยในด้านวิธีปฏิบัติ จะใช้ฝักแห้งปิ้งไฟให้เกรียมจนมีกลิ่นหอม ซึ่งกล่าวกันว่าส้มป่อยที่ผ่านการปิ้งไฟจะมีอิทธิฤทธิ์เพิ่มขึ้น จากนั้นนำไปแช่ในน้ำสะอาดที่มีผงขมิ้นละลายเจืออยู่ เรียกน้ำนี้ว่า “น้ำขมิ้นส้มป่อย” ภายหลังไม่นิยมใช้ขมิ้น แต่นิยมเติมน้ำหอมและดอกแห้งของดอกไม้หอม เช่น ดอกคำฝอย ประยงค์ พยอมและสารภี เป็นต้น อนึ่ง ฝักส้มป่อยที่พึงประสงค์ ควรเป็นส้มป่อยที่เก็บในวันเพ็ญเดือนห้าเหนือ ไม่ขึ้นในป่าช้า ไม่ขึ้นบริเวณทางแยก และไม่เป็น “ส้มป่อยงำเงา” คือขึ้นริมน้ำและมีเงาพาดบนหิวน้ำ ที่สำคัญยิ่งควรเลือกฝักที่มีเจ็ดข้อและใช้จำนวนเจ็ดฝักจึ้งจะศักดิ์สิทธิ์นักแล