สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 
spinner loadding
ตึกสำนักส่งเสริมสิลปวัฒนธรรม
เด็กๆเรียนรู้หลักสูตรระยะสั้น
นักท่องเที่ยวต่างชาติเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา
นิทรรศการศิลปวัฒนธรรม
ห้องอาหาร นิทรรศการเรือนทรงอาณานิคม
นักศึกษาวาดภาพ
 
 

เกี่ยวกับสำนัก

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดตั้งโครงการศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ในปี พ.ศ. 2528 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทํานุบํารุงและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม รวบรวมและค้นคว้าข้อมูลวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรมล้านนา ให้บริการวิชาการแก่สังคม โดยการจัดประชุม อบรม สัมมนา เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้แสดงความคิดเห็น และสร้างความเข้าใจอันถูกต้อง เพื่อสร้างมาตรฐานทางด้านศิลปวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลปวัฒนธรรมล้านนา ทบวงมหาวิทยาลัยจึงได้ประกาศยกฐานะโครงการศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เป็น สํานักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ขึ้นเป็นส่วนราชการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2536 ตามประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 110 ตอนที่ 87 โดยจัดตั้งขึ้นตามพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2530 มาตรา 7 คือ "...ให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นสถานศึกษาและวิจัย มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทําการสอน ทำการ วิจัย ให้บริการแก่สังคมและทะนุบํารุงศิลปวัฒนธรรม..." อ่านต่อ

 
สายตรงผู้บริหาร
 
ปฏิทินล้านนา 2566
 
สำนักงานสีเขียว
 
เครือข่ายศิลปวัฒนธรรม

ข่าวประชาสัมพันธ์

ขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนทุกท่านร่วมทำบุญตักบาตร เนื่องในวันวิสาขบูชา ประจำปี 2566
ขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนทุกท่านร่วมทำบุญตักบาตร เนื่องในวันวิสาขบูชา ประจำปี 2566
• มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยคณะกรรมการดำเนินงานด้านส่งเสริมศาสนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนทุกท่าน ร่วมทำบุญตักบาตรเนื่องในวันวิสาขบูชา ประจำปี 2566 ในวันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน 2566 เวลา 06.30 - 07.45 น. ณ ข่วงวัฒนธรรม และถนนสายวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กำหนดการ เวลา 06.30 น.  พระสงฆ์ สามเณร และผู้ร่วมพิธีพร้อมกัน ณ ข่วงวัฒนธรรม และถนนสายวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เวลา 06.45 น.  อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประธานในพิธีจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย                   ㆍไหว้พระรับศีล                   ㆍกล่าวคำถวายอาหารบิณฑบาต                   ㆍประธานสงฆ์ กล่าวสัมโมทนียกถา อนุโมทนา                   ㆍพิธีตักบาตร เวลา 07.45 น.  เสร็จพิธี หมายเหตุ: พระภิกษุ จำนวน 40 รูป
การดู 118 ครั้ง • 1 มิถุนายน 2566
 

ข่าวกิจกรรม

ร่วมขบวนรถบุษบกอันเชิญน้ำสรงและผ้าไตรพระราชทาน ในงานไหว้สาป๋ารมีพระบรมธาตุดอยสุเทพ ถวายน้ำสรงพระราชทาน สืบสานประเพณีเตียวขึ้นดอย วันวิสาขบูชา ประจำปี 2566
ร่วมขบวนรถบุษบกอันเชิญน้ำสรงและผ้าไตรพระราชทาน ในงานไหว้สาป๋ารมีพระบรมธาตุดอยสุเทพ ถวายน้ำสรงพระราชทาน สืบสานประเพณีเตียวขึ้นดอย วันวิสาขบูชา ประจำปี 2566
• ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เอกชัย มหาเอก รองอธิการบดี รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ เป็นผู้แทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้าร่วมขบวนรถบุษบกอันเชิญน้ำสรงและผ้าไตรพระราชทาน ในงานไหว้สาป๋ารมีพระบรมธาตุดอยสุเทพ ถวายน้ำสรงพระราชทาน สืบสานประเพณีเตียวขึ้นดอย วันวิสาขบูชา ประจำปี 2566 ซึ่งเป็นประเพณีสำคัญของจังหวัดเชียงใหม่  ในวันที่ 2 มิถุนายน 2566 ณ บริเวณลานอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย เชิงดอยสุเทพ
การดู 48 ครั้ง • 2 มิถุนายน 2566
ร่วมงานยกระดับประเพณีขึ้นดอย และขับเคลื่อนครูบาเจ้าศรีวิชัยเป็นบุคคลสำคัญของโลก
ร่วมงานยกระดับประเพณีขึ้นดอย และขับเคลื่อนครูบาเจ้าศรีวิชัยเป็นบุคคลสำคัญของโลก
• ดร. อภิรดี เตชะศิริวรรณ พร้อมด้วยนางสาวฐาปนีย์ เครือระยา และนางสาวชุติมา พรหมาวัฒน์ สังกัดฝ่ายส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและสร้างสรรค์ เข้าร่วมงานยกระดับประเพณีขึ้นดอย และขับเคลื่อนครูบาเจ้าศรีวิชัยเป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยได้รับเกียรติจาก นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน โดยภายในงานมีการแสดงทางศิลปวัฒนธรรม “วัฒนธรรมวินิตสู่ศรัทธา วิสาขบูชา ครูบาเจ้าศรีวิชัย” การแสดงนิทรรศการ “เตียวขึ้นดอย ตวยฮอยศรัทธา ป๋าระมีบูชา ครูบาเจ้าศรีวิชัย” และกิจกรรมขับเคลื่อนเชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์ “หัตถกรรมล้านนา คุณค่าสู่สากล” ในวันที่ 2 มิถุนายน 2566 ณ มูลนิธิสถาบันครูบาเจ้าศรีวิชัย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
การดู 41 ครั้ง • 2 มิถุนายน 2566
รับมอบเครื่องดนตรีไทย ซอด้วงงาช้าง และอุปกรณ์ดนตรีไทยงาช้าง
รับมอบเครื่องดนตรีไทย ซอด้วงงาช้าง และอุปกรณ์ดนตรีไทยงาช้าง
• ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เอกชัย มหาเอก รองอธิการบดี รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ เป็นผู้แทนของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการรับมอบเครื่องดนตรีไทย ซอด้วงงาช้าง และอุปกรณ์ดนตรีไทยงาช้าง จากทายาทเจ้าราชบุตร ณ เชียงใหม่ โดยมีนางจันทร์ทรงกลด คชเสนี และคณะ เข้ามอบเครื่องดนตรีและอุปกรณ์ดังกล่าว ให้แก่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2566 เพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทางการศึกษา ณ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ต่อไป
การดู 96 ครั้ง • 30 พฤษภาคม 2566
 

ทัศนศึกษา/ศึกษาดูงาน

ให้การต้อนรับรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยบุคลากรจากสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และผู้เข้าร่วมโครงการสร้างเด็กและเยาวชนตันแบบ รู้ รัก สามัคคี และสำนึกความเป็นไทย : เด็กอวด (ทำ) ดี รุ่นที่ 2
ให้การต้อนรับรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยบุคลากรจากสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และผู้เข้าร่วมโครงการสร้างเด็กและเยาวชนตันแบบ รู้ รัก สามัคคี และสำนึกความเป็นไทย : เด็กอวด (ทำ) ดี รุ่นที่ 2
• นางสาววนิดา เชื้อคำฟู ผู้แทนผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้การต้อนรับ คุณอรนุช ศรีนนท์ รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยบุคลากรจากสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และผู้เข้าร่วมโครงการสร้างเด็กและเยาวชนตันแบบ รู้ รัก สามัคคี และสำนึกความเป็นไทย : เด็กอวด (ทำ) ดี รุ่นที่ 2 ในที่เข้าทัศนศึกษาและเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2566 เพื่อศึกษาเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม สถาปัตยกรรมท้องถิ่น และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนล้านนา ซึ่งจัดแสดงในกลุ่มเรือนโบราณล้านนา จำนวน 10 หลัง และหลองข้าว (ยุ้งข้าว) จำนวน 4 หลัง ผ่านนิทรรศการต่างๆ ภายในตัวเรือนโบราณแต่ละหลัง  
การดู 87 ครั้ง • 30 พฤษภาคม 2566
นักศึกษามหาวิทยาลัยพะเยา เข้านำเสนอข้อมูลสถาปัตยกรรมการเก็บข้อมูล เเละสำรวจรังวัดอาคารเรือนทรงอาณานิคมคิวรีเปอล์
นักศึกษามหาวิทยาลัยพะเยา เข้านำเสนอข้อมูลสถาปัตยกรรมการเก็บข้อมูล เเละสำรวจรังวัดอาคารเรือนทรงอาณานิคมคิวรีเปอล์
• นักศึกษา ชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์เเละศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา นำเสนองานในวิชาการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม (Architectural Conservation) โดยดำเนินการเก็บข้อมูล เเละสำรวจรังวัดอาคาร "เรือนทรงอาณานิคมคิวรีเปอล์" แล้วนำเสนอข้อมูลสถาปัตยกรรม พร้อมผลงาน เเก่บุคลากรสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ เพื่อขอคำแนะนำและมีส่วนร่วมในการให้คะแนน ในหัวข้อ "ด้านการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น" ในวันที่ 12 พฤษภาคม 2566 ณ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและลล้านนาสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การดู 229 ครั้ง • 15 พฤษภาคม 2566