21 เมษายน 2563
3k
Share on
 

ดนตรีสะล้อ-ซึง วงนาคทันต์เชียงใหม่ บรรเลง แผ่น1

 

ดนตรี สะล้อ – ซึง

วงนาคทันต์เชียงใหม่ บรรเลง

Traditional Northern Thai Music แผ่น 1

สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ปราสาทไหว

เพลงปราสาทไหว เป็นเพลงเก่าแก่ของล้านนา ไม่ปรากฎชื่อผู้แต่ง มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปบ้างในบางทิ้งถิ่นเช่น เพลงแห่ เพลงแหย่ง และเพลงลาก เป็นต้น

ฤาษีหลงถ้ำ

เพลงฤาษีหลงถ้ำ เป็นเพลงโบราณอีกเพลงหนึ่งของล้านนาไม่ปรากฎชื่อผู้แต่ง ทำนองเพลงที่มี แต่เดิมนั้นมีจังหวะลงตัวแบบล้านนาหากำม่เอาหน้าทับกลองในอัตราจังหวะสองชั้นของดนตรีไทยมาจับเพราะหากเอาเกณฑ์ของดนตรีมาจับจะขาดหน้าทับไปจังหวะ ต่อมาเจ้าสุนทร ณ เชียงใหม่เห็นว่าควรเพิ่มเติม

จึงเพิ่มตรง ----ร ฟซฟด จากครั้งเดียวเป็น 2 ครั้งเป็น ---ร ฟซฟด ---ร ฟซฟด

พม่า

เพลงพม่า เป็นทำนองเพลงที่ใช้บรรเลงประกอบการขับซอ ชื่อเพลงบางแห่งเรียกเพลง”เจ้าสุวัตร”หรือ”นางบัวคำ” สาเหตุเพราะท้าวสุนทรพจนกิจแต่งบทซอเรื่อง “เจ้าสุวัตร-นางบัวคำ” โดยใช้ทำนองนี้

พระลอเลื่อน

เพลงพระลอเลื่อน หรือบางแห่งเรียก “ล้อเลื่อน” เป็นเพลงเดียวกับเพลง “นาคบริพัตร” ซึ่งแต่งโดยครูเทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล เมื่อชาวล้านนานำมาบรรเลงทำให้สำเนียงออกทางล้านนา ซึ่งมิได้ผิดเพี้ยนจากของเดิมมากนัก

ปุมเหม้นหรือปุมเป้ง

เพลงปุมเหม้น หรือ ปุมเป้ง ไม่ปรากฎนามผู้แต่ง เพลงนี้มีท่วงทำนองคล้ายครึงกับเพลงมากโดยเฉพาะหมากตัดช่วง ดลซม –รด ซดรม –ซ-ล ดลซม ออกจะมีความคล้ายครึงจน อาจกล่าวได้ว่าเป็นเพลงเดียวกันเลยทีเดียวเพลงนี้ยังเป็นความสับสนเรื่องชื่อเพลงอยู่ บางแห่งเรียก “ขงเบ้ง” “ปุ๋มเปง” ฯลฯ

แห่หน้อย

เพลงแห่หน้อย เป็นเพลงบรรลงที่มีทางเพลงคล้ายเพลงปราสาทไหว นิยมบรรเลงแพร่หลายในเขตอำเภอ เชียงของ จังหวัดเชียงราย ชมรมพื้นบ้านล้านนา สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้นำมาเผยแพร่เมื่อพ.ศ.2527 จนเป็นที่นิยมในเขตจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน

รอบเวียง

เพลงรอบเวียง เป็นทำนองเพลงที่มีสำเนียงคล้ายเพลงล่องแม่ปิง ไม่ปรากฎนามผู้แต่ง เพลงนี้มีชื่อเรียกต่างกันออกไป เช่น มอญคำ มอญดำ สร้อยเวียงพิงค์ กล่องนางนอน และลาวเดินดง เป็นต้น เพลงรอบเวียงแต่เดิมมีท่อนเดียว ต่อมามีผู้แต่งเพิ่มอีก 2 ท่อน และเรียกชื่อว่า “ แหย่งลำพูน”

ล่องแม่ปิง

เพลงล่องแม่ปิง เป็นทำนองเพลงที่ไพเราะอ่อนหวาน ไม่ปรากฎนามผู้แต่ง

ปั่นฝ้าย

เพลงปั่นฝ้าย เป็นทำนองประเภทการขับซอทำนองหนึ่งของเมืองน่าน ผู้แต่งคือ นายไชยลังกา เครือเสน ช่างซอศิลปินแห่งชาติ(2448-2535)โดยปรับปรุงจากเพลงรำวงโบราณชื่อเพลง “ชักใบ” ต่อมาเจ้าสุนทร ณ เชียงใหม่ ได้แต่งท่อนที่สองเพิ่มเติมอีก เพลงปั่นฝ้ายทางบรรเลงจึงมีสองท่อน ปัจจุบันเพลงนี้นิยม ใช้บรรเลงประกอบการฟ้อนสาวไหม

กุหลาบเชียงใหม่

เพลงกุหลาบเชียงใหม่ เป้นเพลงที่มีท่วงทำนองอันไพเราะและอ่อนหวานอีกเพลงหนึ่ง ไม่ปรากฎนามผู้แต่ง

อื่อ

อื่อเป็นทำนองโบราณของล้านนา ใช้ประกอบการขับซอ ไม่ปรากฎชื่อผู้แต่ง เพียงแต่สันนิษฐานกันว่ามี วิวัฒนาการมากจากเพลงกล่อมเด็ก นิยมใช้ประกอบการขับซอในเนื้อหาพรรณาทั่วไป ตลกขบขัน และอวยชัยอวยพร ทำนองนี้นิยมเล่นในวงปี่ชุมและวงสะล้อ-ซึง โดยทั่วไปจังหวะเพลงนี้ลงจังหวะแบบล้านนา แต่หากเอาหน้าทับกลองในอัตราสองชั้นแบบดนตรีไทยมาจับจะไม่ลงจังหวะ

 

Traditional Northern Thai Music Disc 1

Produced by: The Center for the Promotion of Arts and Culture, Chiang Mai University

Supported by: Dr. Santi Pongpandecha, Chairman of Chiang Mai University Promotion Committee

- Tourism Authority of Thailand: Northern office, Region 1

 

"Prasat-wai or "Moving Castle"

This is an old Lan Na song whose origin is unknown. It is widely popular in all upper Northern Thai provinces with variations of names in each locality. This song is usually played on different occasions and often at funeral rites.

"Ruesi Long Tham or "A Hermit lost in a Cave"

This is another old Northern Thai song by an anonymous composer.

"Phama or Burma”

Composed with a Burmese accent. This song is used to accompany a Northern Thai dramatic play called so.

Phralo-luean

Known in Central Thailand as "Nak Boriphat." This song is played on Northern Thai musical instruments retaining the original melody.

Pum-men or Pum-peng

This is also another old and anonymous Lan Na composition.

Hae-noi

This is originally a song widely known in Chiang Khong District, Chiang Rai Province. Later Chiang Mai University students' Northern Thai Music and Dance club played and promoted successfully making it popular in Chiang Mai and Lamphun. The melody is very similar to that of Prasat-wai.

Rop-wiang or "Around Town"

Although the composer is anonymous. It is evident that this is Lao-accented song known elsewhere by different titles.

Long Mae Ping or "Down the Ping River"

This is another song in the Laotian style and is anonymous.

Pan Fai or "Cotton Yarn Spinning"

Mr. Chailangka Khruea-sen, a nationally recognized artist, composed this song using the ancient tune known as 'Chak Bai." This song was originally used as part of musical drama in Nan province. At the present time it is used to accompany 'Fon Sao Mai'or the Cotton Yarn Drawing Dance.

Kulap Chiang Mai or 'Rose of Chiang Mai"

Composed in the Laotian style by an unknown artist, this song is played at a slow tempo expressing romantic and sweet qualities.

Ue

Despite its unknown origin, this song is believed to have derived from a lullaby which was popular in the old times. Today it is played on auspicious occasions.

 

ดนตรี สะล้อ-ซึง

วงนาคทันต์เชียงใหม่ บรรเลง แผ่น 1

Tradition Northern Thai Music

นักดนตรีวงนาคทันต์เชียงใหม่ (2537)

ภานุทัต อภิชนาธง (หัวหน้าวง) – ขลุ่ย สะล้อหน้อย ซึงหลวง

อุดม หลีตระกูล – สะล้อหน้อย กลอง สะล้อกลาง

ลิปิกร มาแก้ว – สะล้อกลาง ซึงหลวง

สมบูรณ์ กาวิชัย – ซึงกลาง สะล้อกลาง ซึงหน้อย

วีณา ครุฑเงิน – ซึงหน้อย ซึงหลวง

ธนานนท์ ลิขิตอนุรักษ์ – ซึงหลวง

วรพันธ์ แสนเขียววงศ์ – กลอง

ฉัตรณรงค์ รัตรวงศ์ – ฉิ่ง

ณฐพงศ์ งามระเบียบ – ฉาบ ซึงหลวง

สนั่น ธรรมธิ(ควบคุมวง) – ซึงหน้อย

จัดทำโดย

สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

The Center for the Promotion of Arts and Culture, Chiang Mai University

สนับสนุนโดย

ดร.สันติ พงษ์พันธ์เดชา ประธานกรรมส่งเสริมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Dr. Santi Pongpandecha, Chirman of Chiang Mai University Promotion Committee

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ เขต 1

Tourism Authority of Thailand : North office, Region

ผลิตและเผยแพร่(ครั้งที่ 4) เมษายน พ.ศ. 2548