21 เมษายน 2563
3k
Share on
 

วงกลองล้านนา แผ่น4

 

วงกลองล้านนา

Lanna Percussion Music แผ่น 4

สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม

 

เต่งถิ้ง

วงเต่งถิ้ง เป็นวงดนตรีประเภทปี่พาทย์ เครื่องดนตรีทุกชิ้นมีเสียงดังมาก ประกอบด้วยเครื่องเป่าและเครื่องตี เครื่องเป่าเป็นเครื่องเป่าประเภทปี่ที่เรียกว่า “แน” มี 2 เลาด้วยกัน คือ แนหน้อย (ขนาดเล็ก) และแนหลวง(ขนาดใหญ่) ส่วนเครื่องตีไก่ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม(เรียก-ป้าดไม้) ระนาดเอกเหล็ก (เรียกป้าดเหล็ก) ฆ้องวงใหญ่ (เรียกกลองป่งโป้ง)และกลองใหญ่คล้ายตะโพนมอญ (เรียกกลองเต่งถิ้ง) ชื่อวง “เต่งถิ้ง” ได้จากเสียงกลองใหญ่ที่ดัง “เต่ง- ถิ้ง” โอกาสที่บรรเลงมีหลายโอกาส ได้แก่ งานบุญงานวัด แห่ขบวน งานศพ งานฟ้อนผี นอกจากนี้ยังใช้บรรเลงประกอบการชกมวย การฟ้อนเชิง ฟ้อนดาบและฟ้อนม่านมุ่ยเชียงตาอีกด้วย

มองเซิง

มองเซิง เป็นวงกลองพื้นบ้านของชาวไทยใหญ่ เป็นที่นิยมกันในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง คำว่า”มอง” หมายถึงฆ้อง และ”เซิง” หมายถึงชุด “มองเซิง” คือ”ฆ้องชุด” ซึ่งมักใช้ฆ้องตั้งแต่ 5-9 ใบ ใช้ฉาบขนาดใหญ่ตีประกอบ ส่วนกลองใช้กลองมองเซิง ซึ่งเป็นกลางสองหน้าไม่ติดถ่วง มีลักษณะคล้ายตะโพนมอญ แต่น้ำหนักเบากว่า วงมองเซิง ใช้ประโคมในงานบุญของวัด ขบวนแห่นาคสามเณรที่ล้านนาเรียก “ลูกแก้ว” ไทใหญ่เรียก”ส่างลอง”ขบวนแห่ครัวทานและประกอบการฟ้อนพื้นเมือง

ปูเจ่

ปู่เจ่ เป็นชื่อของกลองชนิดหนึ่งเรียกต่างกันไป เช่น ปั๊ดเจ่ อุเจ่ อู่เจ่ เป็นต้น เดิมนิยมเล่นในหมู่ชาวไทยใหญ่ ซึ่งเรียกกลองชนิดนี้ว่า “กลองก้นยาว” เครื่องประกอบจังหวะของกลองปูเจ่มีฉาบขนาดกลาง 1 คู่ ฆ้องประมาณ 3-6 ใบ ใช้ตีในขบวนแห่ ตีประกอบการฟ้อนเชิง ที่ชาวไทยใหญ่เรียก “ก้าลาย” และการฟ้อนดาบที่ชาวไทยใหญ่เรียก “ก้าแลว”

ตึ่งนง

ตึ่งนง เป็นวงดนตรีที่ประกำอบด้วยเครื่องเป่าและตี เครื่องเป่าได้แก่ “แน” มี 2 เลา คือ แนหน้อยและแนหลวง เครื่องตีได้แก่ ฆ้องขนาดใหญ่ (เรียกก๊องอุ้ย) ฆ้องขนาดกลาง (เรียกก๊องโหยง) ฉาบใหย่ (เรียกสว่า) กลองขนาดเล็กหุ้มสองหน้าที่เรียกว่า “กลองตะหลดปด” และกลองแอว ชื่อวงตึ่งนงได้มาจากเสียงกลองแอวที่มีเสียง”ตึ่ง”รับกับฆ้องที่มีเสียง “นง” ใช้ประโคมในงานบุญของวัด ขบวนแห่ครัวทานและประกอบการฟ้อนเล็บ

สะบัดชัย
สะบัดชัย เป็นชื่อของกลองประเภทหนึ่ง แต่เดิมใช้ตีเป็นสัญญาณบอกเหตุ เป็นสัญญาณโจมตีข้าศึกและตีในงานรื่นเริงต่อมาใช้ตีเป็นพุทธบูชา และประโคมในงานบุญของวัด นอกจากนี้ยังพบว่า “สะบัดชัย” เป็นชื่อทำนองที่เรียกว่า”ระบำ” ในการตีกลอง “ปูจา”(ออกเสียงปู๋จา) อีกด้วย

กลองสะบัดชัยที่มีคานหามในปัจจุบัน พัฒนามาจากการย่อส่วนของกลองปูชา เพื่อให้มีน้ำหนักเบาสะดวกในการหาม การย่อส่วนตอนแรกย่อเหมือนของเดิม กล่าวคือ มีกลองเล็ก อีก 2-3 ใบ ที่เรียกว่า “ลูกตูบ” มีไม้ไผ่ที่มีลักษณะ บางตีประกอบจังหวะเรียกว่า “ไม้เสะ” ภายหลังเมื่อมีการใช้ชั้นเชิงและลีลาการต่อสู้ ซึ่งใช้อวัยวะที่เป็นอาวุธของผู้ตีเข้าไปด้วย จึงตัดลูกตูบและไม้เสะออก

การตีกลองสะบัดชัยในปัจจุบันใช้กลองใหญ่ขนาดพอห้ามได้ 1 ใบ ฉาบขนาดกลางและฆ้องตั้งแต่ 2-9 ใบ ลีลาในการตีมีการใส่ชั้นเชิงในการต่อสู้และความสามารถใช้อวัยวะที่เป็นอาวุธ เช่น ศอก เข่า เท้า หมัด ตีประกอบด้วยโอกาสที่ตีส่วนใหญ่จะตีในขบวนแห่

ถิ้งบ้อม

ถิ้งบ้อม ชื่อวงกลองประเภทหนึ่ง มีลาลีในการตีกระชับและเร้าใจ เครื่องตีประกอบด้วย กลอง(คล้ายกองยาวภาคกลาง)3-5 ใบ กลองสองหน้าที่เรียก “กลองตัด” 1 ใบ ฉาบขนาดกลาง 1 คู่ ฉาบเล็กที่เรียก”ฉาบล่อ” 1 คู่

สิ้งหม้อง

สิ้งหม้อง เป็นชื่อของวงกลองประเภทหนึ่ง ซึ่งมีลีลาในการตีง่ายๆ ไม่ซับซ้อน เครื่องตีประกอบด้วยกลองสิ้งหม้อง ฉาบขนาดกลางและฆ้อง 3-5 ใบ ใช้ตีในขบวนแห่ครัวทาน ตีประกอบการฟ้อนเชิง ฟ้อนดาบ และขบวนแห่ทั่วไป

 

Lanna Percussion Music Disc 4

Produced by : The Center for the Promotion of Arts and Culture, Chiang Mai University

Supported by : - Dr. Santi Pongpandecha, Chairman of Chiang Mai University Promotion Committee

  • Tourism Authority of Thailand : North office, Region 1

Teng – ting

This piece of Music is played by loud wind and percussion instruments including xylophones and a large-sized drum called teng-ting. It is usually played in various religious ceremonies and is also used to accompany the martial arts dances.

Mong-soeng

This is the traditional music of the Shans which is popular in Mae Hong Son, Chiang Mai , Lamphun and Lumpang provinces. Mong refers to gongs and soeng means a set. Together it means a set of gong which is played together in sets of 5 to 9 pieces. It is often played in merit making event including ordination ceremonies.

Pu-che

Pu-che is the name of a long drum that is widely used by the Shans. This plece is played to accompany martial arts dances.

Tueng-nong

This is a set of wind and percussion instruments including a large-sized gong called gong-ui. It is used to accompany fingernail and candle dances or to lead a merit-making procession to the temple.

Sabat-chai

Sabat-chai is the name of one type of drum originally used to signal an enemy attack and others. At the present time it is played on auspicious occasions in the temple with lively and artful drummers who stylize the drumming with the martial arts dances.

Thing-bom

Thing-bom is another percussion type of music that is played at a fast and lively tempo.

Sing-mong

Sing-mong is a type of drum that does not require elaborate rhythm. It is used to accompany sword dances and also to lead processions.

 

แผ่น 4 วงกลองล้านนา Lanna Percussion Music

นักดนตรีผู้บรรเลงวงเต่งถิ้ง(พ.ศ.2537)

นายระเด่น ดวงเดชา – กลองเต่งถิ้ง

นายอุดม ดวงเดชา  - กลองป่งโป้ง

นายหมื่น จันตะนา – แนหน้อย

นายอดุลย์ ดวงเดชา – แนหลวง

นายบุญเชิด ฃำวัง – ระนาดเอก

นายประเสริฐ ไชยวัณณ์ – ระนาดทุ้ม

นายสุพจน์ ฃำวัง – ระนาดเหล็ก

นายอินทรัตน์ มูลชัยลังการ์ – ฆ้องวงใหญ่

นายประดิษฐ์ ดวงเดชา – ฆ้องวงเล็ก

นางวรรณา จันตะนา – ฉาบ

นายอินถา ไชยวรรณ – ฉิ่ง

ถิ้งบอม

นายชาย ชัยชนะ (ประสานงาน) – กลอง

นายเนตร พันธ์ชัยศรี  - กลอง

นายธวัชชัย เทพวงศ์ – กลอง

นายชีพ ชัยชนะ- กลองตัด

นายประเสริฐ สุวรรณปัญญา – ฉาบ

นายสนั่น ธรรมธิ(ประสานงาน) – ฉาบล่อ

นักดนตรีวงกลองต่างๆ

มองเซิง

นายเนตร พันธ์ชัยศรี – กลองมองเซิง

นายเอนก พันธ์ชัยศรี – ฉาบ

ปู่เจ่

นายชาย ชัยชนะ – กลองปู่เจ่

นายมานพ(พัน) ยารณะ – ฉาบ

ตึ่งนง

นายชีพ ชัยชนะ – กลองแอว

นายชาย ชัยชนะ – กลองตะหลดปก

นายประเสริฐ สุวรรณปัญญา – ฉาบ

นายอินทรัตน์ มูลชัยลังการ์ – แนหน้อย

นายอดุลย์ ดวงเดชา – แนหลวง

สะบัดชัย

นายสนั่น ธรรมธิ – กลองสะบัดชัย

นายมานพ(พัน) ยารณะ – ฉาบ

จัดทำโดย

สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

The Center for the Promotion of Arts and Culture, Chiang Mai University

สนับสนุนโดย

ดร.สันติ พงษ์พันธ์เดชา ประธานกรรมส่งเสริมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Dr. Santi Pongpandecha, Chirman of Chiang Mai University Promotion Committee

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ เขต 1

Tourism Authority of Thailand : North office, Region

ผลิตและเผยแพร่(ครั้งที่ 4) เมษายน พ.ศ. 2548